6/30/2552

สตรอเบอรี่

การปลูกสตรอเบอรี่

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa
เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

พันธุ์สตรอเบอรี่
การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่าย
ในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศ
ดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 5-7 ซึ่งเป็นดินที่สภาพเป็นกรดเล็กน้อย
สตรอเบอรี่ต้องการช่วงแสงต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และอุณหภูมิหนาว-เย็น ในการติดดอกออกผล ถ้าอุณหภูมิยิ่งต่ำยิ่งทำการติดดอกออกผลดีขึ้น

การปลูกเพื่อต้องการผล
ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยต้นอ่อนหรือไหลที่จะปลูกควรมีแขนไหลที่มีข้อ
ติดด้วยการเตรียมแปลงปลูกทำนองเดียวกับแปลงปลูกผักคือ การปลูกต้องใช้ส่วนโคนของลำต้น

* นักวิชาการเกษตร 4 ฝ่ายสำรวจและวางแผน กองอนุรักษ์ต้นน้ำ
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อยู่ในระดับดิน ถ้าปลูกลึกยอดจะเน่า ถ้าตื้นรากจะแห้งทำให้เจริญเติบโตช้า ใช้ส่วนแขนไหลจิ้มลงในดินเพื่อช่วยดูดน้ำในระยะแรกปลูกในขณะที่ไหลกำลังตั้งตัว
ระยะปลูก 25 x 30 ซม. แปลงกว้าง 100 ซม. สูง 20 ซม. ยาวตามที่ต้องการ ทางกว้างประมาณ 40 ซม. ปลูก 3 แถว ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลปลูกประมาณ 10,000-12,000 ต้น
การเตรียมแปลงปลูกอาจเตรียมแปลงปลูกแบบทำนาดำซึ่งสะดวกและประหยัดแรงงานและเวลาในการให้น้ำ โดยให้น้ำแบบท่วมแปลง แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ

การให้น้ำ
เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่ไม่ทนต่อความแห้งแล้งเพราะฉะนั้นต้องระวังการให้น้ำเป็นพิเศษ การขาดแคลนน้ำนาน ๆ มีผลกระทบต่อผลผลิตของสตรอรี่บ่อยครั้งที่กสิกรไม่ให้ความสำคัญในข้อนี้ทำให้ผลผลิตที่ปรากฏภายหลังตกต่ำจนไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต
ก่อนที่จะให้น้ำแก่สตรอเบอรี่จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าน้ำที่จะให้มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือด่างถ้าเป็นด่างไม่ควรใช้เพราะต้นสตรอเบอรี่จะไม่เจริญเติบโตในสภาพที่ดินเป็นด่าง
วิธีการให้น้ำ อาจใช้บัวรด ซึ่งรดทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง ซึ่งวิธีนี้ประหยัดน้ำ แต่สิ้นเปลืองแรงงานจะใช้วิธีนี้เมื่อมีน้ำขังอยู่จำกัดแต่มีแรงงานเหลือเฟือหรือค่าแรงงานต่ำ
หรือจะให้น้ำแบบท่วมโดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลง โดยให้น้ำเข้าท่วมแปลงจนกระทั่งดินอิ่มตัวด้วยน้ำซึ่งประมาณ 5-10 ซม. แล้วแต่คุณสมบัติของดินและความชื้นอากาศ โดยใช้ระยะเวลา 7-10 วัน จึงทำการปล่อยน้ำ 1 ครั้ง วิธีนี้ประหยัดแรงงาน แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่มีน้ำเพียงพอ

การให้ปุ๋ย
ในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลสตรอเบอรี่เท่านั้น ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อผลิตไหลจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ในการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลนั้น ก่อนปลูกให้ขุดหลุมลึกประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วใส่ปุ๋ยคอก 30 กรัม และปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟส 1 ช้อนชารองก้นหลุมก่อนปลูก หลังจากนั้น 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร6-24-24 (ใช้ในกรณีที่ปลูกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 (ในกรณีที่ปลูก เดือนกันยายน- ตุลาคม) หรือปุ๋ยสูตร 16-16-16 (ในกรณีที่ปลูกเดือนพฤศจิกายน- มกราคม) โดยใส่ 2 กรัมต่อต้น โดยแบ่งให้ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน

การใช้วัสดุคลุมดิน
การใช้วัสดุคลุมดินเพื่อ.-
1. ป้องกันการระเหยของน้ำจากพื้นดินเนื่องจากความร้อนจากแสงแดด ในช่วงที่ปลูก สตรอเบอรี่เพื่อต้องการผลจะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความร้อนแสงแดดรุนแรง ความชื้นในอากาศต่ำ
2. ป้องกันแร่ธาตุอาหารในดินถูกทำลายเนื่องจากความร้อน
3. ป้องกันผลสตรอเบอรี่ซึ่งจะเสียหายเนื่องจากผลถูกกับพื้นดิน

วัสดุที่ใช้คลุมดินสำหรับสตรอเบอรี่ ได้แก่ฟางข้าว หรือใบตองตึง การคลุมอาจจะคลุมก่อนปลูก หรือหลังปลูก หรือในระยะเริ่มติดดอกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคงทนของวัสดุ แรงงาน ราคาวัสดุ และการทำลายของแมลงในดิน เช่น ปลวก เป็นต้น

การติดดอกออกผล
เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง และช่วงแสงสั้นเข้าซึ่งประมาณเดือนพฤศจิกายน สตรอเบอรี่จะเริ่มติดดอกและผลจะสุกหลังจากติดดอก 21-25 วัน ผลสตรอเบอรี่ระยะแรกจะมีสีเขียว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยวปนหวาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.5 ซม.
ผลจะสุกมากที่สุดเดือนมีนาคม และจะหมดประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม

การเก็บเกี่ยว
เนื่องจากผลสตรอเบอรี่ช้ำง่าย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะทางในการขนส่งสู่ตลาดถ้าระยะทางไกลต้องเก็บผลสุกหรือเห็นสีแดง 50% ซึ่งจะได้ผลแข็งสะดวกแก่การขนส่ง ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บผลสุกหรือสีแดง 75%
เวลาที่เก็บ ควรเก็บตอนเช้า เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเร็วควรเก็บทุก 1-2 วัน

การปฏิบัติหลังจากสตรอเบอรี่ให้ผลแล้ว
เมื่อถึงเดือนเมษายนต้นสตรอเบอรี่เริ่มหยุดให้ผล เนื่องจากอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงแสงเริ่มยาวขึ้น ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มเจริญเติบโตด้านลำต้น กสิกรในพื้นราบมักจะขุดต้นสตรอเบอรี่ทิ้งด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้.-
1. การดูแลรักษาต้นสตรอเบอรี่ข้ามปี ในสภาพที่อุณหภูมิสูงทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากต้นสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน และสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงโรคของสตรอเบอรี่ระบาดง่าย
2. เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจากปลูกสตรอเบอรี่หยุดให้ผล เช่น ปลูกผักหรือพืชไร่ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงกว่า
3. การที่ทำลายต้นสตรอเบอรี่ เป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคของสตรอเบอรี่ได้ผลดี
การเตรียมพื้นที่และเตรียมต้นปลูก
การเตรียมพื้นที่เหมือนกับการปลูก เพื่อต้องการขายผลสำหรับต้นที่ให้ผลหมดแล้วก็จะเป็นต้นที่แตกกอออกมาประมาณ 5-7 ต้น ติดอยู่กับต้นเก่า ควรขุดต้นออกทั้งกอ แล้วใช้มีดหรือกรรไกรแต่งรากและปลิดใบที่แก่ออก (การปลิดออกใช้มือโยกก้านใบขนาดกับพื้นดิน) จากนั้นใช้มีดคมตัดแยกต้นออกแล้วนำไปปลูก ใช้ระยะปลูก ใช้ระยะปลูก 30 x 50 ซม.
การให้ปุ๋ย
เนื่องจากการปลูกเพื่อผลิตไหลเป็นความพยายามเพาะเลี้ยงให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตทางด้านลำต้น ฉะนั้นจะต้องคำนึงถึงปุ๋ยไนโตรเจนเป็นสำคัญ ที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 (บ่อแก้ว) ทดลองใช้ขี้ค้างคาวรองพื้นหลุมก่อนปลูกและใส่ปุ๋ยคอกระหว่างต้น จากนั้นรดปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 ปี๊บ รดทุก 7-10 วัน พบว่าสตรอเบอรี่ 1 ต้นจะให้ไหล 50-70 ไหล

โรคสตรอเบอรี่
1. โรคใบจุด (Leaf Spot) เกิดจากเชื้อรา Ramuoaria sp. (Impetfect stage) หรือ Mycosphacrella sp. (Perfect stage) อาการทั่วไปจะเห็น เป็นจุดโปร่งแสงสีน้ำตาล ขอบแผลสีม่วง ถ้ารุนแรงใบจะแห้งและตายในที่สุด โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝน เมื่อพบโรคนี้ควรเด็ดใบทิ้ง โดยใช้มือโยกก้านใบไปมาด้านข้างแล้วดึงออก การทำลายโดยการเผาทิ้ง ถ้ารุนแรงใช้ยาแคบแทน หรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

2. โรค Leaf scorch เกิดจากเชื้อรา Massonia frabvariae อาการในระยะแรกพบจุดสีม่วงหรือสีน้ำตาลแดงบนใบและจุดจะกระจายเป็นแผลมีลักษณะไม่แน่นอน เนื้อเยื่อของใบถูกทำลายไม่แห้งเหมือนโรคอื่น เมื่อแผลกระจายติดกับใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงในที่สุด การป้องกันรักษาใช้ยาแคบแทนหรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

3. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp. ซึ่งเข้าทำลายทางรากและแขน (Stolon) ของไหล เชื้อโรคชนิดนี้อาศัยอยู่ในดิน ต้นเหี่ยวใบลู่ลง โรคจะระบาดในขณะที่อากาศอบอ้าว ถ้าอากาศชื้นจะทำให้โรคหยุดระบาด แต่ถ้าเป็นมากต้นจะตาย เพราะระบบรากถูกทำลาย Crown มีวงสีน้ำตาลล้อมรอบ อุดท่อน้ำซึ่งส่งไปเลี้ยงใบและลำต้น การป้องกันรักษาต้องทำลายแหล่งเชื้อโรคในดินสำหรับไหลที่นำมาปลูกควรตัดข้อของแขนใบติดไปด้วย เพราะส่วนที่เป็นข้อสามารถป้องกันการเข้าทำลายของโรคได้ดี
จากการสังเกตที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 พบโรคสตรอเบอรี่บ้าง แต่โรคไม่ระบาดและไม่ทำให้ต้นสตรอเบอรี่ตาย จึงทำให้ไม่ต้องกังวลต่อการฉีดยาป้องกันโรคสตรอเบอรี่ซึ่งทำเกิดผลต้องค้างของสารเคมีภายหลัง
จากการศึกษาพบว่าโรคของสตรอเบอรี่จะไม่ระบาดในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 ซํ. – 25 ซํ.

แมลง
หนอนกัดกินราก เป็นหนอนของด้วงปีกแข็งตัวสีขาวปากกัดสีน้ำตาลอ่อนเจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่ใต้ดิน และในปลายฤดูฝนก็จะเริ่มกัดกินราก ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้เมื่อใบคายน้ำ จึงทำให้ใบเหี่ยว เซลล์คุมรูใบจะสูญเสียความเต่งตึง รูใบจะปิด CO2 ไม้สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพบอาการดังกล่าวควรขุดเอาหนอนมาทำลาย หรือก่อนปลูกควรโรยพื้นหลุมด้วยยาประเภทดูดซึม

จากการทดลองตัดไหลนำไปชำที่เรือนเพาะชำ โดยปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า จนกระทั่งสิ้นฤดูฝน หนอนก็จะเริ่มเข้าดักแด้ควรปลูกพืชที่อายุสั้นแซม เช่นพืชผัก ซึ่งกสิกรจะได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

ลักษณะทั่วไป
สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชหลายปี แต่โดยทั่วไปจะปลูกปีเดียวแล้วจะมีการปลูกใหม่ในปีถัดไป ลักษณะการเจริญเติบโตจะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย สูงจากพื้นดิน 6 - 8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8 -12 นิ้ว ระบบรากส่วนใหญ่อยู่ระดับลึกประมาณ 12 นิ้วจากผิวดิน ลำต้นปกติยาว 1 นิ้ว ความยาวของก้านใบขึ้นกับพันธุ์ ขอบใบหยัก ใบส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ใบย่อย ตาที่โคนของก้านใบจะพัฒนาเป็นตาดอก ลำต้นสาขา ไหล หรือพักตัว โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรองดอกสีเขียว กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองและเกสรตัวเมียเรียงอยู่บนฐานรองดอก ซึ่งฐานรองดอกนี้จะพัฒนาเป็นเนื้อของผล ส่วนเมล็ดอยู่ติดกับผิวนอกของผล ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาว ทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขี้นอยู่กับพันธุ์ ผลจะมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน

พันธุ์
พันธุ์สตรอเบอรี่ มีความแตกต่างกันมากในการตอบสนองต่ออุณหภูมิ และช่วงแสงของวันในการสร้างตาดอก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ประเภทที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ ความยาวของวันสั้นกว่า 11 ชั่วโมง (ชั่วโมงกลางวัน) ซึ่งในประเทศไทยปลูกบนที่สูง ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 พัยธุ์พระราชทานเบอร์70 เบอร์35 และเนียวโฮ เป็นต้น เรียกว่า Junebearing cultiver
2. ประเภทที่ต้องการช่วงแสงของวันยาวเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนใหญ่ปลูกนอกฤดู ได้แก่ พันธุ์เจนีวา โอซาค บิวตี้ เรียกว่า Everbearing cultivar
3. ประเภทที่ออกดอกได้ทั้งสภาพวันสั้นและสภาพวันยาว แต่มีปัญหา เรื่องการผลิตไหลได้น้อย ได้แก่ พันธุ์เซลวา ทริบิวเต้ และทริสตาร์ เป็นต้น เรียกว่า Dayneutral cultiver
พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน เบอร์ 16, 20, 50, 70 เนียวโฮ แลัเซลวา เป็นต้น ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน สำหรับการผลิตเป็นการค้านั้น จะผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ในลักษณะของผลรับประทานสดและผลผลิตเพื่อส่งโรงงานแปรรูป
พันธุ์เพื่อการบริโภคสด ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 70 เบอร์50 และเบอร์20 เป็นต้น
พันธุ์เพื่อการแปรรูป ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 และเซลวา
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ทำได้หลายวิธีโดยขึ้นกับวัตถุประสงค์และลักษณะประจำพันธุ์ ได้แก่
1.การใช้ไหล ขยายต้นไหลจากพันธุ์ที่สามารถให้ไหลได้ดี
2.การแยกต้น แยกต้นจากพันธุ์ที่ออกไหลไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกพันธุ์ป่า
3.การใช้เมล็ด ใช้ในกรณีที่มีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
4.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นขบวนการผลิตต้นไหลที่ปลอดโรค และสามารถขยายพันธุ์ให้มีปริมาณต้นไหลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การขยายพันธุ์ที่นิยมปฎิบัติจะใช้ตาที่เจริญเติบโตมาจากต้นแม่ตรง ซอกของก้านใบ ซึ่งเรียกว่า ไหล โดยใช้ไหลจากต้นแม่ที่ปลอด โรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูกเป็นต้นใหม่ ต้นไหลที่จะนำมาปลูกควรมีขนาดพอเหมาะ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การใช้ต้นไหลที่ผ่านการเกิดตาดอกบนพื้นที่สูงมาแล้ว จะทำให้ผลผลิตเร็วและมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
การปลูกและการดูแลรักษา
การปลูกสตรอเบอรี่ มี 2 ช่วงที่สำคัญ คือ การปลูกเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก
การเตรียมแปลงปลูก
ในการเตรียมดิน ควรใส่ปูนขาวในอัตรา 60 - 80 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับสภาพดินพร้อมการไถดะ ไถแปร และผึ่งดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลงในอัตรา 2 - 2.5 ตัน/ไร่ พร้อมการไถพรวน เตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องให้ฐานแปลงกว้าง 75 เซนติเมตร สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร และมีสันแปลงเหลือกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลงไว้ประมาณ 30 เซนติเมตร
การกำจัดวัชพืช
การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่ง ใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้ เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
การปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อาจทำการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เพื่อใช้ปลูกเอง หรือจะใช้ซื้อต้นไหลมาปลูกก็ได้ หากเกษตรกรจะทำการผลิตต้นไหล ไว้ใช้ปลูกเองหรือเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายอื่นมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1.ต้นแม่พันธุ์ ต้นแม่พันธุ์จะต้องมีลักษณะดี คือ มีการสร้างไหลที่แข็งแรงและ ปริมาณมากตรงตามสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ปลอดจากโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
2.พื้นที่ที่ผลิตต้นไหล พื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตต้นไหลจะต้องสะอาดปลอดจากเชื้อสาเหตุของโรค โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรดโนส ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง การคมนาคมสะดวก สามารถขนย้ายวัสดุเพาะชำไปยังแปลงแม่พันธุ์ และขนส่งต้นไหลไปยังแหล่งปลูกได้โดยไม่บอบช้ำเสียหาย และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสูงของพื้นที่ จากสาเหตุที่เมื่อช่วงแสงของวัน สั้นลงและอุณหภูมิของอากาศเย็นลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่เปลี่ยนสภาพการเจริญเติบโตทางด้านสร้างไหลต้นไหล เป็นสภาพการเจริญเติบโตทางสร้างตาดอก ซึ่งส่งผลให้ต้นสตรอเบอรี่ที่เจริญเติบโตบนภูเขาสร้างตาดอกได้เร็วกว่าต้นสตรอเบอรี่บนพื้นที่ราบ เป็นผลให้ผลผลิตสตรอเบอรี่ที่เกิดจากต้นสตรอเบอรี่ที่ผลิตบนภูเขาที่มีอากาศ หนาวเย็นออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าผลผลิตสตรอเบอรี่พันธุ์เดียวกันที่เกิดจากต้นที่ผลิตจากพื้นที่ราบ ประกอบกับสภาพดินบนที่สูงหรือภูเขามีการระบายน้ำได้ดีกว่าพื้นที่ราบ ปัญหาโรคมีน้อยกว่า ทำให้ต้นไหลแข็งแรงมีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องผลิต ต้นไหลสตรอเบอรี่บนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร มีอากาศหนาวเย็น แล้วขนต้นไหลลงมาปลูกยังพื้นที่ราบ แต่ทั้งนี้ แหล่งผลิตต้นไหลจะต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ควรจะต้องสงวนรักษา ไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ
3.แรงงาน เนื่องจากกระบวนการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ การปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ บรรจุวัสดุเพาะชำลงถุง การรองไหล การตัดไหล และการขนย้ายเพื่อนำไปปลูก ดังนั้น ในการผลิตไหลจึงควรพิจารณาถึง แรงงานที่จะต้องใช้ด้วย
การเตรียมแปลงปลูก
ดังได้กล่าวแล้วว่าความสูงของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตต้นไหลมีผลต่อคุณภาพของต้นไหลที่ผลิตได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ผลผลิตเมื่อนำต้นสตรอเบอรี่ไปปลูก ดังนั้น เมื่อเราจำเป็นต้องทำการผลิตต้นไหลบนพื้นที่สูง ความลาดเทของพื้นที่ไม่ควรเกิน 15 % การเตรียมปลงปลูกต้องยกแปลงขวางแนวลาดเท (แบบขั้นบันได) เพื่อขจัดปัญหาการชะล้างและพังทะลายของดิน สำหรับการเตรียมดินก็ปฎิบัติเช่นเดียวกันกับการปลูกเพื่อต้องการผล
โรคสตรอเบอรี่ที่สำคัญ
1.โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหงิก ย่น หรือมีอาการใบด่าง ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น ต้นเตี้ย แคระแกรน ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่นขนาดใบเล็กกว่าปกติ ต้นพืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าแมลงพวกปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะของโรค โรคนี้เมื่อเกิดแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ นอกจากการป้องกันโดยคัดเลือกกล้าที่ไม่เป็นโรค ซึ่งเกิดจากต้น แม่พันธุ์ที่ได้จากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูก ทำการอบดินเพื่อทำลายไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะของโรคไวรัส กำจัดแมลงพวกเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เมื่อพบว่ามีต้นที่แสดงอาการผิด ปกติดังกล่าวให้ขุดออกไปเผาทำลายทันที และการบำรุงพืชให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยต้านทานเชื้อโรคได้
การป้องกันกำจัดแมลงพาหะของเชื้อไวรัส
ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่นเพื่อขับไล่และยับยั้งการกินอาหาร การเจริญเติบโตของแมลง ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ
ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง วิธีการนี้สามารถดักจับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ ผีเสื้อต่างๆที่เป็นตัวแก่ของศัตรูพืช ทำให้ลดปริมาณศัตรูพืชลงได้
สูตรผสมของกาวเหนียว
1. น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี.
2. ยางสน 100 กรัม
3. ขี้ผึ้งคาร์นาว่า 10 - 12 กรัม
วิธีทำ นำน้ำมันละหุ่งมาใส่ภาชนะตั้งไฟให้ร้อน มีไอขึ้นที่ผิวหน้า แล้วจึงทยอยใส่ผงยางสนและขี้ผึ่งคาร์นาว่าลงไป ใช้ไม้พายคนให้เข้ากันจนละลายหมด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที อย่าใช้ไฟแรงนักเพราะจะทำให้ยางสนไหม้ หลังจากนั้นยกภาขนะลงวางในถังหรือกาละมังที่ใส่น้ำแข็งทุบเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อให้ได้รับความเย็นอย่างรวดเร็ว จากนั้นบรรจุใส่ภาขนะปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้งาน
วิธีใช้ ใช้ภาชนะที่ใช้แล้ว เช่น กระป๋องน้ำมันเครื่องหรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง (สีเหลืองจะช่วยดึงดูดแมลงตัวเต็มวัยให้บินเข้ามาติดกับดักและตาย) หุ้มด้วยพลาสติกใส เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนกาวเมื่อกาวแห้งหรือปริมาณของแมลงหนาแน่น ทากาวเหนียวด้วยแปรงทาสีให้รอบ แล้วใช้แผ่นเหล็กหนาครึ่งหุนขนาด 1*3 นิ้ว ปาดกาวให้กาวติดบางที่สุด ไม่ให้ไหลเยิ้มเพื่อเป็นการประหยัดกาวที่ใช้
กาววางกับดักกาวเหนียวสีเหลือง ควรวางให้อยู่ระดับสูงเหนือยอดต้นสตรอเบอรี่ประมาณ 1 ฟุต ในฤดูหนาวซึ่งมีการระบาดของแมลงน้อย อาจวางกับดัก 15 - 20 กับดัก/ไร่ แต่ในฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งจะมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชควรวางกับดัก 60 -80 กับดัก/ไร่
2. โรคแอนแทรคโนส (โรคกอเน่า) เกิดจากเชื้อราคอลเล็คโตตริคัม จะแสดงอาการเริ่มจากแผลเล็กๆสีม่วงแดงบนไหล แล้วลุกลามไปตลอดความยาวของสายไหล แผลที่ขยายยาวมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล รอบนอกของแผลเป็นสีเหลืองอมชมพูซีด แผลที่แห้งเป็นสีน้ำตาลทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล ต้นไหลอาจจะยังไม่ตาย แต่เมื่อย้ายต้นไหลที่มีการติดเชื้อลงมาปลูกบริเวณพื้นราบ หากสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเขื้อ(อากาศร้อนชื้น) สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉาและต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว พบว่าเนื้อเยื่อส่วนกอด้านในมีลักษณะเน่าแห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตายในที่สุด โรคนี้สามารถเกิดที่ผลสตรอเบอรี่ได้ด้วย พบอาการเป็นแผลลักษณะวงรี สีน้ำตาลเข้ม แผลบุ๋มลึกลงไปในผิวผล เมื่ออากาศชื้นสามารถมองเห็นหยดสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์ขยายพันธุ์ของเชื่อราอยู่ในบริเวณแผล
การป้องกันกำจัด ในฤดูกาลผลิตผลสตรอเบอรี่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ควรวางแผนจัดการในการผลิตต้นไหลให้ปราศจากเชื้อโรค ทั้งที่เป็นอาการแบบต่างๆของโรคแอนแทรคโนสที่ปรากฎให้เห็น ได้แก่ อาการโรคใบจุดดำ ขอบใบไหม้ แผลบนก้านใบ และแผลบนสายไหลตลอดจนต้นไหลที่มีการติดเชื้อแบบแฝง โดยที่ต้นไหลยังแสดงอาการปกติ แต่จะตายเมื่อมี การย้ายลงมาปลูกบริเวณพื้นที่ราบ ในสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญของเชื้อ
นอกจากนี้ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ในช่วงที่ต้นสตรอเบอรี่กำลังตั้งตัว และควรพ่นสารป้องกันกำจัด เชื้อราคอลเล็คโตรตริคัมเป็นระยะๆจนสภาพอากาศหนาวเย็นลง ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเกิดเชื้อ
3.โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรารามูลาเรีย โรคนี้จะปรากฎกับต้นแม่และต้นกล้า พบอาการระบาดรุนแรงในแปลงที่ปลูกกันมานาน การควบคุมโรคไม่ดีพอ แปลงที่มีวัชพืชมาก อาการเริ่มแรกจะเห็นแผลขนาดเล็กสีม่วงแก่บนใบ ต่อมาแผลขยายขนาด รอบแผลสีม่วงแดง กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงขาวหรือเทา แผลค่อนข้างกลมคล้ายตานก สีอาจเปลี่ยนไปบ้าง แล้วแต่ความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของพืช อาการอาจปรากฎบนก้านใบ หรือบางครั้งพบอาการที่ผลด้วย
การป้องกันกำจัด ถ้าพบอาการของโรคที่ใบให้เด็ดใบที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้บริเวณแปลงปลูกเพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของโรคต่อไป บำรุงพืชให้แข็งแรงในระยะปลูกเพื่อผลิตไหล อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรก เพราะวัชพืชเป็นแหล่งอาศัยของโรค ควรดูแลความสะอาดของแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน
4. โรคเหี่ยว เป็นผลมาจากอาการรากเน่าโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า จะพบการตายของราก โดยเริ่มจากปลายรากแล้วลุกลามต่อ ไปรากแขนงจะเน่าบริเวณท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีแดง อาการเน่าสามารถลามขึ้นไปจนถึงโคนต้น ถ้าหากอาการ ไม่รุนแรงพืชจะแสดงอาการเพียงแคระแกรน แต่ถ้าอาการรุนแรงจะเหี่ยวทั้งต้น ใบเป็นสีเหลืองจนถึง สีแดง และทำให้พืชตายได้ภายใน 2 - 3วัน เมื่อถอนต้นดูพบว่าก้านใบจะหลุดออกจากกอได้ง่าย ท่อลำเลียงภายในรากถูกทำลายจนเน่าทั้งหมด

การป้องกันกำจัด การควบคุมโรคที่เกิดกับราก
ควรปฎิบัติดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการปลูกสตรอเบอรี่ซ้ำในที่ที่มีโรคระบาดติดต่อกันหลายปี ควรปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยตัดวงจรของโรค และสร้างความสมดุลย์แก่ธาตุอาหารในดิน
2.ในการเตรียมดิน ควรไถดินผึ่งทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเตรียมแปลงปลูก ดินต้องโปร่ง มีการระบายน้ำดี มีการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น โดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
3.เมื่อเริ่มพบอาการของโรครากเน่าเกิดขึ้น ให้ขุดต้นนั้นเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้ในบริเวณแหล่งปลูก แล้วใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดลงดินบริเวณหลุมที่ขุดออกและต้นที่อยู่ใกล้เคียง อนึ่ง การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อในดินจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ จุลินทรีย์อื่นๆที่มีประโยชน์ที่อาศัยในดินอาจถูกทำลายไปด้วย จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะจุดที่โรคระบาดเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
4.การใช้เชื้อจุลินทรีย์ต่อต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น เชื้อราไทรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อรา ไฟทอปทอร่าที่ทำให้เกิดโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดนนำเชื้อราไทรโคเดอร์มาที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างผสมกับรำ และปุ๋ยหมักตามอัตราส่วนที่กำหนด มาคลุกกับดินในสภาวะชุ่มชี้นราว 1 - 2 สัปดาห์ก่อนปลูก
ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มา
1.ไม่ใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในบริเวณที่ดินแฉะ
2.ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลงที่มีการใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มา
การใช้สารเคมีควบคุมโรคสตรอเบอรี่
สารฆ่าเชื้อราส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายหรือมีน้อยมากต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แต่บางชนิดอาจมีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง (ผู้ฉีดพ่นสารเคมี) และบางชนิดอาจมีผลต่อการเกิดเซลมะเร็ง (ผู้บริโภค) ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบกันแต่ชัด ดังนั้น การใช้สารเคมีจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว โดยเลือกชนิดที่ไม่ปรากฎคราบของสารบนผล และดูค่าความปลอดภัยจาก LD50 (คือ ค่าของระดับความเป็นพิษที่หนูตาย 50 เปอร์เซนต์ (มก./กก.ของน้ำหนักตัว) สารที่มีค่าLD50 ต่ำจะเป็นสารที่มีพิษร้ายแรงกว่าสารที่มีค่า LD50 สูง) ในการฉีดพ่นทุกครั้ง ดังนี้

หมายเหตุ การใช้สารเคมีให้ได้ผลดี นอกจากจะเลือกชนิดของสารให้ถูกต้องกับโรคแล้ว ควรผสมสารให้ถูกต้องตามฉลากระบุ คนให้กับน้ำ ใช้สารจับใบที่มีประสิทธิภาพสูงผสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน การใช้สารเคมี 2 ชนิดที่แตกต่างกันฉีดพ่นสลับกัน จะช่วยลดการดื้อยาของเชื้อโรคได้
ศัตรูสตรอเบอรี่ที่สำคัญ
1. ไรสองจุด เป็นศัตรูที่สำคัญของการผลิตผลสตรอเบอรี่ ไรจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบสตรอเบอรี่โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบ ทำให้ผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายมีลักษณะกร้าน ใต้ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ผิวใบด้านบนจะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาวเล็กๆเหล่านี้จะค่อยๆแผ่ขยายติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง จนทำให้ทั่วทั้งใบมีลักษณะเหลืองซีด ใบร่วง เป็นผลทำให้สตรอเบอรี่ชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ให้ผลผลิตน้อยลง พบระบาดมากในสภาพอากาศแห้งความชื้นต่ำ
ความสูญเสียระดับเเศรษฐกิจเนื่องจากการทำลายของไรสองจุดบนใบสตรอเบอรี่ในหน้าหนาว คือ 20 -25 ตัว/ใบ แต่ในหน้าร้อนจะอยู่ที่ 50 ตัว/ใบ การป้องกันให้ใช้สารฆ่า"รโปรปาไจท์ ฉีดพ่นในช่วงที่ไม่มีแสงแดดจัด และควรสลับชนิดของสารฆ่าไรเพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบครอบจักรวาล ให้เลือกใช้สารที่จำเพาะเจาะจงและเป็นสารที่มีพิษย้อยต่อตัวห้ำตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของไรสองจุด ที่พบในแปลงสตรอเบอรี่ ได้แก่ ไรตัวห้ำ ซึ่งมีรายงานค้นพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถควบคุมไรสองจุดได้ดี นอกจากนั้น การให้น้ำแบบใช้สปริงเกอร์จะช่วยลดประชากรไรได้ เพราะจะเป็นการชะล้างไรให้หลุดจากใบพืช ชะล้างฝุ่นละอองที่ไรชอบหลบอาศัยอยู่ และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้ชุ่มชื้น เหมาะกับการอยู่อาศัยของศัตรูธรรมชาติของไร หมั่นทำความสะอาดแปลง ไม่ให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงปลูก และไม่ควรปลูกพืชผักโดยเฉพาะ เช่น กระเทียม ขึ้นฉ่าย แซมในแถวปลูกสตรอเบอรี่ เพราะเป็นการเพิ่มพืชอาศัยให้ไรสองจุด
2. หนอนด้วงขาว เป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง ตัวสีขาว ปากมีลักษณะปากกัด สีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่ใต้ดิน จะเริ่มกัดกินรากสตรอเบอรี่ในช่วงปลายฤดูฝน ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้ เมื่อใบคายน้ำจึงทำให้ใบเหี่ยว รูใบปิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบ การสังเคราะห์แสงจะลดลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่อ่อนแอ ชงักการเจริญเติบโต เมื่อพบอาการดังกล่าวให้ขุดหาหนอนแล้วทำลาย ในการเตรียมแปลงให้ย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะพื้นที่เปิดใหม่ใกล้ป่าหรือใกล้กองปุ๋ยหมัก ใช้สารเคมีประเภทคลอร์ไพริฟอสราดบริเวณที่พบ สารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีกำจัดแมลงประเภทสัมผัสและกินตาย มีพิษตกค้าง 20 - 25 วันในดิน
3. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด จะดูดน้ำเลี้ยงของใบ ก้านใบ ด้านท้ายลำตัวเพลี้ยอ่อนมีท่อยื่นออกมา 2 ท่อ ใช้ปล่อยสารน้ำหวานเป็นอาหารของเชื้อรา ทำให้พืชสกปรกเกิดราดำ พืชสังเคราะแสงได้ลดลง ทำให้ชงักการเจริญเติบโต ใบหงิกย่น เพลี้ยอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามส่วนยอดช่อดอกและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
นอกจากศัตรูดังกล่าวแล้ว บางพื้นที่ยังพบว่าทากและหนูเป็นศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายผลสตรอเบอรี่ได้
การติดดอกออกผล และการเก็บเกี่ยว
ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงและช่วงแสงของวันสั้นเข้า คือ ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากปลูก เมื่อดอกบานมรการผสมเกสรแล้วประมาณหนึ่งเดือน ผลจะเริ่มทยอยแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ โดยผลสุกมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและจะวายประมาณปลายเดือนเมษายน
การเก็บผลผลิตควรเก็บช่วงที่มีอากาศเย็น คือ ตอนเช้ามืดในสภาพอากาศแห้ง เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด เนื่องจากผลสตรอเบอรี่มีอัตราการหายใจสูง เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้ผลเน่าเร็ว ในต้นหนึ่งๆจะมีผลสุกแตกต่างกัน ควรเลือกเก็บผลที่มีความแก่ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น เก็บทุก 1 - 2 วัน โดยใช้ส่วนเล็บหัวแม่มือและนิ้วชี้เด็ดออกจากขั้ว หรือใช้กรรไกรชนิดที่ตัดขั้วผลและหนีบส่วนขั้วผลได้ด้วย ทำให้ผลสามารถติดมากับกรรไกรได้ นับว่าเป็นวิธีที่ทำให้ผลและต้นสตรอเบอรี่ไม่ชอกช้ำ ภาชนะที่ใช้บรรจุสตรอเบอรี่ขณะเก็บผลในแปลง ควรใช้ภาชนะทรงตื้นมีขนาดที่พอเหมาะ สามารถคัดเลือกคุณภาพของผลได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนภาชนะ เพื่อให้มีการจับต้องผลให้น้อยครั้งที่สุด และไม่ควรบรรจุผลสตรอเบอรี่มากเกินไป เพราะจะเกิดการกดทับทำให้ผลช้ำได้ ถึงแม้ว่าสตรอเบอรี่จะเป็นผลไม้ชนิดบ่มไม่สุก แต่สตรอเบอรี่สามารถมีสีแดงเพิ่มขึ้นได้หลังจากเก็บเกี่ยว ดังนั้นสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในขณะที่ผลยังไม่แดงทั้งผลจึงสามารถแดงพอดีเมื่อถึงตลาดปลายทาง การเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอร่ที่มีผิวสีแดง 100 เปอร์เซนต์ จะทำให้การเกิดช้ำและมีเชื้อราเข้าทำลายระหว่างการขนส่งได้ง่าย การเก็บเกี่ยวผลิตเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของตลาดว่าจะเป็นตลาดเพื่อโรงงานแปรรูปหรือ

สตรอเบอรี่ จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกระจายกันมากที่สุดในโลก สามารถพบได้แทบทุกประเทศตั้งแต่ แถบขั้วโลกลงมาถึงพื้นที่ในเขตร้อน ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิอากาศและชนิดดินที่ใช้ปลูก บางพันธุ์จะพบว่าสามารถปลูก ในทางเหนือของโลก เช่น รัฐ Alaska ได้ดีเท่ากับปลูกในทางใต้ลงมาเช่นแถบ Equator
สตรอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาหลายร้อยปีมาแล้ว ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้พบว่าผลผลิต ที่ใช้สำหรับบริโภคเป็นผลสด และใช้ในเชิงอุตสาหกรรมแปรรูปได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เป็นสาเหตุมาจากการผสมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตยาวนานขึ้น การนำระบบปลูกแบบดูแลอย่างใกล้ชิดมาใช้ ตลอดจนการเลือกพื้นที่ปลูก ที่มีความเหมาะสมมากกว่าแต่ก่อน ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการทดลองวิจัยที่จะหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้การปลูก สตรอเบอรี่นั้นง่ายขึ้น โดยเน้นการให้ผลผลิตสูงและสามารถทำรายได้ตอบแทนเป็นที่พอใจแก่เกษตรกรผู้ปลูก
ในประเทศไทยแม้ว่าจะมีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น บางอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย และในพื้นที่ บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่ยังมีแนวโน้มที่สามารถปลูกได้ผลพอสมควร ในพื้นที่สูงของภาคกลาง เช่น แถบบนภูเขาของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องมาจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขณะนี้ สตรอเบอรี่จึงถูกพิจารณาจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ซึ่งสามารถช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกนับเป็นพันครอบครัว ให้ดีขึ้นทั้งพื้นที่ราบและบนที่สูง นอกจากนี้ยังพบว่ามีศักยภาพสูงมาก สำหรับการผลิตสตรอเบอรี่เพื่อจุดประสงค์ในการขยายช่วงของ การเก็บเกี่ยวหรือผลิตให้ผลออกนอกฤดูกาลบนพื้นที่สูงของประเทศไทยซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็นพอเหมาะตลอดทั้งปีและมีอนาคต สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสามารถผลิตได้ในช่วงดังกล่าวอีกด้วย
พันธุ์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2541 ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกมากมาย จากปี พ.ศ. 2515 ปรากฎว่าพันธุ์ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia (โดยรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทานเบอร์ 13, 16 และ 20 ตามลำดับ) ได้ถูกพิจารณาว่าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ต่อมาพบว่า พันธุ์ Tioga สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตรและพื้นที่ราบของทั้งสองจังหวัด เกษตรกรขณะนั้นเกือบ ทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปโดยไม่มีพันธุ์อื่นมาแทนที่ พ.ศ. 2528 ได้มีการนำพันธุ์ Akio Pajaro และ Douglas จากอเมริกาทดลองปลูกในสถานีโครงการหลวงที่ดอยอินทนนท์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาอีกหนึ่งปีได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aiberry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก ผลปรากฎว่าสองพันธุ์แรกสามารถปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง หลังจากนั้น มาเริ่มมีผู้นำพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาปลูกทดสอบมากมาย จนกระทั่งมีการตั้งพันธุ์ Toyonoka เป็นพันธุ์พระราชทาน 70 (ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา) และพันธุ์ B5 เป็นพันธุ์พระราชทาน 50 ปี (ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี) ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 20, 50 และ 70 นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ Nyoho, Dover และ Selva บ้าง ในบางพื้นที่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงขณะนี้ทางศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตที่สูง และสถานีวิจัยดอยปุยของสำนักงานโครงการ จัดตั้งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตวิกฤต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็กำลังดำเนินการวิจัยศึกษาหาข้อมูลของ สตรอเบอรี่เพิ่มเติมมาโดยตลอด รวมทั้งเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลแบบสมัยใหม่เหมือนในต่างประเทศที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม การค้า โดยจะนำผลงานที่ได้เหล่านี้ทำการส่งเสริมเผยแพร่หรือจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป
พื้นที่การผลิต
พื้นที่การปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เนื่องมาจากการขยายตัวของตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะในด้านการนำมาแปรรูปพื้นที่การผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เพราะมีอากาศเย็นที่สตรอเบอรี่สามารถให้ผลผลิตได้ในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมรวมพื้นที่การผลิตทั้งประเทศประมาณ 2,600-3,000 ไร่ต่อปี
1. เชียงใหม่ สามารถแบ่งพื้นที่ปลูกออกมาตามอำเภอต่าง ๆ ได้ดังนี้คือ ฝาง แม่ริม สะเมิง จอมทอง (บนดอยอินทนนท์) และพื้นที่รอบ ๆ ตัวเมือง ผลผลิตส่วนใหญ่ของพื้นที่ปลูกในอำเภอแม่ริม ดอยอินทนนท์และพื้นที่รอบ ๆ เมืองเชียงใหม่จะทำการจำหน่าย เป็นผลรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยว และขนส่งเข้าตลาดที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก ส่วนผลผลิตที่อำเภอสะเมิงและฝางจะส่งจำหน่าย ให้แก่โรงงานใกล้เคียงเพื่อทำการแปรรูป ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2539-41 พื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ในอำเภอสะเมิงมีประมาณ 2,000-2,500 ไร่ ในขณะที่อำเภอฝางมีประมาณ 200 ไร่
2. เชียงราย พื้นที่หลักในการผลิตสตรอเบอรี่อยู่ที่อำเภอแม่สาย และอาจมีกระจายบ้างอยู่ทั่วไป ๆ บริเวณใกล้เคียง ผลผลิต ส่วนใหญ่ประมาณ 60% จะส่งเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด นอกนั้นจะทำการส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป ประมาณ 20% และเกษตรกรจะจำหน่ายเองให้กับนักท่องเที่ยวอีก 20% เนื่องจากมีโรคระบาดและต้นตายมากหลังปลูกจึงทำให้ พื้นที่ปลูกในปี พ.ศ. 2535 ประมาณ 800 ไร่ ลดลงเหลือ 350 ไร่ ใน พ.ศ. 2537 และ 250 ไร่ใน พ.ศ. 2540 นอกจากนี้เกษตรกร บางรายได้ขายที่ดินหรือเปลี่ยนไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น จึงทำให้พื้นที่ปลูกลดลงด้วย ปัจจุบันเกษตรกรในอำเภอแม่สายสามารถผลิต สตรอเบอรี่ได้เพียง 60% ของความต้องการของตลาดเท่านั้น
3. สตรอเบอรี่ยังถูกปลุกกันโดยทั่วไปบนที่สูงในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ทางตะวันตก เช่น เทือกเขาในอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญต่อไปในอนาคตสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทย

สุขภาพดีด้วยวิตามินซีธรรมชาติจากผลไม้

สุขภาพดีด้วยวิตามินซีธรรมชาติจากผลไม้



วิตามินซี เป็นที่รู้จักกันดีว่าใช้รักษาโรคลักเปิด มาตั้งแต่สมัยเราเรียนววิชาสุขศึกษาแล้วแต่สรรพคุณของวิตามินซียังมีอีกมากมายนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะพิสูจน์ได้แล้วและกำหนดทดลองอยู่ เช่นต่อต้าน การเกิดโรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคหวัดหรือแม้กระทั่งโรคข้อกระดูกอักเสบ
วิตามินซี มีอยู่มากในผักผลไม้ในเขตร้อนแถบบ้านเรานี่เอง แต่ไม่ใช่เราจะประมาทคิดว่าเราได้รับอยู่แล้วเป็นประจำ เลยอาจละเลยไม่ได้รับวิตามินซีอย่างเพียงพอ เพราะวิตามินซีสูญสลายง่ายทั้งจากความร้อน แสงสว่าง และการละลายน้ำได้ ทำให้เราต้องบริโภควิตามินซีทุกๆวันให้เพียงพอ


เมื่อดูจากประโยชน์จากวิตามินซีแล้ว จึงมีความจำเป้นต้องบริโภควิตามินซีให้ได้ตามสัดส่วนที่ร่างกายต้องการ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้บอกไว้อย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งสำหรับบางท่านที่ไม่มีความแน่นอนในการบริโภคผักผลไม้ อาจบริโภควิตามินซีในรูปสารอาหารสำเร็จรูปได้แทน
ผู้เชี่ยวชาญได้สังเกตพบว่าในอวัยวะสำคัญ ๆ และในเนื้อเยื่อเซลล์ต่าง ๆ โดยเฉพาะในเนื้อเยื่อเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน ล้วนมีวิตามินซีในปริมาณที่มากมาย
วิตามินซีเป็นสารอาหารชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บธรรมดา ๆ ได้เกือบทุกชนิด
เราควรใช้ประโยชน์จากสารอาหาร ไม่เพียงในด้านการต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บเพียงประเด็นเดียว หากยังควรต้องมองไปถึงประสิทธิภาพในด้านการป้องกันเป็นประเด็นอีกประเด็นหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโรคมะเร็งหรือโรคที่ทำให้ภาวะร่างกายเสื่อมถอยอื่น ๆ ตลอดจนโรคนานาชนิด นอกจากจะต้องมองประเด็นของการรักษา การป้องกัน เรายังควรต้องมองอีกประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นประเด็นเก่า ๆ นั่นคือ “ระดับปริมาณสูงสุด” ของสารอาหาร ไม่ใช่มองแค่ “ระดับร่างกาย”
ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จึงเน้นประเด็นการบริโภควิตามินซีใน “ระดับสูงสุด” มากกว่าจะเน้นตามที่ทางการกำหนดไว้เป็นมาตรฐานอาร์ดีเอ เนื่องจากปริมาณที่ทางการกำหนดเป็นการกำหนดบน พื้นฐานของการป้องกันภาวะขาดแคลนวิตามินซีในร่างกายเท่านั้น
ในขณะที่ปริมาณระดับสูงสุดเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างยิ่งต่อความมีสุขภาพดีและปราศจาก โรคภัยไข้เจ็บ
วิตามินซี เป็นสารอาหารธรรมชาติที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เพราะหากร่างกายขาดวิตามินเมื่อไหร่ อวัยวะต่าง ๆ ทั้งระบบของเราจะทำงานไม่ได้เลย
วิตมินซีซึ่งมีชื่อเรียกตามศัพท์เท็คนิคหรือศัพท์เฉพาะในวงการแพทย์ว่า “กรดแอสคอร์บิค” หรือ “แอสคอร์เบท” นี้ เป็นวิตามินที่ละเอียดอ่อนและบอบบางมาก ความร้อน อากาศและแสงสว่างสามารถทำลายสรรพคุณของมันได้ ควันจากใบยาสูบก็ล้วนส่งผลกระทบในด้านลบต่อวิตามินซี อีกปัจจัยหนึ่งที่เป็นตัวการทำลายสรรพคุณของวิตามินซีได้ก็คือ คุณสมบัติในการละลายในน้ำได้ของมันเอง ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้บ่งชี้ให้เห็นว่าร่างกายไม่สามารถเก็บรักษาวิตามินซีเอาไว้ได้นาน ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องบริโภคเข้าไปใหม่เป็นประจำทุก ๆ วัน ทั้งการบริโภคจากอาหารและจาก เครื่องดื่มเราจำเป็นต้องบริโภคเสริมเข้าไปทุกวัน
ที่ระบบภายในร่างกายไม่ได้สังเคราะห์วิตามินซีขึ้นเองมักจะใช้ชีวิตอยู่ในหรืออยู่ใกล้เขตร้อน และสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ก็ต้องกิน (หรือเคยกิน) วิตามินซีที่มีอุดมสมบูรณ์ในอาหารประเภทผลไม้รวมทั้งเชื่อได้ว่าน่าจะต้องกินในปริมาณที่มากเป็นพิเศษด้วย
หากสัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์ที่มีลักษณะยีนส์หรือลักษณะทางพันธุกรรมผิดพ่อผิดแม่พวกนี้ไม่ได้อาศัยอยู่ในหรืออยู่ใกล้ร้อนแล้ว จะไม่ได้รับการเสริมด้วยสารอาหารตัวนี้อย่างเพียงพอต่อการดำรงชีวิตและในที่สุดมันก็จะตาย
เราควรบริโภควิตามินซีในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐานกำหนด (อาร์ดีเอ) มากทีเดียว กล่าวคือ อาร์ดีเอกำหนดไว้เพียง 60 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ใหญ่
เหตุผลสำคัญขั้นต้นที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับวิตามินซีก็เพื่อการผลิตสารคอลลาเจน เนื่องจากสารโปรตีนชนิดนี้จะทำหน้าเหมือน “กาวพิเศษ” และร่างกายจะผลิตสารคอลลาเจนได้ก็ต่อเมื่อมีวิตามินซีพร้อมให้ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต คอลลาเจนมีอยู่ในฟัน กระดูก กระดูกอ่อนในเนื้อเยื่อคอนเน็คทีฟ ในผิวหนังและในหลอดเลือด ดังนั้น ภาวะขาดแคลนคอลลาเจนจึงเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เราประสบภาวะหลอดแข็งตัวส่งผลให้เป็นโรคหัวใจและโรคระบบไหลเวียนเลือดอื่น ๆ ในเวลาต่อมา
หน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของวิตามินซีได้แก่การทำหน้าที่เป็นสารแอนติอ๊อกซิแด๊น กล่าวคือ เมื่อออกซิเจนในร่างกายถูกย่อยสลาย มันจะไปผลิตสารที่เรียก อนุมูลอิสระ (Free adicals) ขึ้นมา ซึ่งทำหน้าที่คอยทำลายแบ็คทีเรียที่เป็นอันตรายกับร่างกาย ขณะเดียวกันร่างกายก็จำเป็นต้องคอยควบคุมอนุมูลอิสระให้ได้ด้วยเพื่อไม่ให้มันไปทำลายเซลล์กับเนื้อเยื่อ
ในด้านของสารแอนติอ๊อกซิแด๊นท์ วิตามินซีจะเพิ่มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นหากร่างกายได้รับสารไอโอเฟลโวนอยด์ (bioflavonoids) ซึ่งสารที่พบในพืชและพบมากในส่วนที่เป็นไส้หรือแกนสีขาวของผลไม้ประเภทส้มเข้าไปพร้อมกัน
สารอาหารส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ร่างกายไม่สามารถผลิตขึ้นเองได้จึงจำเป็นต้องหาเอาจากแหล่งอาหารชนิดต่าง ๆ โดยนัยเดียวกัน หากร่างกายได้รับไม่เพียงพอ สภาพร่างกายก็จะไม่สมบูรณ์แข็งแรง เปิดโอกาสให้โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาเยือนได้โดยง่าย

วิตามินทำหน้าที่หลากหลาย
บทบาทที่ยาวเหยียดของวิตามินซีในด้านการป้องกันและบำบัดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ปรากฏเป็นหลักฐานแน่ชัดที่น่าประทับใจมาก สรุปก็คือ วิตามินซีเป็นสิ่งจำเป็นต่อระบบการทำงานทางด้านชีววิทยาของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วทั้งระบบเลยก็ว่าได้

เมื่อเริ่มเป็นหวัด
นอกจากบทบาททางด้านป้องกันโรคลักปิดลักเปิดหรือที่เรียกว่าโรคเลือดออกตามไรฟันแล้ว ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดในสายตาของบุคคลธรรมดาทั่วๆ ไปอีกอย่างก็คือการป้องกันโรคหวัดนี่เอง และเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ไลนัส พอลลิ่งน่าจะได้รับการยกย่องเพราะท่านผู้นี้เป็นคนกระตุ้น ให้เราตระหนักถึงประสิทธิภาพของวิตามินซีในด้านการป้องกันโรคหวัด
หากสัดส่วนของแอลดีแอลมีสูงกว่าเฮ็ชดีแอลมากเท่าไหร่โอกาสที่มันจะก่อให้เกิดการพัฒนาโรคหัวใจก็จะยิ่งสูงมากตามไปด้วย คอเลสเตอรอลในรูปของแอลดีแอลเป็นอันตราย แต่วิตามินซีก็สามารถช่วยลดระดับของแอลดีแอลลงมา ขณะเดียวกันก็จะไปเพิ่มระดับของเอ็ชดีแอลให้สูงขึ้น
ความแข็งแกร่งหรือความมีสุขภาพดีของคลอลาเจนก็ได้มาจากโปรตีนอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่า “ไฮดร็อกซี่โปรลิน” ที่สำคัญ ระบบของร่างกายจะทำการผลิตโปรตีนชนิดนี้ได้ก็ต่อเมื่อต้องมีวิตามินซีเป็นวัตถุดิบ แน่นอน หากคอลลาเจนไม่ได้รับการช่วยเสริมจากโปรตีนไฮดร็อกซี่โปรลินแล้ว มันจะอ่อนแอและแตกสลาย ซึ่งนั่นก็หมายความว่าหลอดเลือดจะได้รับบาดเจ็บได้ง่ายมาก
วิตามินซีสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของลิ่มเลือดและภาวะหลอดเลือดแดงแข็งกระด้างได้ รวมทั้งยังมีประสิทธิภาพช่วยป้องกันการจับตัวของเพล็ตเล็ต ในกระแสเลือดได้อีกต่างหาก
วิตามินซีจึงมีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและกระบวนการผลิตของคอลลาเจน วิตามินซียังมีประสิทธิภาพช่วยรักษาบาดแผลให้เซลล์ ให้เนื้อเยื่อและให้กระดุกที่ แตกหัก เมื่อคลลาเจนมีกระบวนการผลิตที่ต่อเนื่องและมีสุขภาพดีก็จะสามารถช่วยบำรุงรักษาผิวหนังให้มีความยืดหยุ่น ชะลอความแก่ให้ผิวหนัง
วิตามินตัวนี้เป็นวิตามินที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบำรุงรักษาความเป็นเอกภาพของเซลล์ (ยึดเซลล์ให้อยู่เป็นกลุ่ม ทำงานร่วมกันเป็นทีม) นอกจากนี้ วิตามินสำคัญต่อกระบวนการผลิตสารที่เรียกว่า พีเฮ็ชไอ (physiological hyaluronidase) สารพีเฮ็ชไอตัวนี้จะอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ต่าง ๆ และสร้างแนวกีดขวางขึ้นเพื่อทำหน้าที่เหนี่ยวรั้งไม่ให้เซลล์ไถลออกจากการ ควบคุม หากสารพีเฮ็ชไอไมสมบูรณ์แข็งแรงประสิทธิภาพในการควบคุมเซลล์ก็จะด้อยลงซึ่งจะส่งผลให้เป็นมะเร็งขึ้นได้ หากร่างกายได้รับวิตามินซีในปริมาณที่เพียงพอ สารพีเฮ็ชไอก็จะมีประสิทธิภาพมากพอป้องกันมะเร็งได้ ดังนั้น วิตามินซีจึงสามารถลดการรุนแรงของมะเร็งได้ด้วยการเพิ่มความสมบูรณ์แข็งแรงให้แก่ “กาวยึดพิเศษ” ที่อยู่ระหว่างเซลล์แต่ละเซลล์
ส่วนเหตุผลประการที่สองคือวิตามินซีมีสรรพคุณเป็นสารแอนติอ๊อกซิแด๊นท์ซึ่งจะช่วยลดปริมาณและบทบาทของอนุมูลอิสระ ทำการควบคุมไม่ให้อนุมูลอิสระโจมตีเซลล์และเนื้อเยื่อ ช่วยป้องกันไม่ให้สารบางชนิดแปลงสภาพไปเป็นสารก่อมะเร็ง อาทิ สารไนไตร๊ต์และสารไนเตรท ซึ่งมักพบในอาหารที่เราบริโภคอยู่เป็นประจำ
วิตามินซีมีบทบาทในการทำงานทั้งโดยตัวมันเองและร่วมกันสารอื่น ๆ ที่มีอยู่ในร่างกาย ซึ่ง ตัวอย่างได้แก่ร่างกายนำวิตามินซีไปช่วยแปลงสภาพกรดโฟลิก ให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ (กรดโฟลิกมีความสำคัญมากเป็นพิเศษสำหรับการพัฒนาของตัวอ่อน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในช่วงแรก ๆ ของการปฏิสนธิ)
ภาวะดูดซึมธาตุเหล็กของร่างกายก็ได้รับการช่วยเหลือจากวิตามินซี กล่าวคือ ธาตุเหล็กมีอยู่ด้วยกันสองรูป คือรูปของเฟอร์รัสและรูปของเฟอร์ริก ร่างกายไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กในรูปของเฟอร์ริกได้ วิตามินซีจึงเข้าไปช่วยแปลงสภาพเฟอร์ริกโดยการทำให้เฟอร์ริกสลายตัวและเปลี่ยนมาในรูปของเฟอร์รัส ซึ่งเป็นรูปที่ร่างกายสามารถดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
ตลอดจนผู้บุกรุกที่ไม่พึงปรารถนาของร่างกายเรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันและมีแนวตั้งรับอยู่ในกระแสเลือด เซลล์เม็ดเลือดขาวแฟ็กโกไซต์และเซลล์เม็ดเลือดขาวนูโทรฟิลจะเพิ่มประสิทธิภาพอย่างมากมายในคนที่บริโภควิตามินซีวันละตั้งแต่ 2-3 กรัมขึ้นไป
จากวิตามินซีจะแสดงบทบาทต่อต้านผลกระทบของสารฮิสตามิน ซึ่งจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อตอบสนองต่ออาการโรคภูมิแพ้ อาทิ แพ้ละอองเกสรดอกไม้ วิตามินซียังช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก จามและน้ำตาไหล
วิตามินซีคือมันสามารถส่งผลไปถึงสุขภาพของมันสมองด้วย ผู้ป่วยโรคจิตประเภทหลงลืมมีระดับปริมาณวิตามินซีในเลือดน้อยกว่าระดับมาตรฐานของคนทั่วไป ทั้งๆ ที่ผู้ป่วยเหลานั้นก็บริโภควิตามินซีจากอาหารในระดับพอประมาณ
วิตามินซีทำหน้าที่เหมือน “ยากล่อมประสาทธรรมชาติ” เนื่องจากมันมีสรรพคุณเป็นสารต่อต้านความวิตกกังวลอยู่ในตัว จึงน่าจะอธิบายเพิ่มเติมได้ต่อไปว่าวิตามินอาจเป็นสิ่งจำเป็นต่อกระบวนการผลิตฮอร์โมนคอร์ติคอสเตอรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความเครียดและช่วยให้เราแก้ปัญหาความเครียดได้
ผู้ป่วยติดยาให้ผู้ป่วยบริโภควิตามินซีในระดับปริมาณที่สูงมาก สูงตั้งแต่ 25-28 กรัมต่อวัน สารอาหารดังกล่าวในปริมาณที่สูงมากจะทำให้สารเสพติดมีความเป็นกลางจนผู้เสพไม่รู้สึกอยากหรือรู้สึกอยากแต่ก็ไม่มากมายอะไรนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อบำบัดด้วยปริมาณที่สูงมากไปแล้วประมาณสองสามวันก็สามารถลดระดับปริมาณวิตามินซีลงมาอยู่ในระดับบำรุงสุขภาพตามปกติต่อไป เพราะแม้สารพิษชนิดอื่น ๆ วิตามินซีก็มีประสิทธิภาพสูงในการขจัดออกเช่นกัน ผลกระทบจากมลภาวะในสภาพแวดล้อม อาทิ คาร์บอนออกเช่นกัน ผลกระทบจากมลภาวะในสภาพแวดล้อม อาทิ คาร์บอนโมน็อกไซด์ แคดเมี่ยม ตะกั่ว เหล็ก ปรอท ทองแดง เบนซิน สารหนู ตลอดจนน้ำยาฆ่าแมลงที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายล้วนเป็นสารพิษที่วิตามินซีสามารถกำจัดจนน้ำยาฆ่าแมลงที่ผ่านเข้าสู่ร่างกายล้วนเป็นสารพิษที่วิตามินซีสามารถกำจัดได้
โรคเอดส์ และผู้ป่วยติดเชื้อโรคเอดส์ด้วยกรดแอสคอร์บิคร่วมกับสารอาหารอื่น ๆ ตลอดจนขนัดอาหารขยะทำให้ผู้ป่วยจำนวนมากกว่า 200 ราย ผลปรากฎว่าวิธีดังกล่าวแม้ไม่สามารถรักษาโรคได้โดยตรง แต่ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้นานกว่าที่คาดไว้ถึงสองเท่า นอกจากนี้ อาการต่างๆ ที่ได้รับยังบรรเทาเบาบางลงก่อนที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิต
เซลล์ที่ติดเชื้อเฮ็ชไอวีจะไม่ได้รับผลกระทบในด้านของการเจริญเติบโตตามปกติ หากได้รับวิตามินซีสด ๆ ในรูปของธรรมชาติในปริมาณดังกล่าวมีประสิทธิภาพเพียงพอต่อการสกัดกั้นและยับยั้งไม่ให้เชื่อเฮ็ชไอวีแพร่กระจายออกไป
คุณประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากสรรพคุณของวิตามินซีมีอยู่มากมาย ที่กล่าวมาแล้วเป็นเพียงบางส่วนเท่านั้น และต่อไปนี้ก็เป็นอีกส่วนที่ได้จากวิตามินซี
· ใช้รักษาอาการเลือดออกในลำไส้ที่เกิดจากฤทธิ์ยาแอสไพรินหรือแอลกอฮอล์ รักษาอาการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ (อาทิ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ) โรคพิษสุนัขบ้า รักษาอาการถูกงูพิษ แมงมุมและแมลงมีพิษกัดต่อย
· ระดับปริมาณการบริโภคที่สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยสามารถช่วยป้องกันอาการปวดหลังโดยมันจะเข้าไปเสริมสุขภาพของแว่นข้อต่อกระดูกให้แข็งแรง
· โรคข้อกระดูกและโรคที่เกี่ยวข้องอย่างโรคข้อยึดมีการตอบสนองต่อวิตามินซีเป็นอย่างดี
· อาจช่วยป้องกันโรคเท้าบวมเนื่องจากความเย็นจัด
· อาการช็อกเนื่องจากได้รับบาดเจ็บ ถูกไฟฟ้าช็อตและฟ้าผ่าสามารถบำบัดได้ด้วย วิตามินซี อาการผื่นคันจากเถาไม้เลื้อยสามารถรักษาได้ด้วยการทาครีมวิตามินซีตรงผิวที่ได้รับพิษ หรือจะใช้วิธีบริโภคก็ได้
· แม้แต่อาการของผดผื่นคันก็ตอบสนองต่อวิตามินซีเป็นอย่างดีเช่นกัน

โรคมะเร็งเป็นโรคที่มีสาเหตุเบื้องต้นมาจากภาวะร่างกายขาดแคลนวิตามินซี สตรีตั้งครรภ์ที่ร่างกายตกอยู่ในภาวะขาดแคลนวิตามินซีอาจได้รับผลกระทบจากโรคโลหิตจาง ขาเป็นตะคริว และด้วยความที่ผิวหนังขาดความยืดหยุ่นจึงทำให้มีอาการของผิวลายหรือแตกเป็นเส้น
ภาวะขาดแคลนวิตามินซี เป็นโรคลักเปิดเท่านั้น มีอาการผิวหนังแห้ง ผมร่วงมาก ฟันผุ นอกจากนี้ หากปล่อยให้อาการต่าง ๆ ของโรครุนแรงขึ้นถึงระดับสูงสุด ผู้ป่วยไม่เพียงมีอาการปากแห้งตาแห้ง หากยังมีอาการของต่อมน้ำลายบวม มีอาการ ของต่อมน้ำลายบวม มีอาการอักเสบ จมูกแตกเป็นสะเก็ด รวมไปถึงเป็นโรคปวดข้อ
กระดูกจะแตกแม้ถูกกระทบกระแทกในชั้นที่ไม่มีความรุนแรงใด ๆ หลอดเลือดแดงฝอยอ่อนแอ ปริแตกและมีเลือดไหล กล้ามเนื้ออ่อนแอไร้ประสิทธิภาพกระดูกข้อต่อจะเจ็บปวดมากเมื่อมีการ เคลื่อนไหว ฟันหลุดตลอดจนบาดแผลและอาการระบมตามร่างกายนจะไม่มีวันรักษาให้หายขาด และหากปริมาณกรดแอสคอร์บิกในร่างกายต่ำกว่าระดับสูงสุดดำเนินไปอย่างต่อเนื่องยาวนานใน วัยหนุ่มสาวและวัยกลางคน
ภาวะขาดแคลนวิตามินซีที่มีความรุนแรงไม่มากอาจอยู่ในรูปแบบของภาวะไร้ขีดความสามารถต่อการคลี่คลายปัญหาความเครียด สภาพร่างกายโดยทั่วไปมีอาการเหนื่อยอ่อน มีความรู้สึกเป็นกังวล เซื่องซึมอ่อน ๆ ฮิสทีเรีย เป็นหวัดอยู่เนือง ๆ ผิวแห้ง ผิวเป็นสะเก็ด เส้นผมหยาบกระด้าง ไร้ชีวิตชีวา
หากคุณบริโภควิตามินซี 30 หรือ 60 มิลลิกรัมต่อวันและต่อเนื่องระยะหนึ่งเป็นอย่างน้อย คุณจะไม่เป็นโรคลักปิดลักเปิด หาวิตามินซีได้จากอาหารที่เราบริโภคนานติดต่อกันไม่เกินสามเดือนเท่านั้น
จากหลักฐานผลการศึกษาวิจัยทุกชิ้นส่วนปรากฏแจ้งชัด สัตว์ทุกชนิดต้องการวิตามินซีในปริมาณที่สูงมากด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะได้จากการสังเคราะห์ขึ้นเองภายในระบบหรือต้องบริโภคจากอาหารเพียงแหล่งเดียวก็ตาม ขณะเดียวกัน พวกเราซึ่งเป็นมนุษย์ที่ครั้งหนึ่งเคยมีขีดความสามารถในการผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่มาสูญเสียไปตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ จึงควรบริโภควิตามินซีจากแหล่งอาหารให้ได้ในปริมาณที่สูง ๆ ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีคำแนะนำว่าหากคุณกำลังจะบริโภควิตามินซีให้ได้ถึงระดับสูงสุด วิธีที่ดีที่สุดคือให้เริ่มบริโภคแบบค่อยเป็นค่อยไปเพื่อหลีกเลี่ยงอาการไม่พึงประสงค์จากการบริโภคเข้าไปทีเดียวมาก ๆ
ในส่วนของการเสริมสร้างภาวะดูดซึม วิธีเลือกบริโภคในปริมาณแต่น้อยแต่บริโภคเป็นระยะๆ ตลอดวัน
ในส่วนของการเสริมสร้างภาวะดูดซึม วิธีเลือกบริโภคในปริมาณแต่น้อยแต่บริโภคเป็นระยะๆ ตลอดวัน ในการบริโภควิตามินซีในรูปของอาหารเสริมมีข้อควรจำที่สำคัญทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อร่างกาย นั่นก็คือต้องพัฒนามาตรฐานการบริโภคอาหารทุกมื้อตามไปด้วย ไม่ใช่หวังพึ่งวิตามินในรูปอาหารเสริมแต่เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารบางชนิดร่วมกับวิตามินซี อาทิ แอลกอฮอล์ เพราะมันจะไปขัดขวางกระบวนการดูดซึมวิตามินซี กาแฟและบุหรี่ก็ควรงดด้วยเหตุผลเดียวกัน
บางคนที่บริโภควิตามินซีในปริมาณมาก ๆ อาจประสบปัญหาความไม่สบายใจช่องท้องหรือมีแก๊สมาก ประเด็นนี้สามารถแก้ไขได้ง่าย ๆ ด้วยการลดปริมาณลงมาเท่านั้น อีกทางเลือกหนึ่งก็ได้แก่บริโภควิตามินซีที่มีความเป็นกรดไม่มากก็อาจช่วยได้ นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงวิตามินซีในรูปเม็ดที่ต้องเคี้ยว เนื่องจากความเป็นกรดของวิตามินซีอาจทำให้ฟันคุณสึกกร่อนได้


เมื่อพูดถึงปริมาณวิตามินซีที่ร่างกายต้องการ มีกลุ่มประชากรบางกลุ่มต้องการวิตามินซีมากกว่าพวกเราที่เหลือทั้งหมด
วิตามินซีจะทำให้อนุมูลอิสระเป็นกลาง คุณยังคงจำได้ อนุมูลอิสระเป็นผลิตผลจากการสลายตัวของออกซิเจนกับแหล่งมลภาวะที่มาจากภายนอก อนุมูลอิสระเหล่านี้หากไม่ได้รับการควบคุมก็จะสามารถหายที่เกิดขึ้นจะได้รับการซ่อมแซมด้วยกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย แต่หากปล่อยให้เป็นอยู่นานหลาย ๆ ปี ความเสียหายก็จะสั่งสมเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่วิตามินซีมีประสิทธิภาพในด้านเป็นสารแอนติอ๊อกซิแด๊นท์ จึงสามารถช่วยชะลอความเสียหายดังกล่าว
กลุ่มที่มีปัจัยเสี่ยงสูงสุดต่อการพัฒนาของโรคลักปิดลักเปิด ทั้งนี้ก็เนื่องจากบริโภคอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายตกอยู่ในภาวะขาดแคลนวิตามินซี
วิตามินซี


ผู้ป่วย


ระบบของร่างกายจะนำวิตามินสำรองมาใช้ในด้านการบำบัดรักษา และยังพบว่า วิตามินซียังมีประสิทธิภาพช่วยทำลายเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ อาทิเชื้อเริม เชื้อไวรัสตับอักเสบ เชื้อโปลิโอ เชื้อหัดและเชื้อปอดบวมวิตามินซีทำลายเชื้อไวรัสเหล่านี้ได้ด้วย วิตามินซียังแสดงประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อแบคทีเรีย อาทิ เชื้อวัณโรค เชื้อบาดทะยัก เชื้อสเตฟีค็อกคัสและเชื้อไทฟอยด์ด้วยวิธีเดียวกัน นอกจากประสิทธิภาพในการตอบโต้โดยตรงแล้ววิตามินซียังทำหน้าที่กระตุ้นการผลิตสารอินเตอร์เฟอรอน กระตุ้นการผลิตเม็ดเลือดขาวซึ่งจะทำหน้าที่โจมตีเชื้อจุลินทรีย์ที่รุกล้ำเข้ามาในร่างกาย

สตรีตั้งครรภ์และกำลังเลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนม
บรรดาคุณแม่ทั้งหลายจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบริโภคสารอาหารที่มีคุณภาพชนิดต่าง ๆ ในปริมาณสูงในช่วงระหว่างตั้งครรภ์ เพราะไม่เพียงพวกเธอจะต้องการเพิ่มเพื่อตัวเองแล้ว ยังต้องเผื่อแผ่ไปถึงบุตรในครรภ์เพื่อเป็นหลักประกันให้บุตรในครรภ์เจริญเติบโตโดยมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งโดยทั่วไปสารอาหารที่มีคุณภาพเหล่านี้ก็ได้แก่แร่ธาตุ อาทิ ธาตุเหล็ก สังกะสี แมกเนเซี่ยม มังกานีส โครเมี่ยม และแคลเซี่ยม ทางด้านวิตามินก็มีวิตามินบีรวม วิตามินอี และวิตามินซี วิตามินเหล่านี้จัดว่าเป็นวิตามินที่มีความสำคัญสูงสุด

นักกีฬา
ในสถานการณ์ที่มีความเครียด ร่างกายจะขับฮอร์โมนอะเดรนาลินออกจากต่อมหมวกไตสำหรับการเตรียมพร้อมในกรณีฉุกเฉิน ปริมาณอะเดรนาลินที่ร่างกายขับออกมาจำนวนมากและอย่างต่อเนื่องในนักกีฬาจะเป็นปัจจัยทำลายวิตามินซีในร่างกายในเวลาเดียวกัน ด้วยเหตุนี้จึงมีคำแนะนำว่าให้ทดแทนด้วยการบริโภควิตามินซีเพิ่มมากขึ้น

ผู้ที่สูบบุหรี่
ควันบุหรี่มีสารพิษปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้จะเป็นปัจจัยทำให้สารอาหาร แอนติอ๊อกซิแด๊นท์ในร่างกายลดจำนวนลง ควันบุหรี่ยังจะไปเพิ่มระดับพลาสม่าในเลือดให้สูงขึ้นและสร้างสภาพเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ต่อการอ๊อกซิเดชั่นของคอเลสเตอรอลแอลดีแอล ส่งผลกระทบต่อผนังหลอดเลือดแดงทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว
ความร้ายกาจน่ากลัวของควันบุหรี่ยังไม่หมดเพียงแค่นั้น เพราะนิโคตินยังไปกระตุ้นให้ต่อหมวกไตผลิตฮอร์โมนอะเดรนาลินและขับเข้าสู่ระบบในปริมาณที่สูงมากเกินไป ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ระดับความดันเลือดสูงขึ้น

ประโยชน์ด้านรักษาโรคของวิตามินซี
เมื่อพูดถึงวิธีรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงก็ไม่มีอะไรจะมาทดแทนวิธีบริโภคสารอาหารครบหมู่ และอย่างเพียงพอทั้งปริมาณรวม ทั้งปริมาณสารอาหารแต่ละประเภทในอาหารแต่ละมื้อ จากการศึกษาวิจัยยังแสดงให้เราเห็นอีกว่าสารอาหารที่เราบริโภคอาจมีความสัมพันธ์กับสภาพอารมณ์ สุขภาพจิตและทักษะปัจจุบันเป็นที่รู้และเข้าใจดีโดยทั่วไปว่าการบริโภคสารอาหารที่ดี คุณประโยชน์ไม่เพียงเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้น หากยังเป็นปัจจัยสนับสนุนและส่งเสริมให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงถึงระดับสูงสุด ตลอดจนมีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาอีกด้วย


อ้างอิง

แอสเนี่ยน วอลจิ, วิตามินซี ธาตุอาหารเพื่อบำรุงสุขภาพ, พิมพ์ที่ บริษัทแอล ที เพรส จำกัด.
ดร.ชวลิต ทัศนสว่าง, อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ, สำนักพิมพ์ยูไนเต็ดบุ๊คส์, กรุงเทพฯ, 2529.
สมทรง เลขะกุล, ชีวเคมีของวิตามิน, สำนักพิมพ์ศุภวนิชการพิมพ์, พิมพ์ครั้งที่ 2, 2543.

อัญมณี

ประเภทและคุณสมบัติของอัญมณี

ข้อมูลเกี่ยวกับเพชร
กำเนิดเพชร
เพชร (Diamond) เป็นอัญมณีที่ล้ำค่าและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ในอดีตผู้ที่จะมีไว้ในครอบครองจะต้องเป็นเศรษฐีหรือเชื้อพระวงศ์ เนื่องจากเป็นของที่หายาก มีความเชื่อแต่อดีตว่าผู้ที่ได้สวมใส่เพชรจะมีอำนาจที่จะป้องกันสิ่งชั่วร้ายได้ คือมักใช้เป็นเครื่องรางมากกว่าเป็นเครื่องประดับ เพราะฉะนั้น ในอดีตจึงเป็นผู้ชายที่สวมใส่เพชรมากกว่าผู้หญิง ตำนานโบราณกล่าวไว้ว่า เพชรมีแหล่งกำเนิดมาจากกระดูกยักษ์ชื่อมหาพลสูตรที่คิดจะทำพิธีอดอาหารเพื่อเป็นเกียรติยศให้ปรากฏในแผ่นดิน พอครบ 7 วัน ก็สิ้นชีวิต เทวดาจึงนำกระดูกไปฝังไว้ทุกแห่ง ก็บังเกิดกลายเป็นเพชรรัตน์ ในทางวิทยาศาสตร์ เพชรเกิดจากธาตุคาร์บอน (C ) เกือบบริสุทธิ์ คือประมาณ 99.95% ที่ถูกทับถมอยู่เป็นเวลานานใต้พื้นโลกด้วยแรงกดกว่า 3,000 ตัน อยู่ลึกประมาณ 80 กิโลเมตร ต่อมาหินคิมเบอร์ไลต์ (Kimberite) ได้ดับเพชรขึ้นมาระดับพื้นผิวโลก นอกจากนี้ยังพบเพชรอยู่ในบริเวณ ลานแร่ (Alluvian) อยู่ประมาณร้อยละ 90 ของเพชรที่พบทั้งหมด
ลักษณะและชนิดของเพชร
เพชรเป็นแร่มีรูปร่างผลึก 8 เหลี่ยม หรือ 12 เหลี่ยม มีความโปร่งใส และกึ่งโปรงใส มีประกายแวววาว รอยตำหนิมีเหลี่ยมมุมถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง เพชรมีหลายสี ตั้งแต่ไม่มีสี จนกระทั่งถึงสีดำ ที่เรียกว่า Carbonado สีต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกิดจากมลทินในผลึก ส่วนใหญ่จะพบไนโตรเจน ซึ่งจะพบอยู่ถึงร้อยละ 0.2 นอกจากนี้ยังพบซิลิกอน แมกนีเซียม อะลูมิเนียม เหล็ก แคลเซียม และทองแดง ซึ่งมีอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก เพชรที่พบอยู่โดยทั่วไปจะมีสี เหลือง หรือน้ำตาลอ่อน เพชรที่ใสไม่มีสี จะมีราคาสูงที่สุดและเป็นที่นิยม แต่เพชรมีสีนั้นค่อนข้างหายาก เช่น สีชมพู หรือสีน้ำเงิน เช่น Hope Diamond เป็นเพชรที่มีสีฟ้า มีชื่อเสียงมาก และชนิดที่หายากที่สุดคือ Red Diamond
เพชรแบ่งออกได้ 4 ชนิด คือ
1. ชนิด la มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.1 ได้แก่ เพชร ที่ขุดตามธรรมชาติ
2. ชนิด lb มีไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 0.2 ได้แก่ เพชรสังเคราะห์
3. ชนิด lla ไม่มีไนโตรเจน ชนิดนี้หายากมาก
4. ชนิด llb เป็นเพชรที่มี boron อยู่ในผลึกจะมีสีฟ้า หายากมาก
การเลือกซื้อเพชร
น้ำหนักของเพชรไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคาเพียงอย่างเดียว ต้องพิจารณาคุณสมบัติอื่นๆประกอบด้วย โดยอาศัย 4C ดังนี้
1. CARAT (น้ำหนัก) ขนาดของเพชรยิ่งโตราคายิ่งสูงขึ้น น้ำหนักเพชรใช้วัดเป็น CARAT ซึ่ง 1 CARAT เท่ากับ 0.200 กรัม (200 มิลลิกรัม หรือ 1/5 กรัม) 1 กรัมเท่ากับ 5 CARAT
2. COLOR (สี) เกิดขึ้นจากการรวมตัวทางเคมีของธาตุต่างๆ สีของเพชรมีทุกสี แต่ที่มีค่า ได้แก่ สีทึ่ไม่มีสีอื่นเจือปน (Colorless)
3. LARITY (ความบริสุทธิ์) เพชรแท้ธรรมชาติต้องไม่บริสุทธิ์ 100% ถ้าดูด้วยกล้องขยาย 1,000 เท่า จะมองเห็นเส้นเล็กๆ หรือจุดเล็กๆซึ่งแสดงถึงความไม่บริสุทธิ์ของเพชรธรรมชาติ
4. CUTTING (การเจียระไน) การเจียระไนมีความสำคัญต่อเพชรมาก ถ้าฝีมือในการเจียระไนสวยจะทำให้เพชรมีประกายสวยขึ้น
แหล่งกำเนิดเพชร
อินเดีย มีการขุดเพชรมากกว่า 5000 ปีมาแล้ว เป็นประเทศแรกที่พบเพชร เพชรที่อินเดียเป็นเพชรมีคุณภาพสูง เม็ดมีขนาดใหญ่ และมีจำนวนมาก เพชรที่มีชื่อเสียงของโลกกว่าครื่งมาจากประเทศอินเดีย บราซิล เป็นประเทศรองจากอินเดียที่พบเพชร โดยพบในปี พ.ศ. 2288 เพชรที่นี่ไม่สวยเท่ากับอินเดีย เม็ดมีขนาดเล็กเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในวงการอุตสาหกรรม ขณะนี้มีปริมาณน้อยแล้ว แอฟริกา เมื่อเพชรที่บราซิลเริ่มน้อยลงก็พบเหมืองใหม่เมื่อ พ.ศ. 2410 ที่แอฟริกาเพชรมีคุณภาพสูง สวยงามและมีเม็ดขนาดใหญ่ ๆ และมีปริมาณมาก รัสเซีย ในปี ค.ศ. 1970 มีการขุดเพชรที่รัสเซีย เพชรที่รัสเซียปริมาณมากกว่าแอฟริกา แต่เนื่องจากความเป็นประเทศในโลกที่สาม จึงไม่เป็นที่สนใจนัก นอกจากนี้ยังพบที่ จีน อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย โคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา เวเนซุเอล่า โบลิเวีย กิอานา และไซบีเรีย ในประเทศไทยพบที่จังหวัดพังงาปนอยู่ในแหล่งแร่ดีบุก เพชรที่พบเหล่านี้มีขนาดเล็กไม่ถึงหนึ่งกะรัต และมีปริมาณไม่มากนัก
อินเดียเป็นชาติแรกที่รู้จักการเจียระไนเพชร แต่ไม่มีชื่อเรื่องความสวยงามเพราะคำนึงถึงปริมาณเนื้อเพชรมากๆ จนกระทั่ง Vineenti Peruzzi ชาวเวนิสเป็นผู้ออกแบบ Brilliant cut นับเป็นครั้งแรกที่ทำให้นักเจียระไนทั่วโลกได้เห็นไฟ และประการแวววาวที่สวยงามของเพชรเป็นครั้งแรก แต่รูปทรงยังไม่ดีนักโดยในเวลาต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงต่อเนื่องกันมาเรื่อยๆ
แหล่งเจียระไนที่มีชื่อ ได้แก่ เบลเยียม, ฮอลันดา, นิวยอร์ค, ลอนดอน, อิสราเอล และอินเดีย ในปัจจุบันรูปแบบการเจียระไนที่นิยม คือ การเจียระไนเหลี่ยมเกสร (Round Brilliant Cut) ซึ่งมี 57-58 เหลี่ยม ถ้าเพชรมีคุณสมบัติ 4C อย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง เพชรที่ไม่มีสี มีรูปร่างในการเจียระไนสวยงาม ไม่มีมลทิน
การตรวจสอบว่าเพชรแท้หรือเพชรเทียม
การตรวจสอบว่าเป็นเพชรเทียมหรือเพชรแท้ ต้องทดสอบหลายวิธีประกอบกัน
1. ดูค่าความถ่วงจำเพาะโดยหย่อนเพชรที่สงสัยในน้ำยามาตรฐาน ที่มีความถ่วงจำเพาะ 3.52 ถ้าเป็นเพชรแท้จะลอยปริ่มระดับเดียวกับน้ำยา เพชรเทียมส่วนมากจะจม แต่วิธีนี้ใช้ไม่ได้กับเพชรเทียมที่เป็นพวกแก้ว Topaz , quartz , Synthetic sapphire และ Synthetic spinel เพราะค่าความถ่วงจำเพาะของสิ่งเหล่านี้ใกล้เคียงเพชร
2. ดูค่าดัชนีหักเหโดยหย่อนเพชรที่สงสัยลงในน้ำยามาตรฐานที่มีค่าดัชนีหักเห 1.743 ถ้าเป็นสารที่มีค่าดัชนีหักเหสูงกว่านี้จะมองเห็นประกายในน้ำยา แต่ถ้าสารนั้นมีดัชนีหักเหต่ำกว่า จะมองไม่เห็นประกาย เพชรเทียมส่วนมากมีค่าดัชนีหักเหสูงกว่านี้ ยกเว้น พวกแก้ว ,Topaz ,quartz , Synthetic sapphire , Synthetic spinel
3. ดูความแข็งเป็นวิธีที่แน่นอน เพราะเพชรแท้ต้องถูกคอรันดัมขีดบนหน้าผลึกแล้วไม่เป็นรอย แต่ถ้าขีดบนเพชรเทียมชนิดอื่น ๆ จะเห็นรอยขีด ซึ่งรอยจะชัดเจนแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความแข็งของเพชรเทียมชนิดนั้น แต่วิธีนี้ไม่นิยมใช้เพราะอาจขีดบนแนวแตกเรียบ ซึ่งอาจทำให้เพชรหักบิ่นและเกิดตำหนิได้
4. ทดสอบการนำความร้อนโดยใช้เครื่องมือตรวจสอบการนำความร้อน ซึ่งใช้แยกเพชรออกจากเพชรเทียม เครื่องมือนี้เรียกว่า เทอร์มอลคอนดัคทิวิตี้โพรบ (Themal conductivity probe ) ซึ่งสะดวกในการพกพา ใช้ได้กับเพชรทุกขนาดและรวดเร็ว
ปัจจุบันผู้ผลิตเพชรเทียมใช้สารเคมีเคลือบผิว เมื่อนำไปทดสอบได้ค่าผิดจากความจริง หรืออาจใช้วิธีทำเทียมแบบประกบ 2 ชั้น คือ เพชรแท้อยู่ด้านบน เพชรเทียมอยู่ด้านล่าง โดยใช้วัตถุใสไม่มีสี หรืออาจจะเป็นชิ้นส่วนของเพชรที่ปะอยู่บริเวณที่เป็น Girdle ของเพชรซึ่งปะติดกันกับชิ้นล่างของเพชรอีกส่วน ซึ่งวิธีปลอมแบบนี้สามารถสังเกตได้ โดยพิจารณาจากรอยต่อและความแตกต่างของเนื้อเพชรดังนั้น การตรวจสอบให้ได้ผลที่แน่นอนต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ และต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทดสอบคุณสมบัติ

คุณค่าของอัญมณีี

ความงาม
ความงดงาม แห่งอัญมณี ถูกแสดงออกมา อย่างไม่จำกัดรูปแบบ นับตั้งแต่ความแจ่มจรัส พราวแสงของเพชร ไปจนกระทั่ง ความงามจากสีเลื่อมรุ้ง ที่แปรเปลี่ยนไปตามมุมต่างๆ ของไข่มุก แต่ทั้งหมดนี้ สิ่งสำคัญ ที่ทำให้ เรามองเห็น ความงดงามของอัญมณี คือ แสงสว่างแสงสว่างที่ตกกระทบ กับวัตถุ ทำให้เรามองเห็นสีสัน อันร้อนแรง ของทับทิม และลาปิส ลาซูลี ทำให้มองเห็นประกายพราว ของเพชรที่ล้อกับแสงไฟ และทำให้เราเห็นสีเลื่อมรุ้ง อันงดงาม ของโอปอล
แสงสว่าง ที่สะท้อนจากพื้นผิว ของอัญมณีแต่ละชนิด ให้ประกายโดดเด่น ที่แตกต่างกัน และสีสัน ที่ส่องประกายออกมา จากความใสภายใน ก็สามารถสร้างสเน่ห์ ให้อัญมณีหลายต่อหลายชนิด แต่ก็มีอัญมณี บางชนิดที่มีสเน่ห์ดึงดูดใจ มากกว่า เช่น สตาร์ ที่เกิดกับทับทิม ไพลิน หรือไพฑูรย์ ทั้งยังมีควอทซ์บางชนิดที่มีสีสัน ด้านบนเหมือนกับถูกฉาบด้วยโลหะ เช่น อะเวนทูรีน ควอทซ์ และ ซัน สโตน
นอกเหนือจากนี้ เสน่ห์อันซับซ้อนที่ดึงดูดใจ ให้ใครหลายคนหลงใหล ยังเกิดได้ด้วยวิธีการ อันซับซ้อน ของธรรมชาติ เช่น อะเกท และจัสเปอร์ (พลอยสีดำแดง) ที่ฝังตัวเป็นรูปร่างต่างๆ อยู่ตามแหล่ง ของมัน และจะพัฒนาเปลี่ยนแปลง รูปต่าง ตามกาลเวลาที่ผ่านไป จนบางครั้ง เมื่อเราได้เห็น ก็จะรู้สึกว่ามันมีรูปร่าง คล้ายกับแผนที่ หรือสวนสวยๆ อัญมณีส่วนใหญ่แสดงความงดงาม ออกมาเพียงเล็กน้อย ราวกับหญิงสาวขี้อาย แต่การจะทำให้ มันแสดงสีสันสดใสที่แท้จริง เราจำเป็นต้องนำมาเจียระไน และขัดให้เป็นเงาเสียก่อน ดังเช่นความงดงามของเพชร ที่จะงามได้ก็ต่อเมื่อ นำมาเจียระไนอย่างถูกเหลี่ยม และได้ขนาดกับสัดส่วนที่เหมาะสมเมื่อเราสวมใส่ เครื่องประดับอัญมณี การเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของเราก็คือ การทำให้แสงสว่าง ตกกระทบกับมุมต่างๆ ของอัญมณี ที่เราสวมใส่ ทำให้มันแปล่ง ประกายเจิดจรัส จำไว้อย่างหนึ่งว่า ถ้าคุณสวมใส่เครื่องประดับ ที่ทำด้วยเพชร ทับทิม หรือมรกต "สปอทไลท์" จะทำให้อัญมณี ของคุณมีชีวิตชีวา แต่ถ้าเครื่องประดับของคุณเป็นอำพัน หรือ ไข่มุก แสงที่นุ่มนวลจะเหมาะสมกว่า

ความหายาก
ถ้าความงดงาม คือ สิ่งที่สร้างการเริ่มต้น ประชันกันในหมู่อัญมณีแล้ว ความหายาก ก็คือสิ่งที่ช่วยเพิ่มความพิเศษ ให้อัญมณี ยิ่งเป็นที่ปรารถนาของใครๆ ความหายาก คือ ตัวตัดสินค่า (ที่บางครั้งสูงจนแทบไม่น่าเชื่อ) และมีอิทธิพล โดยตรงต่อราคา ของอัญมณีตามตู้โชว์ ในร้ายขายเครื่องประดับ
อัญมณีบางครั้ง อาจหายากด้วยรายละเอียด และเหตุผลต่างๆ อัญมณีทั่วๆ ไปอาจหายาก เพราะแหล่งที่อยู่ หรืออาจหายาก เพราะคุณภาพของตัวอัญมณีเอง ที่แตกต่างออกไป บางคนอาจเคยสงสัย ว่าทำไมอัญมณีไร้สีสัน อย่างเพชรถึงได้แพงนัก แต่คุณทราบไหม ว่าจะต้องสกัดหินถึง 100 ตันกว่าจะได้มาซึ่งเพชรเพียง 5 กรัม ส่วนมรกตเขียวๆ ที่มีรอยร้าวอยู่ในนั้น ที่ราคาแพงก็เนื่องมาจากว่า มันมีแร่ธาตุทางเคมี ที่หายากปะปนอยู่ และแร่ธาตุในมรกต ก็คือ แร่แบเริลเลี่ยม นั่นเองในทางการค้านั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับความหายากแล้ว ราคาของอัญมณี จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสี ตำหนิภายใน และน้ำหนัก และหน่วยวัดน้ำหนัก ของอัญมณี ก็คือ กะรัต (5 กะรัต = 1 กรัม) ซึ่งการซื้อขายอัญมณีนั้น ส่วนมากมักจะชั่งน้ำหนักรวมทั้งเม็ด มากกว่าที่จะแบ่งขายเป็นกะรัต และความหนาแน่น ของอัญมณีแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน

ความคงทน
อัญมณีที่มีความทนทาน ตลอดกาลเวลา เพราะอัญมณีสามารถป้องกัน การเปลี่ยนแปลงของสารเคมี มีความทนทาน เพียงพอที่จะรักษาความมันวาว เอาไว้ อีกทั้งยังไม่เปราะหรือแตกหักได้ง่ายๆ
"ความแข็ง" ของอัญมณี เป็นตัวกำหนดความทนทาน ต่อการขีดข่วนเป็นรอย วิธีการที่ง่ายที่สุด ที่เราจะตรวจสอบดูว่า อัญมณีชนิดใด มีความทนทานต่อการขีดข่วน เป็นรอยมากน้อยแค่ไหนก็คือ การใช้ "โมหส์ สเกล" ซึ่งถูกคิดค้นขึ้นมาใน ค.ศ 1822 โดยนักแร่วิทยา ชาวเยอรมัน ที่ชื่อว่า เฟรดดริช โมหส์ และวิธีการของเขาก็คือ เลือกแร่ธาตุ ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมา 10 ชนิด และตั้งตัวเลข ให้กับแร่แต่ละชนิด โดยเรียงจากความแข็ง โดยหมายเลข 1 ใช้แทนแร่ตัวหนึ่ง ที่มีความแข็งน้อยที่สุด ซึ่งสเกลของโมหส์ จะเรียงลำดับความแข็งของแร่ธาตุจากน้อยไปหามาก ดังนี้ ทาลค์ (1) ยิปซั่ม (2) แคลไซท์ (3) ฟลูออไรท์ (4) อะปาไทท์ (5) ออโธเคลส (6) ควอทซ์ (7) โทปาซ (8) คอรันคัม (9) เพชร (10)

สี

สีสันต่างๆ ของอัญมณี หลากชนิดเกิดขึ้นได้ เพราะมีแสงสีขาว ส่องทะลุผ่านเนื้ออัญมณีแล้ว แร่ธาตุต่างๆ ที่อยู่ในเนื้อของอัญมณี จะดูดกลืนแสงไว้ส่วนหนึ่ง และปล่อยให้แสงผ่านออกมา ส่วนหนึ่ง ซึ่งทำให้เรามอง
เห็นสีของอัญมณี แสงสีขาวที่กำลังพูดถึงอยู่นี้ ประกอบด้วย แสงสี หลายสีมารวมกัน หรือที่เรียกกันว่า สเปคตรัม แต่เรื่องการดูดกลืนแสงสีของวัตถุนั้น นับว่าเป็น เรื่องที่ซับซ้อน โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้อง และขึ้นอยู่กับสารเคมี ตำหนิรอยร้าว และการเรียงตัว ของผลึก ซึ่งทั้งหมดนี้ มีผลต่อการแสดงสีทั้งสิ้นอัญมณีส่วนใหญ่ มีสีได้เพราะปริมาณของแร่ธาตุ และแร่ธาตุที่สำคัญ ที่ส่งผลให้อัญมณีมีสี ได้แก่ โครเมียม เหล็ก แมกกานีส ไททาเนียม และคอปเปอร์
โครเมี่ยม ทำให้ทับทิม มีสีแดงเข้ม และทำให้มรกต กับดีมานทอยด์ การ์เนท มีสีเขียวสุกใส ขณะที่เหล็ก ให้สีแดง น้ำเงิน เขียว และเหลืองในดีมานทอยด์ การ์เนท สปิเนล ไพลิน เพอริโด และคริโซแบเริล ส่วนไพลินสีน้ำเงินกำมะหยี่ ที่มีราคาสูงนั้น สีของมันได้มาจากไททาเนียม กับเหล็ก ส่วนคอปเปอร์ ให้สีฟ้า และเขียว ในเทอร์ควอยซ์ และมาลาไค์ แมงกานิส ก็ให้สีชมพูในโรโดไนท์ และสีส้มในสเปซซาร์ ไทน์ การ์เนท
แม้ว่าแร่ธาตุต่างๆ จะทำให้อัญมณีมีสีสัน ที่แตกต่างกันออกไป แต่แร่ธาตุบางชนิด ในอัญมณี ก็อาจเปลี่ยนสีได้ เมื่อถูกความร้อน ถูกรังสีแกมมา และรังสีเอกซ์ ดังนั้นในวิธีการดูแลรักษาอัญมณี ข้อหนึ่งก็คือ ต้องระวังไม่ให้อัญมณีของคุณ โดนความร้อน หรือรังสีใดๆ นั่นเอง

การตรวจแร่รัตนชาติี

การซื้อขายรัตนชาติเป็นงานที่ยากยิ่งอย่างหนึ่ง เพราะการบอกชนิด การวัดคุณภาพซึ่งใช้สี ความใส และมลทินเป็นหลัก เพื่อตีราคานั้น ไม่มีเครื่องมืออะไรที่จะใช้วัดคุณภาพได้ สีที่เห็นเป็นสัมผัสของตา ตาส่งสัมผัสไปสู่สมอง สมองจะเปรียบเทียบสีที่เห็นนั้น กับสีที่ บันทึกไว้ในสมอง และตัดสินออกมาในที่สุด ผู้ที่มีความสามารถในการกำหนดและตีราคานั้น จะต้องเป็นคนที่มีสายตา และสมองที่มี ความสามารถใน การบอกความแตกต่างที่ละเอียดอ่อนได้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกันไป โดยต้องอาศัยพื้นฐาน ความรู้ทางแร่วิทยา คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางแสง และความคุ้นเคยกับประสบการณ์เป็นตัวช่วย แน่นอนที่สุดการตรวจ รัตนชาตินั้น จะต้องใช้ ประสาทสัมผัสทั้งห้า มีความละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต มีนัยน์ตาที่แหลมคม และมีใจรัก ปัจจุบันเทคโนโลยี และเครื่องมือมีมากมาย ดังนั้นการใช้เครื่องมือ (gem instrument) จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การตรวจ ถูกต้องแม่นยำขึ้น นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีมากขึ้น ก็มีการผลิตรัตนชาติสังเคราะห์ (Synthetic Gem) รัตนชาติเลียนแบบ (Imitation and Simulate) เข้ามาใช้ในวงการ รัตนชาติมากมาย จึงทำให้การตรวจรัตนชาติยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นผู้ตรวจจะมีประสิทธิภาพ ในการตรวจได้ดีต้องมีความชำนาญ ประสบการณ์ผ่านพบรัตนชาติจำนวนมากๆ ทำให้เกิดความคุ้นเคย มีผลให้การตรวจแม่นยำขึ้น
ขั้นตอนการตรวจรัตนชาติ (Procedure in Gem Identification)
ขั้นตอนการตรวจรัตนชาติเป็นขบวนการกำหนด สืบทราบชนิดของรัตนชาติโดยทำการตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ ที่ได้จากการตรวจ สอบ คุณสมบัติต่างๆ อย่างเป็นขั้นตอน แล้วประเมินข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการตรวจสอบ และสรุปว่าควรจะเป็นรัตนชาติชนิดใด โดย กำหนดออก มาเป็น Species และ Varieties ของรัตนชาติที่ทำการตรวจสอบ ซึ่งขบวนการนี้คล้ายคลึงกับการขจัดความสงสัย ของนักสืบ โดยการ ประมวลจากข้อมูลที่สอบสวนมาได้เช่นกัน
ขั้นตอนการตรวจมี 4 ขั้นตอน คือ
-การตรวจโดยอาศัยตาเปล่า (Unaided Eye)
-การตรวจรายละเอียดภายใน โดยอาศัยแว่นขยาย 10X หรือกล้องจุลทรรศน์ (Binocular Microscope)
-การตรวจค่าดัชนีหักเห (Refractive Index) ซึ่งสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อรัตนชาตินั้นมีหน้าขัดมันที่เรียบพอที่จะใช้กับ เครื่องมือวัดดัชนีหักเห (Refractometer) ได้
-การตรวจโดยใช้เครื่องมือทางรัตนชาติอื่นๆ เช่นโพราไลสโคป (Polariscope) ไดโครสโคป (Dichroscope) สเปกโตรสโคป (Spectoscope) เป็นต้น
เมื่อตรวจสอบตัวอย่างตามขบวนการที่กล่าวมาแล้วก็จะสามารถสรุปผลออกมาได้ว่ารัตนชาติที่ทำการตรวจสอบนั้นอยู่ใน Species หรือ Varieties ใดโดยพยายามรวบรวมข้อมูลจากการทดสอบทั้งหมด และพิจารณาว่ารัตนชาตินั้นมีคุณสมบัติต่างๆ ตรงกับ Species และ Varieties ของรัตนชาติใด และจะต้องพยายามใช้ Key Separationg เป็นตัวช่วยตัดสินในกรณีที่คุณสมบัติ ที่ตรวจสอบได้นั้นเข้ากัน ได้กับรัตนชาติถึง 2 Species ตัวอย่างเช่น ทับทิมธรรมชาติและทับทิมสังเคราะห์มีค่าดัชนีหักเห และค่าความถ่วงจำเพาะเท่ากัน ลักษณะ จาก Polariscope เหมือนกัน ดังนั้นกุญแจสำคัญที่ใช้แยก (Key Separation) คือการ ตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์และการเรืองแสง ขั้นตอนการตรวจสอบสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยไม่จำเป็นต้อง เรียงลำดับขั้นตอนการตรวจตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เสมอไป

การเลือกซื้ออัญมณ

เพชร

เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในทุกวันนี้ว่า นอกจากความหายากแล้ว เพชรจัดเป็น รัตนชาติที่มีคุณค่า และราคาสูง เพราะเพชรมีคุณสมบัติดีเด่นหลายประการ เป็นต้นว่า มีความแข็งมากที่สุด มีค่าดัชนีหักเหแสงสูง และมีค่าการกระจายแสงสีสูงอีกด้วย จึงทำให้เพชรที่เจียระไนสวยงามได้สัดส่วนมีประกายวาวเป็นพิเศษ มีการกระจายแสงสี หรือมีไฟสวยงาม เพชรที่มีคุณสมบัติเป็นรัตนชาติ มักจะเกิดเป็นผลึกที่มีความโปร่งใส มีหน้าผลึกครบสมบูรณ์ ผลึกของเพชรจะเกิดจากธาตุคาร์บอนเพียงอย่างเดียว และอาจเกิดได้ในหลายรูปร่างลักษณะ รูปแบบผลึกเพชรที่พบมากที่สุด จะเป็นรูปปิรามิด ฐานสี่เหลี่ยมประกบติดกัน มีแปดหน้า ผลึกรูปแบบอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ รูปคล้ายสี่เหลี่ยมลูกเต๋า และรูปกลมคล้ายตะกร้อ และที่หน้าผลึกเพชร โดยเฉพาะหน้าที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ของแบบ ปิรามิดแปดหน้า มักจะพบลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ เป็นร่องลึก ซ้อนกัน เข้าไปในเนื้อเพชรเล็กน้อย วางตัวในทิศทางกลับ กับสามเหลี่ยม ของหน้าผลึก เรียกว่า ไตรกอน (trigon)ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ในเพชรแท้เท่านั้น เพชรสามารถเกิดขึ้นได้มากมายหลายสี แต่ชนิดที่เป็นที่รู้จักคุ้นเคยมากจะเป็นชนิดสีขาว หรือสีใสไม่มีสี และมักมีสีอื่นปนเล็กน้อย เช่น เหลือง น้ำตาล หรือเทา เพชรที่มีสีเข้มสวยเรียกว่าเพชรสี ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม แต่ว่ามีราคาสูง และหายากมาก เพชรสีได้แก่ เพชรสีชมพูอมแดง เขียว ส้ม เหลืองทอง ฟ้า ม่วง เป็นต้น

การพิจารณาเลือกซื้อเพชร มีหลักเกณฑ์ 4 ประการ
1.มีมลทิน หรือ ตำหนิ เพชรที่ดีจะต้องสดใสไร้มลทิน หรือไร้ตำหนิใดๆ ทั้งสิ้น จัดเป็นเพชรน้ำหนึ่ง แต่ถ้ามีตำหนิที่ผิวเล็กน้อย ซึ่งดูแล้วเห็นว่า จะเจียระไนออกใหม่ได้จัดเป็นระดับ ถ้าไม่ดีมีมลทิน หรือตำหนิเด่นชัดเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า และมีกระทบต่อความคงทน และความสวยงามพชรที่มีรอยแตกเล็กๆ เหมือนเส้นผม กระจายอยู่ทั่วไป จัดเป็นเพชรที่ไม่สมบูรณ์ ถึงแม้ จะมองไม่เห็น ด้วยตาเปล่า ราคาจะถูกลงมาก ส่วนเพชรที่ขุ่นมัว ไม่สุกใส ไม่มีประกาย ก็จัดเป็นเพชรที่มีคุณภาพต่ำ ด้วยราคาของเพชร จะลดหลั่นลงตามคุณภาพ ของมลทิน อย่างไม่สม่ำเสมอ
2.สี ตามสากลนิยม เพชรที่ไร้สี ไม่มีสี (colorless) บริสุทธิ์ ืือเพชรที่จัดว่ามีคุณภาพดีที่สุดแต่ความสามารถในการดูสี ความแหลมคมของสายตา และประสาทที่สัมผัสสีของแต่ละคน จะแตกต่างกัน สีของเพชรมีความสำคัญในการประเมิน คุณค่ารองลงมาจากมลทิน เนื่องจากเพชรที่ไร้ส ีกับเพชรที่มีสีปนเล็กน้อย จะแยกออกจากกันได้ด้วยตาเปล่าได้ยากมาก จะต้องมีมาตรฐานสีมาเปรียบเทียบ จึงจะมองเห็นความแตกต่างได้ เพชรที่ไร้สีบริสุทธิ์ แต่มีมลทินที่เห็นได้ชัดจะมีราคาถูกกว่าเพชรที่ไม่ไร้สีทีเดียว หรือน้ำไม่ขาวสนิทแต่สดใสไร้มลทิน
3.การเจียระไน มีความสำคัญมาก เพราะถ้าเจียระไนดีจะนำเอาความสวยงามของเพชรออกมาให้เห็นเด่นชัด คนทั่วไปมักจะมองข้ามการเจียระไน แต่มุ่งความสนใจไปที่มลทิน และสี ความสวยงามของเพชรจะสมบูรณ์ต่อเมื่อเพชรนั้นมีการกระจายแสงที่ดี หรือที่เรียกว่า มีไฟดี มีความสุกใสสดใส มีประกายแวววับเข้าสู่ตา คุณสมบัติเหล่านี้จะพร้อมมูลต่อเมื่อเพชรนั้นมีการเจียระไนได้ถูกต้อง ได้สัดส่วน มีฝีมือประณีตเรียบร้อย ปัจจุบันเพชรจะมีการเจียระไน 58 เหลี่ยม ที่เรียกว่าเหลี่ยมเกสร หรือเรียกว่า brilliant cut ส่วนเหลี่ยมกุหลาบ หรือเรียกว่า single cut จะเจียระไน 36 เหลี่ยม แต่ไม่ค่อยมีไฟ และความสุกใสประกายวาวเท่าที่ควร ปัจจุบันมีการเจียระไนที่เรียกว่า russian cut ซึ่งก็คือเพชร ที่เจียระไน 58 เหลี่ยมนั้นเอง แต่สัดส่วนของการเจียระไนได้สัดส่วน มีขนาดโต๊ะ ขนาดบ่า ขนาดความลึกของก้น ตามสัดส่วนที่ได้วางมาตรฐานไว้ว่าจะให้ไฟ ความสุกใสประกายสวยงามที่สุด รวมทั้งความปราณีตของแต่ละหน้าแต่ละเหลี่ยมคมชัดสวยงาม เพชรที่เจียระไนแบบนี้จะมีราคาค่อนข้างแพง
4.น้ำหนัก เพชรจะมีราคาแพงตามขนาดและจะมีค่าสูงตั้งแต่ 1 กะรัตขึ้นไปและค่าจะสูงมากขึ้นตั้งแต่ 5 กะรัตขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวประกอบ สี มลทิน การเจียระไนด้วย

ทับทิม
เป็นแร่คอรันดัมชนิดหนึ่ง ที่มีสีแดง และมีคุณค่ามีราคาสูง คอรันดัม ประกอบขึ้นด้วยธาตุอะลูมิเนียม และออกซิเจน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในหินหลายชนิด หลายบริเวณทั่วโลก แต่สำหรับผลึกแร่ทับทิมชนิดที่มีความโปร่งใส สีสวยงาม ที่ให้ระดับคุณภาพรัตนชาติ จะหาได้ยากมาก ดังนั้นทับทิมสีสวย คุณภาพชั้นหนึ่ง ก็จะมีราคาสูง ทับทิมจะพบอยู่ในแหล่งสะสมตัว แบบทุติยภูมิ มากกว่าในแหล่ง แบบปฐมภูมิ เนื่องจากหินต้นกำเนิดผุพังสึกกร่อน และผลึกทับทิม ถูกพัดพามาสะสมตัว ในชั้นกะสะ ชั้นกรวดทรายต่างๆ และส่วนมากจะยังคงรูปร่าง ลักษณะของรูปผลึกเดิม อยู่เนื่องจากมีความแข็งสูง (รองจากเพชร) และมีความต้านทาน คงทนต่อปฏิกิริยา ทางเคมีต่างๆ ได้ดี หรืออาจจะพบได้ในลักษณะของกรวดกลมมนก็ได้ ผลึกทับทิม ที่พบในธรรมชาติ มักจะมีผิวด้าน มีความวาวมันเล็กน้อย แต่หลังจากทำการเจียระไน ขัดมันแล้ว จะมีสี และความแวววาวสวยงาม ไม่เป็นรองเพชรเลย

การพิจารณาเลือกซื้อทับทิม
1.สี เป็นหลักสำคัญ เนื่องจากบุคคลแต่ละคน มีความนิยมชมชอบสีแตกต่างกันไป บ้างชอบสีเข้ม บ้างชอบสีอ่อน บ้างชอบสีสด บ้างชอบสีขรีม บ้างชอบสีหวาน เปรียบเหมือนกับ การเลือกซื้อผ้าตัดเสื้อนั้นแหละ ขึ้นอยู่กับรสนิยมของแต่ละคน แต่สีของทับทิม ที่จัดว่ามีราคาคุณค่าสูง ก็คือ สีแดงบริสุทธิ์ หรืออาจจะเป็นสีแดงที่มีม่วงปนน้อยมาก และจะต้องเป็นสีแดง ที่มีความเข้มสูงคือ แดงโชติช่วง ต้องไม่เป็นสีแดงคล้ำมองดูดำ ถ้าแดงมีส้มปน ราคาจะตกลง และราคาจะตกลงไปอีก ถ้ามีสีม่วงปนมาก ทับทิมสีที่ราคา ถูกที่สุด คือแดงอมน้ำตาล หรือแดงดำคล้ำ โทนสีของทับทิมที่ดี คือสว่างปานกลาง หรือมืดปานกลาง ไม่ดำมืด หรือสว่างจนเกินไป และมีเข้มของสีแดงสูง ราคาจะลดลง ถ้าสีในทับทิมไม่สม่ำเสมอ
2.,มลทิน ตำหนิ จะหาทับทิมที่ใสไร้มลทินเลย ย่อมยาก ส่วนใหญ่แล้วจะมีรอยแตก ร่องรอยขุ่นมัว พร่า ฝ้า และมลทินแร่ชนิดอื่นๆ หรือมลทินของไหลพบอยู่เสมอและอาจจะมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า ถึงแม้ทับทิมที่มองดูใสไร้มลทินด้วยตาเปล่าเมื่อใช้แว่นขยาย 10 เท่าส่องดู ก็จะมองเห็น มลทินเสมอ ทับทิมที่มีมลทินเล็กน้อย แต่สีสวยมาก จะมีราคามากกว่า ทับทิมที่ค่อนข้างใส แต่ไม่สวย
3.การเจียระไน มีความสำคัญต่อความสวยงามมาก หากเจียระไนโดยมีส่วนก้นพลอยลึกเกินไป จะทำให้ทับทิมดูมืดทึบ หากก้นพลอยตื้นเกินไป จะทำให้แสงรั่วออก หรือส่องผ่านก้นพลอยขึ้นมา ทำให้ไม่มีน้ำ ไฟ ประกาย การเจียระไนที่ไม่ดี มีผลต่อสี ความแวววาว และราคาอีกด้วย นอกจากนี้ ให้ดูฝีมือการเจียระไนด้วยว่า เรียบร้อยขนาดไหน เหลี่ยมคมชัดหรือไม่ นอกจากนี้ การเจียระไนทับทิม ให้มีสัดส่วนถูกต้อง ยังไม่เพียงพอ ที่จะดึงเอาความสวยงามออกมาให้เห็นเด่นชัดจุดใหญ่ที่จะต้องระวังก็คือ ให้มีการวางตัวของโต๊ะหน้าของพลอยให้ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ได้พลอยสีสวยที่สุด ในทับทิมนั้น มีการหักเหของแสง สองทิศทาง ให้สีต่างกันคือ แดง - ม่วง และ แดง - ส้ม เนื่องจากสีแดง มีม่วงปน เล็กน้อยคือ สีที่ดีที่ต้องการที่สุด ดังนั้น จะต้องเจียระไน ให้ทางด้านหน้า ของทับทิมให้สี แดง - ม่วง ปรากฏ ส่วนสีแดง - ส้มจะปรากฏในทิศทางด้านข้างซึ่งมองไม่เห็น ถ้าทับทิมสีสวย มลทินน้อย ขนาดใหญ่ แต่การเจียระไนไม่ดีก็ควรจะยอมเสียน้ำหนักเจียระไนใหม่ เพราะถึงจะได้ทับทิมเม็ดขนาดเล็กลง แต่ก็จะได้ราคาดีกว่าเม็ดใหญ่ซึ่งไม่สวย จำไว้ว่าความงดงามของทับทิมจะไม่ปรากฏให้เห็นหาก ไม่มีการเจียระไนที่ดี

ไข่มุก
ไข่มุกเกิดจากหอยมุกโดยตัวหอยจะสร้างวัสดุที่มีส่วนประกอบเป็นแร่แคลเซียมคาร์บอเนต ซึ่งมีลักษณะเป็นชั้นๆ เรียกว่า เนเคอร์ (Nacre) และมีความวาวเหมือนมุก เกิดหุ้มล้อมรอบวัตถุใดๆ เช่น กรวดทราย เศษหิน ฯลฯ ที่พัดหลง หรือถูกใส่เข้าไปในหอยแล้วทำให้เกิดความระคายเคือง ชั้นของเนเคอร์จะค่อยๆ สะสมตัวมากขึ้น จนเป็นไข่มุก ยิ่งชั้นเนเคอร์มีความหนามากขึ้นเท่าใด คุณภาพของไข่มุกจะดีมากขึ้นเท่านั้น ไข่มุกมี 3 ประเภทคือ ไข่มุกธรรมชาติ (Natural pearl) ไข่มุกเลี้ยง (Cultured pearl) และไข่มุกเทียม (pearl imitation) ไข่มุกธรรมชาติ และไข่มุกเลี้ยง จัดเป็นไข่มุกแท้ด้วยกันทั้งคู่ ต่างกันที่เกิดมาตามธรรมชาติ หรือเกิดโดยคนช่วยให้เกิด มีคุณสมบัติต่างกันเล็กน้อย เช่น ไข่มุกเลี้ยงมีความถ่วงจำเพาะ มากกว่าไข่มุกธรรมชาติเล็กน้อย ไข่มุกมีได้หลายสี โดยทั่วไปจัดแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ขาว ดำ และสีแฟนซีต่างๆ เช่น แดง เหลือง ชมพู ม่วง ฟ้า เขียว เป็นต้น ไข่มุกธรรมชาติ และไข่มุกเลี้ยงที่มีคุณภาพดี จะมีสีเรียบ บริสุทธิ์ ขาวดั่งเงินยวง (silverly white) ชนิดสีขาวที่มีประกายเหลือบชมพู และชนิดสีดำที่มีประกายเหลือบสีเขียว เป็นที่นิยม และมีราคาแพง นอกจากนี้ยังต้องมีความวาวสูง มีความโปร่งแสงแบบกึ่งโปร่งแสง เนื้อมุกไม่มีตำหนิ มีรูปร่างกลม (นิยมมาก) มีขนาดโตพอสมควร (ขนาดโตหายาก ราคาแพง) และจะต้องมีชั้นเนเคอร์ (nacre) หนา
การพิจารณาเลือกซื้อไข่มุก
1. สี สีควรสะอาด เรียบเสมอ ไม่สกปรก มอซอ2. ประกายความวาว มีความวาวแบบมุก (pearly luster) สม่ำเสมอทั้งเม็ด3. ความโปร่ง กึ่งโปร่งแสงดีที่สุด ใสมากไปไม่ดี4. เนื้อมีตำหนิน้อยที่สุด เช่น รอยขูดขีด รอยแตกร้าว มีผิวเรียบเนียนเสมอตลอดทั้งเม็ด5. รูปร่าง ทรงกลมเป็นที่นิยมมาก รองลงมาเป็นรูปไข่ และหยดน้ำตา (อาจจะหายาก และแพงกว่าทรงกลม)6. ขนาด ขนาดใหญ่ราคาสูง ควรเลือกที่มีขนาดพอดี ที่สามารถเลือกได้หลายเม็ด ที่มีขนาดเท่าๆ กัน สำหรับจัดเข้าเป็นชุดทำต่างหู หรือสร้อยได้ สำหรับสร้อยมุกควรจะมีรูปทรง สี และขนาดที่เหมาะสมกลมกลืนเข้ากันได้ดี เช่น มีสีครีมประกายเหลือบชมพูเหมือนกัน รูปทรงกลมขนาดเท่ากันทุกเม็ด เป็นต้น รูที่เจาะสำหรับเชื่อมต่อกันด้วยเส้นใยต่างๆ ควรจะมีขนาดเล็กเรียบเสมอกันตลอดทุกเม็ดเช่นกัน7. ราคา ราคาไข่มุกขึ้นอยู่กับ ขนาด รูปร่าง สี ความเหมาะสมพอดีที่จะจัดเข้าคู่กัน อาจจะซื้อขายเป็นน้ำหนัก หรือขนาดก็ได้

การดูแลรักษา
เนื่องจากไข่มุกเป็นสารอินทรีย์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต ดังนั้นจึงควรนำไข่มุกให้ห่างไกลจาก สารเคมี กรด เครื่องสำอางค์ต่างๆ น้ำหอม เพราะจะทำให้สี และประกายหมอง ลดความสวยงามลงไปได้ นอกจากนี้ควรจะแยกเก็บไข่มุกไว้ต่างหาก จากเครื่องประดับรัตนชาติชนิดอื่น เพราะไข่มุกมีความแข็งไม่มาก อาจจะทำให้เกิดรอยขูดข่วน แตกร้าวได้ ควรเช็ดไข่มุกด้วยผ้าอ่อนนุ่ม หรือผ้าชุบน้ำมัน เพื่อเพิ่มความสวยงาม และอย่าวางไข่มุกใกล้บริเวณที่มีอุณหภูมิ หรือความร้อนสูงอาจจะทำให้สีเปลี่ยน หมองลง หรือแตกร้าวได้

บุษราคัม
เป็นพลอยแซปไฟร์ที่เป็นที่นิยมเช่นกัน หากสีสวย มีประกายแวววาวดี ใสสะอาดไร้มลทิน (โดยปกติบุษราคัม จัดเป็นแซปไฟร์ ที่มีมลทินน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับไพลิน และทับทิม) ก็จะมีราคาสูงเท่าๆ กับไพลิน หรืออาจสูงกว่า เสียอีก เนื่องจากค่อนข้างจะหาสวยได้ยากกว่าไพลิน สีที่สวยของบุษราคัม คือ สีเหลืองสดใส ไม่มีสีน้ำตาล ส้ม เขียวปน มีโทนสีมืด - สว่างปานกลาง ความเข้ม ของสีเหลืองไม่อ่อนมาก ส่วนใหญ่พลอยบุษราคัมจากจันทบุรี มักจะมีสีน้ำตาลปน ทำให้ได้พลอยสีเหลือง เหล้าแม่โขง ซึ่งเป็นสีที่นิยมในหมู่คนไทย จึงทำให้ มีราคาแพง สำหรับพลอยบุษราคัมสีเหลืองอมส้ม มักจะพลอยจากศรีลังกา โดยได้จาก การนำพลอยก้อนสีขาวขุ่นมีจุดเหลืองมาเผา จนได้พลอยใสสีเหลืองอมส้ม บางที ก็อมน้ำตาล บางทีก็ได้สีเหลืองทอง ซึ่งราคาแพงเหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีพลอยบุษราคัมศรีลังกา ส่วนที่เผาไม่ออก คือไม่ได้สีเหลืองสวย แต่ได้เป็นสีขาวใส หรือขาวมีเหลืองปนนิดหน่อย ซึ่งมีการนำเอาพลอยส่วนนี้ ไปอาบรังสี เพื่อให้มีสีเข้มขึ้น แต่สีเหล่านี้จะไม่คงทนถาวรวิธีแยกระหว่างพลอยซีลอนเผาออกได้สีเหลืองสวยงาม กับพลอยซีลอนอาบรังสี ทำได้โดยใช้ไฟ 100 วัตต์ ส่องที่พลอย ระยะห่าง ประมาณ 1 นิ้ว เวลาประมาณ 15 นาที ถ้าเป็นพลอยซีลอนเผา สีของพลอยจะเข้มขึ้น เป็นสีน้ำตาลเข้ม และจะกลับเป็นสีเดิม เมื่อปล่อย ให้เย็นลง ส่วนพลอยบุษราคัมสีเหลืองอาบรังสี สีจะจางลงจนซีด แต่ถ้าเป็นพลอยบุษราคัมเผา / ไม่เผา ของจันทบุรี และออสเตรเลีย จะไม่มีผลกระทบเลย
นอกจากนี้ ให้ระวังพลอยสังเคราะห์ เพราะจัดว่าตรวจดูยาก เนื่องจากพลอยบุษราคัมแท้ ก็จะไม่ค่อยมีมลทิน เด่นชัด แต่ก็สามารถพลิกค้นหา มลทินได้ ส่วนพลอยบุษราคัมสังเคราะห์ ก็จะใส ไร้มลทิน จะมองเห็นเส้นโค้งซึ่งหายาก อยู่ในเนื้อพลอย แต่เหลี่ยมพลอยจะไม่คมชัด เหมือนของแท้ ดังนั้น ถ้าไม่แน่ใจ ส่งให้ผู้ชำนาญตรวจดูก่อน ราคาของพลอยบุษราคัม ถ้าเป็นพลอยจากจันทบุรีสีสวย ราคาก็จะแพงกว่าพลอยบุษราคัมซีลอนเท่าตัว

ไพลิน
ไพลิน คอรันคัมทุกสี ยกเว้นสีแดง จะเรียกว่าแซปไฟร์ สีต่างๆ ของแซปไฟร์ สามารถ นำมาใช้เรียกเป็นชื่อชนิดอื่นได้ เช่น แซปไฟร์สีเหลือง (บุษราคัม) แซปไฟร์สีเขียว (เขียวส่อง เขียวมรกต) แซปไฟร์สีน้ำเงิน (ไพลิน) แซปไฟร์สีส้มอมชมพู (แพดพาแรดชา) เป็นต้น สีต่างๆ ของแซปไฟร์เกิดจากธาตุชนิดต่างๆ สีน้ำเงินของไพลิน เกิดจากธาตุเหล็ก และไททาเนียม สีของไพลิน ที่ถือว่าสวยงาม ที่สุดคือ สีน้ำเงินเข้มสด และมีสีม่วงอมเล็กน้อย มีความมืดสว่างปานกลาง ไพลินจัดเป็น แซปไฟร์ ที่ได้รับความนิยมมาก ทำให้ค่อนข้างมีราคาสูง รองลงมาเป็นบุษราคัม เขียวส่อง ส่วนชนิดแซปไฟร์สีอื่นๆ จัดเป็นรัตนชาติสำหรับการสะสมก็ว่าได้ แต่ก็หาไม่ได้ง่ายนัก และอาจมีราคาแพงได้เช่นกัน เช่น แพดพาแรดชา แซปไฟร์ สีม่วง สีชมพู เป็นต้น
การพิจารณาเลือกซื้อไพลิน
1.สีเป็นสิ่งสำคัญ ไพลินที่มีสีสวยที่สุดคือ สีน้ำเงินอมม่วง เล็กน้อย โทนสีไม่มืดมาก ปานกลาง มีเนื้อกำมะหยี่ มีความสุกใส มีประกายแวววาวดี ควรดูความสม่ำเสมอของสีด้วย สีที่ไม่สม่ำเสมอในเนื้อพลอย จะทำให้ราคาตกลง ไพลิน ที่มีโทนสีมืด สีมีความเข้มมากเกินไปจนมองดูดำมืด และไพลินที่มีโทนสีสว่างอ่อนเกินไป จะสวยน้อย และมีราคาไม่แพง ดังนั้น ถ้ามีเงินไม่มากนัก ควรเลือกไพลินโทนสี ค่อนข้างสว่าง ความเข้มของสีกำลังดี เพราะราคาจะถูกลง แถมยังทำให้มองดูสวย ภายใต้แสงไฟ เนื่องจากมีความสุกใสกว่าไพลินที่มีโทนสีมืดคล้ำ แต่อย่าเลือกไพลิน โทนสีสว่างโล่งเกินไป หรือความเข้มของสีน้อยเกินไป เพราะจะมองดูไม่สวยสง่า เหมือนไพลินที่มีความเข้มของสีมากกว่า กล่าวคือให้มีความเข้มของสีน้ำเงินอยู่ และมีโทนสีสว่างบ้าง มิใช่เป็นสีน้ำเงินอ่อน จนเป็นสีฟ้า แถมมีโทนสีสว่างด้วย
2.มลทิน ตำหนิ ไพลินที่มีมลทินอยู่ภายในเนื้อ เป็นข้อบ่งชี้ว่าเป็นของธรรมชาติ แต่ต้องดูแยกให้ออก ว่าเป็นมลทินธรรมชาติ หรือมลทินสังเคราะห์ (ทำขึ้น) การดูมลทิน มักจะต้องใช้แว่นขยาย 10 เท่าขึ้นไป หรือกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งผู้ชำนาญเท่านั้น จึงจะสามารถแยกออกจากกันได้ ว่าเป็นมลทิน ธรรมชาติ หรือมลทินสังเคราะห์ ไพลินธรรมชาติที่ใส สะอาดไร้มลทิน จะหาได้ยากมาก
3.การเจียระไน เจียระไนโดยให้โต๊ะหน้าพลอย วางตัวในทิศทาง ที่จะให้สีน้ำเงินอมม่วง หรือน้ำเงิน ไม่ใช่น้ำเงินอมเขียว รูปร่างของ หน้าพลอย ถ้าเป็นกลม ก็กลมสวย ไม่เบี้ยว ถ้าเป็นทรงไข่ก็ไข่สวย ไม่บิดเบี้ยว มีความสมมาตร มีขอบพลอยขนาดพอดี และมีขนาดก้นพลอย ไม่ยาว หรือสั้นจนเกินไป และฝีมือประณีตในการเจียระไน จะดูได้จาก ลักษณะเหลี่ยมคม ของแต่ละหน้านั้น มีความคมชัดเรียบสวยงาม ไม่แตก ขรุขระ แต่ละหน้าเหลี่ยมพลอย มีรูปร่างดี ไม่บิดเบี้ยวแตกต่างกัน ความสวยงาม ของไพลินจะลดน้อยลงมาก ถ้าขาดการเจียระไนที่ดี

มรกต
มรกต เป็นรัตนชาติอีกชนิดหนึ่ง ที่มีคุณค่าราคาสูง และหาได้ยาก เช่นเดียวกัน กับรัตนชาติ มีค่าสูงอื่น ๆ สีเขียวเข้มสด ของมรกต ยากที่จะหาสีเขียว ของรัตนชาติ อื่นใดเทียบได้ และจะเรียกว่าสีเขียวมรกต มรกตอาจมีความมืด - สว่าง แตกต่างกันไป แต่ไม่ควรมี สีเขียวอ่อน ถ้ามรกตมีสีเขียวอ่อน ก็ไม่ควรจะเรียกว่ามรกต ชนิดที่มีสีเขียวอ่อนนั้น สีเกิดจากธาตุเหล็ก แต่สีเขียวที่เข้มสด ของมรกตเกิดจาก ธาตุโครเมียม หรือวาเนเดียม หรือจากทั้งสองธาตุอยู่ในโครงสร้างของผลึก มรกต คุณภาพดี ชนิดที่มีสีเขียวเข้มสวยสด ไม่มีสีเหลือง หรือสีน้ำเงินปน และปราศจากตำหนิ มลทินใด ๆ อาจจะมีราคาสูงถึงหลายหมื่นบาทต่อกะรัต อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามรกต จะมีคุณภาพดี สีสวยเท่าใด มักจะมีตำหนิมลทินเกิดอยู่ในเนื้อเสมอ ซึ่งเป็นลักษณะ ตามธรรมชาติของมรกต ตำหนิมลทินต่าง ๆ อาจจะมีมากหรือน้อย มองเห็นได้ยาก หรือง่ายก็ได้ และมรกตมักจะมีความเปราะ แตกหักได้ง่าย ไม่คงทนต่อแรงกระเทก ความร้อน หรือสารเคมีต่าง ๆดังนั้น จะต้องระมัดระวังรักษา ดูแลเป็นพิเศษ มรกตเป็นแร่ที่อยู่ในกลุ่มแร่เบริล แต่มีลักษณะกำเนิด ที่แตกต่างจากแร่เบริลชนิดอื่น ๆ มรกต มักจะพบเกิดอยู่ในหินแปร ซึ่งจะมีบริเวณจำกัด ต่อการเกิดของผลึกแร่ จนมีผลต่อขนาด และความหายากของมรกต แต่แร่เบริลโดยทั่วไป มักจะพบเกิดอยู่ในสายแร่เพกมาไทด์ ซึ่งจะให้ผลึกแร่มี่มีขนาดใหญ่กว่า และมีปริมาณมากกว่า มรกต มักจะพบอยู่ในหินต้นกำเนิด หรือแหล่งแบบปฐมภูมิมากกว่า แหล่งแบบลานแร่สะสมตัว เนื่องจากมรกตมีความเปราะนั่นเอง จึงมักจะถูกทำลาย ได้ง่าย ก่อนที่จะถูกพัดพา ไปสะสมตัวในแหล่งไกล ๆ

การพิจารณาเลือกซื้อมรกต
1.สี เป็นหลักสำคัญ เหมือนพลอยชนิดอื่น สีที่ว่ากันว่า เป็นยอดคือ สีเขียวเข้มปานกลาง ถึงเขียวเข้มสดใสบริสุทธิ์ มีเหลือบเหลือง หรือน้ำเงิน เพียงเล็กน้อย และมีประกายที่ดูเหมือน มีความอ่อนนุ่มนวล เหมือนกำมะหยี่ และถ้าสี มีการกระจาย ราบเรียบ เสมอตลอดเม็ด มีมลทินน้อยมาก ก็จัดเป็น ยอดมรกตเลยทีเดียว แต่ที่กล่าวมานี้ หาได้ยากยิ่งกว่ายากเสียอีก ถ้ามี แล้วละก็ อาจจะมีราคาแพงกว่าเพชร ในชั้นคุณภาพ และขนาดเดียวกัน ลักษณะสีที่เขียวสดใส และมีประกายอ่อนนุ่ม เหมือนกำมะหยี่ ของมรกต ชั้นดี จะเพิ่มคุณค่า และราคาให้มรกตนั้นมากมาย ต่างกับรัตนชาติอื่น ที่ถึงแม้จะมีสีเขียว และมีความอ่อนนุ่มเช่นกัน ราคาของมันก็ไม่เพิ่ม ได้มากมาย เหมือนมรกต
2.ความโปร่ง ความเป็นประกายสว่างสุกใสของมรกต โดยทั่วไป จะมีน้อย เมื่อเปรียบกับ รัตนชาติชนิดอื่น ๆ เช่น เพชร ทับทิม ไพลิน แต่ถ้ามรกตมีความโปร่งใสมากขึ้น ย่อมส่ง ผลให้ความมีประกายสดใสมีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ดูมีสีสันมีชีวิตชีวามากขึ้น พวกที่มีความ โปร่งใสน้อย หรือโปร่งแสงจะทำให้สีดูทึมทึบ แต่ถ้าต้องเลือกเอาระหว่างสีที่ดี กับความ โปร่งสูง ควรจะเลือกเอาสีที่ดีไว้ก่อน
3.มลทิน ตำหนิ โดยทั่วไปแล้ว มรกตมักจะมีตำหนิ และมลทินอยู่เสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างมาให้ โดยเฉพาะกับมรกต มีมากกว่าทับทิม และไพลินเสียอีก ดังนั้นมรกตชั้นดีสีสวยไร้มลทินจะหายากมาก ซึ่งราคาจะสูง ตามความหายาก การเลือกดู มรกตสีสวยควรจะพิจารณาดูมลทินต่าง ๆ ซึ่งจะมีมากด้วยโดยดูว่ามลทินเหล่านั้น จะมีผลกระทบต่อความคงทน หรือความสวยงามของมรกตสีสวยที่ถูกใจนั้นหรือไม
4.การเจียระไน จัดเป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อเช่นกัน การเจียระไนเหลี่ยมมรกต ค่อนข้างจะทำได้ยาก ที่จะให้มีสัดส่วน สวยงาม สมดุล ซึ่งจะมีผลส่งให้มรกต มีประกาย สวยสดงดงาม ดังนั้น ควรจะพิจารณาอย่างละเอียด ดูความสมดุล สมบูรณ์ของหน้าเหลี่ยม เจียระไนต่าง ๆ ว่ามีความพอดี ลึก ตื้น สั้น ยาว เพียงใด ให้สีประกายออกมามากเท่าใด

หยก
หยก จัดเป็นรัตนชาติที่มีราคาสูงเช่นกัน ในทางการค้าโดยทั่วไป มักจะเรียกรัตนชาติ ที่มีสีเขียวว่า หยก แต่ที่จัดว่าเป็นหยกจริง มีคุณภาพราคาสูงคือ หยกชนิดเจไดต์ (Jadeite) และหยกชนิดเนไฟรต์ (Nephrite) ซึ่งมีราคาไม่แพง และมีสี ไม่เหมือนกับหยกชนิดเจไดต์ ส่วนแร่อื่นๆ เช่น ควอรตซ์สีเขียว แก้วสีเขียว เป็นต้น จะไม่เรียกว่าหยก ดังนั้น หยก ควรจะหมายถึงแร่เจไดต์ และเนไฟรต์เท่านั้น รัตนชาติสีเขียวอื่นๆ ที่เรียกว่าหยกนั้น ถือว่าเป็นการเรียกชื่อที่ไม่ถูกต้อง (misnomer) ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะ หยกเจไดต์ ซึ่งเป็นที่นิยม มีคุณภาพ และมีราคา แพงกว่าหยกเนไฟรต

การพิจารณาเลือกซื้อหยก
1.สี สำหรับในพวกที่มีสีเขียวต่างๆ ที่จัดว่าคุณภาพดี เช่น เขียวมรกต เขียวแอปเบิ้ล เขียวอมเหลือง เขียวอมเทา เป็นต้น ความเข้มของสี ควรจะมีระดับปานกลาง หรือกึ่งเข้ม ไม่จาง หรือมืดเกินไป หรือด้านหม่นหมอง ควรมีความกลมกลืน กระจายสม่ำเสมอ สีราบเรียบ ตลอดทั่วเนื้อหยก ไม่มีจุดรอยด่างของสี เป็นบริเวณ ส่วนหยกสีอื่นๆ ก็พิจารณา ทำนองเดียวกัน เรื่องของสี จัดเป็นข้อพิจารณาสำคัญในการเลือกซื้อ ต่อรองราคา กำหนด ราคาหยก
2.ความโปร่ง เนื้อหยก ที่มีความโปร่ง เป็นที่นิยม ได้แก่ โปร่งแสง กึ่งโปร่งแสง โปร่งใส ซึ่งเป็นการพิจารณา เกี่ยวกับการที่สามารถ มองเห็นเนื้อในหยกได้ชัดเจน มากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการที่แสง จะสามารถส่องทะลุผ่านได้มากน้อย เท่าใดนั่นเอง ควรเลือกซื้อหยก ที่มีความโปร่งมากกว่า ในกรณีที่หยกมีสีเดียวกันเหมือนกัน แต่สำหรับหยก ที่มีสีสดสวย แต่ไม่ค่อยโปร่ง กับหยกที่มีความโปร่งสูง แต่มีสีไม่ค่อยสวย เราควรเลือกซื้อ หยกชนิดที่มีสีสวยกว่า
3.เนื้อแร่ หมายถึง ความละเอียด หรือความหยาบของแร่ ที่เกาะประสานกัน ในเนื้อหยก ควรจะเลือกหยก ที่มีเนื้อแร่ละเอียด มากกว่า เพราะจะมีความโปร่งมากกว่า หยกที่มีเนื้อแร่หยาบ ลักษณะเนื้อแร่ กับความโปร่ง มักจะไปด้วยกัน กล่าวคือ หยกที่มีเนื้อแร่ผลึกเล็กละเอียด ประสานกันแน่น มักจะทำให้เกิดมีความโปร่งมาก หยกที่มีเนื้อแร่ผลึกใหญ่ หยาบ มีการประสานไม่ค่อยดี ก็มักจะไม่ค่อยโปร่งเป็นต้น
4.ความวาว เลือกหยกที่มีความวาว เหมือนไข เหมือนน้ำมัน มีความนุ่มนวล เหมือนปุยนุ่น ซึ่งเป็นลักษณะโดยทั่วไป ของหยกเนื้อละเอียด มีความโปร่ง ถ้าพบหยกที่มีความวาวเหมือนแก้วก็จะยิ่งดี เพราะหมายถึงหยกคุณภาพดี เนื้อละเอียด มีความโปร่งสูง (ค่อนข้างหายาก)
5.ตำหนิ มลทิน ไม่ควรเลือกซื้อหยก ที่มีตำหนิต่างๆ เช่น ลักษณะรอยแตก รอยขูดร้าว รอยปะ รอยขีดข่วนต่างๆ ลักษณะจุดสี หย่อมสี รอยด่างของสี (ขาว หรือดำ) เป็นต้น กล่าวคือ เลือกหยกที่มีตำหนิดังกล่าวน้อยที่สุด ขนาดเล็กที่สุด นั่นเอง หยกที่ตำหนิมลทินต่างๆ มาก จะทำให้ความสวยงามลดลงเช่นกัน
6.การเจียระไน ค วรพิจารณาดูความกลมกลืน ความสมบูรณ์ของรูปแบบ สัดส่วน ความสมดุล ความมีเอกภาพของรูปแบบ ซึ่งอาจจะขึ้นกับรสนิยมทางศิลปะของแต่ละคน แต่ละยุคสมัยด้วย

ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

พระราชบัญญัติ
ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หน้า ๒
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ธุรกิจนำเที่ยว” หมายความว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง“นักท่องเที่ยว” หมายความว่า ผู้เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาหาความรู้ การบันเทิง หรือการอื่นใด“มัคคุเทศก์” หมายความว่า ผู้ให้บริการเป็นปกติธุระในการนำนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆโดยให้บริการเกี่ยวกับคำแนะนำและความรู้ด้านต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว“ผู้นำเที่ยว” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดูแลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ“ค่าบริการ” หมายความว่า ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวจ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว สำหรับการจัด การให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทางสถานที่พัก อาหาร หรือการอื่นใด“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์“กองทุน” หมายความว่า กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลางหรือนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขา แล้วแต่กรณี“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หน้า ๓
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๖ พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์
หมวด ๑
คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงานผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนเจ็ดคน เป็นกรรมการ ให้นายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์สอนในสถาบันอุดมศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีในวิชาการท่องเที่ยวหนึ่งคนและวิชามัคคุเทศก์หนึ่งคนกรรมการผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยห้าคนตามวรรคสอง จะเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือไม่ก็ได้ โดยอย่างน้อยให้แต่งตั้งจากผู้แทนผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวสองคนและผู้แทนมัคคุเทศก์สองคน
มาตรา ๘ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
หน้า ๔
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่
มาตรา ๙ การพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระของกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะสั่งให้กรรมการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งเมื่อบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถก็ได้
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำ แหน่งก่อนครบวาระให้กรรมการซึ่งเหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กรรมการนั้นว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๑ การประชุม การดำเนินการประชุม หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดแผนงานและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
(๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมาตรฐาน
การปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวที่จะพึงปฏิบัติต่อนักท่องเที่ยว และความรับผิดชอบที่มีต่อนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตลอดจนค่าตอบแทนหรือความคุ้มครองที่มัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวจะพึงได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๔) ประกาศกำหนดเขตพื้นที่ในท้องถิ่นหรือชุมชนใดเพื่อให้มัคคุเทศก์ซึ่งได้รับการยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๕๑ ทำหน้าที่มัคคุเทศก์ รวมทั้งกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการเปิดบัญชีเงินฝากและการเบิกจ่ายจากบัญชีเงินฝากสำหรับหลักประกันที่เป็นเงินสดตามมาตรา ๑๘ รวมทั้งการคืนหลักประกันตามมาตรา ๓๙

หน้า ๕
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(๖) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๐
(๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินชดเชยให้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๑
(๘) พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษาและการบริหารเงินและทรัพย์สินของกองทุนตามมาตรา ๗๑
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
มาตรา ๑๓ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการจะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่มอบหมายก็ได้การประชุมและการลงมติของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
หมวด ๒
ธุรกิจนำเที่ยว

มาตรา ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากนายทะเบียนการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
หน้า ๖
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
มาตรา ๑๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาต้อง
(๑) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) มีสัญชาติไทย
(ค) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
(๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
(ข) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(ค) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(ง) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๑) (๒) (๓)
หรือ (๔) หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) และยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(จ) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๕)หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๕)
(ฉ) เคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวมาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๑๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งเป็นนิติบุคคลต้อง
(๑) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยถ้าเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
(ข) กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
หน้า ๗
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ค) (ง) หรือ (จ)
(ข) มีผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ค) (ง) หรือ (จ)หรือซึ่งพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม (๒) (ก) มาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ค) มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินร้อยละห้ามีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ค) (ง)หรือ (จ) หรือซึ่งพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม
(๒) (ก) มาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวความใน (๒) (ข) และ (ค) ไม่นำมาใช้บังคับกับผู้ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการกระทำของนิติบุคคล
ที่เป็นเหตุให้มีลักษณะต้องห้ามตาม (๒) (ก)
มาตรา ๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ต้องวางหลักประกันซึ่งได้แก่ เงินสด หนังสือค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไทยค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันต่อนายทะเบียนเพื่อเป็หลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามจำนวนเงินที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๙ เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ให้เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๑๕ วรรคสองในกรณีที่พบว่าเอกสารหรือหลักฐานใดไม่ครบถ้วนหรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบทันที
มาตรา ๒๐ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ แล้วแต่กรณี และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแล้ว ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต ในหนังสือแจ้งนั้นให้แจ้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและหลักประกันที่ต้องวางไว้ด้วย

หน้า ๘
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

เมื่อผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงและวางหลักประกันตามมาตรา ๑๘ ครบถ้วนแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวให้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมและหลักประกันนั้นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามวรรคสอง จะกำหนดอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทหรือลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวก็ได้
มาตรา ๒๑ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม
มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งเหตุแห่งการไม่ออกใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต
มาตรา ๒๒ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ตามมาตรา ๒๑ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๓ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๒๔ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว หรือนักท่องเที่ยว
มาตรา ๒๕ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๒ (๓)
มาตรา ๒๖ ในการโฆษณาหรือชี้ชวนเกี่ยวกับรายการนำเที่ยว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดทำเป็นเอกสารซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และสถานที่และเลขที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๒) ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเที่ยว
หน้า ๙
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๓) ค่าบริการและวิธีการชำระค่าบริการ
(๔) ลักษณะและประเภทของยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง
(๕) จุดหมายปลายทางและที่แวะพัก รวมทั้งสถานที่สำคัญในการนำเที่ยว
(๖) ลักษณะและประเภทของที่พัก และจำนวนครั้งของอาหารที่จัดให้
(๗) จำนวนมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวในกรณีที่จัดให้มีมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยว
(๘) จำนวนขั้นต่ำของนักท่องเที่ยวสำหรับการนำเที่ยว ในกรณีมีเงื่อนไขว่าต้องมีนักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนด
มาตรา ๒๗ การเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวให้ผิดไปจากที่ได้โฆษณาหรือชี้ชวนไว้
ตามมาตรา ๒๖ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบก่อนรับชำระเงินค่าบริการการเปลี่ยนแปลงรายการนำ เที่ยวภายหลังที่นักท่องเที่ยวชำ ระเงินค่าบริการแล้วหากนักท่องเที่ยวไม่ประสงค์จะเดินทาง ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องคืนเงินที่รับชำระแล้วให้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ชักช้า และจะหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่ได้
มาตรา ๒๘ ในกรณีที่นักท่องเที่ยวชำระเงินค่าบริการแล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนถ้ามีเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางได้เฉพาะตัว หรือมีเหตุให้ต้องยกเลิกการนำเที่ยวตามที่ได้โฆษณาไว้ ทั้งนี้ โดยมิใช่ความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจ่ายเงินคืน
ให้แก่นักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าอัตราตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าการยกเลิกการนำเที่ยวเกิดจากกรณีมีนักท่องเที่ยวไม่ครบจำนวน
ตามที่กำหนดในมาตรา ๒๖ (๘) หรือเกิดจากเหตุใด ๆ อันเป็นความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องคืนเงินทั้งหมดให้แก่นักท่องเที่ยว
มาตรา ๒๙ ในระหว่างการนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากนักท่องเที่ยวหรือเป็นเหตุสุดวิสัยการเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยวตามสัดส่วน เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะพิสูจน์ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรายการนั้นทำให้ตนมีค่าใช้จ่ายเท่าหรือสูงกว่าเดิม
มาตรา ๓๐ ผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวจะเรียกเก็บค่าบริการอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๖ (๓) หรือที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าไม่ได้

หน้า ๑๐
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ชี้ชวนให้นักท่องเที่ยวไปในสถานที่หรือทำกิจกรรมใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในเอกสารโฆษณาหรือชี้ชวน ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ต้องแจ้งค่าบริการของตนและค่าบริการที่ต้องจ่ายเนื่องจากการเข้าไปในสถานที่หรือทำกิจกรรมนั้นให้นักท่องเที่ยวทราบล่วงหน้า และจะเรียกเก็บค่าบริการเกินที่แจ้งไว้มิได้
มาตรา ๓๑ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศโดยไม่ได้รับค่าบริการหรือรับค่าบริการในอัตราที่เห็นได้ว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๒ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมอบหมายให้มัคคุเทศก์ ผู้นำเที่ยวหรือบุคคลอื่นใด นำนักท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของตนไปท่องเที่ยว โดยเรียกเก็บเงินจากมัคคุเทศก์ผู้นำเที่ยว หรือบุคคลอื่นนั้น หรือโดยให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเดินทางค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือค่าอำนวยความสะดวกอื่นใดของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
มาตรา ๓๓ ในการจัดให้มีมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวเดินทางไปกับนักท่องเที่ยวผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องใช้มัคคุเทศก์ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวซึ่งได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณีในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๓๔ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันอุบัติเหตุให้แก่นักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวทุกสองปีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือน และถ้าพ้นสามเดือนแล้วยังมิได้ชำระ ให้นายทะเบียนสั่งพักใช้ใบอนุญาตดังกล่าวจนกว่าจะชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่ม ซึ่งต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันสั่งพักใช้ใบอนุญาตเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนแล้ว ถ้าผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวยังมิได้ชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มตามวรรคสอง ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

หน้า ๑๑
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๓๖ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสิ้นสุดลง เมื่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๑) ตายหรือสิ้นสุดความเป็นนิติบุคคล
(๒) เลิกประกอบกิจการตามมาตรา ๓๘ หรือ
(๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๖
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๖ (๒)หรือ (๓) ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีหน้าที่ดำเนินการตามข้อผูกพันที่มีอยู่กับนักท่องเที่ยวต่อไปเท่าที่จำเป็น ซึ่งต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสิ้นสุดลง
มาตรา ๓๘ ผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบ พร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการการเลิกประกอบกิจการไม่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวพ้นจากความรับผิดที่มีต่อนักท่องเที่ยวตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๙ หลักประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้ตามมาตรา ๑๘ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวยังมิได้เลิกประกอบกิจการ แต่ยังไม่พ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในกรณีเลิกประกอบกิจการ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะขอรับคืนหลักประกันที่วางไว้พร้อมทั้งดอกผลได้ก็ต่อเมื่อได้ส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตาม
มาตรา ๓๘ และชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ถ้าหนี้ที่เหลือมีจำนวนน้อยกว่าหลักประกันที่วางไว้ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ลดหลักประกันลงให้เหลือเท่ากับหนี้ที่จะพึงรับผิดชอบได้ในกรณีที่นายทะเบียนได้แจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมาขอรับหลักประกันคืนแล้วแต่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่มารับหลักประกันคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๔๐ เมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏต่อนายทะเบียนว่านักท่องเที่ยวผู้ใดได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวหรือตามที่ได้โฆษณาหรือชี้ชวนไว้ หรือตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยโดยเร็วและเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

หน้า ๑๒
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ในการดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนรับฟังคำชี้แจงของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งถูกกล่าวหาประกอบด้วย
มาตรา ๔๑ เมื่อปรากฏผลจากการสอบหาข้อเท็จจริงตาม
มาตรา ๔๐ ว่านักท่องเที่ยวผู้ใดได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายใดและเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้นายทะเบียนสั่งจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายนั้นไปพลางก่อน และแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้นส่งคืนเงินชดใช้กองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินชดเชยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ส่งเงินชดใช้กองทุนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้ตาม
มาตรา ๑๘ ส่งคืนกองทุน
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้ตาม
มาตรา ๑๘ ลดลงเพราะถูกใช้จ่ายไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะวางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วน
มาตรา ๔๓ นักท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำ สั่งของ
นายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุดการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ชะลอการส่งเงินชดใช้กองทุน
และการหักเงินจากหลักประกันส่งคืนกองทุนตาม
มาตรา ๔๑ และการวางหลักประกันเพิ่มตาม
มาตรา ๔๒ เว้นแต่คณะกรรมการจะผ่อนผันให้เป็นการเฉพาะราย
ในกรณีที่นักท่องเที่ยวตาย ให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิอุทธรณ์ได้เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว

หน้า ๑๓
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๔๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายจากกองทุนต่ำกว่าความเสียหายที่นักท่องเที่ยวได้รับให้คณะกรรมการสั่งให้นายทะเบียนจ่ายเงินจากกองทุนเพิ่มเติมให้แก่นักท่องเที่ยวตามที่คณะกรรมการกำหนด และแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวส่งเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้กองทุนภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้นำความในมาตรา ๔๑ วรรคสาม และมาตรา ๔๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมเว้นแต่คณะกรรมการจะเห็นว่าความเสียหายที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมนั้น มิใช่เป็นความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว จะไม่สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวส่งเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้กองทุนก็ได้
(๒) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องรับผิดในความเสียหายนั้นหรือรับผิดเพียงบางส่วนและเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวได้จ่ายเงินชดใช้กองทุนตามคำ สั่งของนายทะเบียน
ตามมาตรา ๔๑ แล้ว หรือเป็นกรณีที่นายทะเบียนได้หักเงินจากหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๑๘ส่งคืนกองทุนและผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้วางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วนแล้ว ให้คณะกรรมการสั่งให้นายทะเบียนจ่ายเงินกองทุนคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งหมดหรือตามส่วนที่ไม่ต้องรับผิดแล้วแต่กรณีให้สำนักงานแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย
มาตรา ๔๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ไม่เกินครั้งละหกเดือน เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๒ (๓)
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓
(๓) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวและเงินเพิ่มจนพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่กำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง
(๔) ไม่วางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วนเกินหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๒
หรือมาตรา ๔๔ (๑) หรือ
(๕) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๗๖

หน้า ๑๔
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๔๖ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ (๑) หรือมาตรา ๑๗ (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ก) (ข) (ง) (จ) หรือ (ฉ) หรือมาตรา ๑๗ (๒)
(๒) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวและเงินเพิ่มจนพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๓๕ วรรคสาม
(๓) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๕ มาแล้ว และภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้น มีกรณีที่อาจถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวอีก ไม่ว่าจะเป็นเหตุเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
(๔) ประพฤติหรือปฏิบัติการใดอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวอย่างร้ายแรง และนายทะเบียนได้ตักเตือนและสั่งระงับหรือให้แก้ไขแล้ว แต่ไม่ดำเนินการ หรือ
(๕) ต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับการค้า หรือความผิดฐานชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ หรือยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
มาตรา ๔๗ ให้นายทะเบียนส่งหนังสือแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
นำเที่ยวตามมาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๔๖ แล้วแต่กรณี ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบภายในห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าวการแจ้งตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ทางโทรสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนดก็ได้
มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๔๖ แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน

หน้า ๑๕
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

หมวด ๓
มัคคุเทศก์

มาตรา ๔๙ ผู้ใดประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียนการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราวทำนองเดียวกับมัคคุเทศก์หรือนักเรียนนักศึกษาซึ่งมีหนังสือรับรองจากสถานศึกษา
มาตรา ๕๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้อง
(๑) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(ข) มีสัญชาติไทย
(ค) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ หรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการกำหนด หรือได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกำหนด
(ข) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

หน้า ๑๖
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(ค) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๑) (๒) (๓)หรือ (๔) หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) และยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(ง) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๕)หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๕)
(จ) เคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวมาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
มาตรา ๕๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนเป็นการเฉพาะเมื่อคณะกรรมการได้ประกาศเขตพื้นที่ในท้องถิ่นหรืชุมชนใดตามมาตรา ๑๒ (๔) แล้ว รัฐมนตรีจะประกาศยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๕๐ (๑) (ก) หรือ (ค) สำหรับผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตพื้นที่นั้น รวมตลอดทั้งยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้ด้วยก็ได้ในกรณีที่มีมัคคุเทศก์ตามวรรคหนึ่งทำหน้าที่มัคคุเทศก์ในเขตพื้นที่ตามมาตรา ๑๒ (๔)ห้ามมิให้มัคคุเทศก์อื่นเข้าไปทำหน้าที่มัคคุเทศก์ในเขตพื้นที่นั้น
มาตรา ๕๒ เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ให้เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน และการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๔๙ วรรคสอง ในกรณีที่พบว่าเอกสารหรือหลักฐานใดไม่ครบถ้วนหรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทราบทันที
มาตรา ๕๓ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำ ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
ตามมาตรา ๔๙ ผู้ใดมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๐ หรือผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตท้องถิ่นหรือชุมชนผู้ใดได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๕๑และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผู้นั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต

หน้า ๑๗
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๕๔ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตาม
มาตรา ๔๙ ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๐ หรือผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตท้องถิ่นหรือชุมชนผู้ใดไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๕๑หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งเหตุแห่งการไม่ออกใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผู้นั้นทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต
มาตรา ๕๕ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๕๔ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๕๖ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และอาจต่ออายุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นำความในมาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕๗ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ การแต่งกาย การรักษามารยาท ความประพฤติและการตรวจสุขภาพของมัคคุเทศก์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดมัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามวรรคหนึ่ง และต้องติดบัตรประจำตัวตลอดเวลาที่ทำหน้าที่มัคคุเทศก์แบบบัตร การขอมีบัตร การออกบัตร และลักษณะการติดบัตรประจำตัวมัคคุเทศก์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๕๘ ในการรับทำงานเป็นมัคคุเทศก์ ห้ามไม่ให้มัคคุเทศก์จ่ายเงินหรือให้ประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือบุคคลอื่นใด หรือยอมตนเข้ารับผิดชอบในค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้ได้มาซึ่งการนำนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยว
มาตรา ๕๙ มัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรายการนำเที่ยวที่ได้ตกลงไว้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และจะดำเนินการใดให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวมิได้

หน้า ๑๘
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๖๐ มัคคุเทศก์ต้องไม่ให้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์แทนตน
มาตรา ๖๑ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์สิ้นสุดลง เมื่อมัคคุเทศก์
(๑) ตาย
(๒) ไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๕๖ หรือ
(๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓
มาตรา ๖๒ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ไม่เกินครั้งละหกเดือน เมื่อปรากฏว่ามัคคุเทศก์
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำ หนดตามมาตรา ๑๒ (๓)
หรือมาตรา ๕๗
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๘
(๓) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๗๖มัคคุเทศก์ซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะปฏิบัติหน้าที่มัคคุเทศก์ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๖๓ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้เมื่อปรากฏว่ามัคคุเทศก์
(๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๕๐ (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๐ (๒) (ก) (ค)
(ง) และ (จ)
(๒) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๒ มาแล้ว และภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์นั้น มีกรณีที่อาจถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์อีกไม่ว่าจะเป็นเหตุเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
(๓) ประพฤติหรือปฏิบัติการใดอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวอย่างร้ายแรง และนายทะเบียนได้ตักเตือนและสั่งระงับหรือให้แก้ไขแล้ว แต่ไม่ดำเนินการ
(๔) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ

หน้า ๑๙
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๕) ต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกงโกงเจ้าหนี้ หรือยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนให้นำความในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งคำสั่งและการอุทธรณ์คำสั่งด้วยโดยอนุโลม

หมวด ๔
ผู้นำเที่ยว

มาตรา ๖๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้นำเที่ยวต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวไว้กับสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคุณสมบัติของผู้นำเที่ยวไว้ด้วยผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์และมีคุณสมบัติตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำเที่ยวได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง แต่ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบเพื่อประโยชน์ด้านข้อมูลของสำนักงาน
มาตรา ๖๕ ในการจัดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดให้มีผู้นำเที่ยวเดินทางไปด้วย ผู้นำเที่ยวนั้นต้องเป็นผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานตามมาตรา ๖๔นอกจากหน้าที่ในการนำเที่ยวและอำนวยความสะดวกแล้ว ผู้นำเที่ยวมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามรายการนำเที่ยวตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๒๙ แล้วแต่กรณีด้วย
มาตรา ๖๖ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ การแต่งกาย การรักษามารยาท และความประพฤติของผู้นำเที่ยว ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดผู้นำเที่ยวต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นำเที่ยวประพฤติหรือปฏิบัติการใดอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบที่ออกตามมาตรา ๖๖ หรือกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวอย่างร้ายแรง ให้นายทะเบียนมีอำนาจตักเตือนและสั่งให้ระงับหรือแก้ไขการกระทำนั้นได้

หน้า ๒๐
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ในกรณีที่ผู้นำเที่ยวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๗๖ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ผู้นำเที่ยวตามระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหกเดือน
หรือจะเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวก็ได้
มาตรา ๖๘ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งห้ามปฏิบัติหน้าที่หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนตาม
มาตรา ๖๗ ให้นายทะเบียนแจ้งให้สำนักงานทราบ และให้สำนักงานแจ้งเวียนชื่อบุคคลดังกล่าวให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

หมวด ๕
กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว

มาตรา ๖๙ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว”มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทดรองจ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว หรือตามที่ได้โฆษณาหรือรับรองไว้กับนักท่องเที่ยว หรือตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๐ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) ทุนประเดิมที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดสรรให้จำนวนยี่สิบล้านบาท
(๒) เงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) หลักประกันที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม
(๔) เงินที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจ่ายชดใช้คืนกองทุนและเงินที่นายทะเบียนหักจากหลักประกันส่งคืนกองทุนตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม และเงินเพิ่มตามมาตรา ๓๕ วรรคสองและมาตรา ๔๒ วรรคสอง
(๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้
(๖) ดอกผล รายได้ หรือเงินอื่นใดของกองทุน

หน้า ๒๑
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของสำนักงานเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน
มาตรา ๗๑ การเก็บรักษาและการบริหารเงินและทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗๒ ดอกผลอันเกิดจากกองทุนตามมาตรา ๗๐ (๖) คณะกรรมการจะกำหนดให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและการดำเนินการอันเกี่ยวกับกองทุนก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของดอกผลที่ได้รับในแต่ละปี
มาตรา ๗๓ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปี ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงินและบัญชีแสดงการใช้จ่ายเงินกองทุนเสนอคณะกรรมการ
งบดุลนั้น สำนักงานต้องจัดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดำเนินการสอบบัญชีและจัดทำรายงานการสอบบัญชีเสนอคณะกรรมการ

หมวด ๖
การควบคุม

มาตรา ๗๔ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวคนหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองเป็นนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง เพื่อทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนในการควบคุมธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ทั่วราชอาณาจักร และมีอำนาจหน้าที่
ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๗๕ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ผู้อำนวยการจะแต่งตั้งนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาขึ้น เพื่อรับผิดชอบดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเขตจังหวัดหนึ่งหรือหลายจังหวัดเป็นประจำหรือชั่วคราวก็ได้
มาตรา ๗๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้นายทะเบียนมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระหว่างเวลาทำการหรือเข้าไปในยานพาหนะที่นักท่องเที่ยวใช้เดินทาง เพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
หน้า ๒๒
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๒) สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการที่กำหนดเป็นครั้งคราวหรือประจำ ตามแบบ รายละเอียด และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓) เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตัวแทนหรือลูกจ้าง มัคคุเทศก์ หรือผู้นำเที่ยวมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือการปฏิบัติหน้าที่มัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยว แล้วแต่กรณี หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อตรวจสอบอำนาจตาม (๑) และ (๓) นายทะเบียนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติก็ได้การใช้อำนาจของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเกินสมควร
มาตรา ๗๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องดำเนินการโดยมุ่งที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เกี่ยวข้องและให้เกิดผลในทางส่งเสริมการท่องเที่ยว

หมวด ๗
บทกำหนดโทษ

มาตรา ๘๐ ผู้ใดประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ตามมาตรา ๑๕ หรือประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืน
มาตรา ๔๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๑ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

หน้า ๒๓
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๘๒ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๘๓ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๒๗ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๘๔ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๕ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๘๖ ผู้ใดทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๔๙หรือทำหน้าที่มัคคุเทศก์ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๗ มัคคุเทศก์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๘๘ มัคคุเทศก์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดหรือไม่ติดบัตรประจำตัวเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๘๙ มัคคุเทศก์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๐ ผู้ใดทำหน้าที่เป็นผู้นำเที่ยวโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวตามมาตรา ๖๔วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑ ผู้นำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดที่ออกตามมาตรา ๖๖ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๒ ผู้นำเที่ยวผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของนายทะเบียนซึ่งสั่งห้ามปฏิบัติหน้าที่ผู้นำเที่ยว
ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

หน้า ๒๔
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๙๓ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากนายทะเบียนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนไม่ว่าจะมีโทษปรับเป็นจำนวนเท่าใด ให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดเมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๙๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นบทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๖ ให้คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคณะกรรมการธุรกิจนำ เที่ยวและมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัตินี้ และปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๙๗ ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๙๘ ในกรณีที่ประเทศไทยมีความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนำ เที่ยวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รัฐมนตรีจะประกาศยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ (๑) (ข) และมาตรา ๑๗ (๑) (ก) และ (ข) ให้แก่ผู้มีสัญชาติของประเทศนั้นก็ได้

หน้า ๒๕
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๙๙ ให้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์นั้นเพื่อประโยชน์ในการต่ออายุใบอนุญาต ให้ถือว่าใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นใบอนุญาต
ที่ออกให้ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๐๐ บรรดาความเสียหายตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำ เที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่เกิดขึ้นแก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้เป็นผู้ดำเนินการพิจารณา
เรื่องร้องเรียนต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้บังคับจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
(๑) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำหรับเรื่องที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ร้องเรียนไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(๒) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว สำหรับเรื่องที่บุคคลตามวรรคหนึ่งร้องเรียนภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๑ บรรดาหลักประกันที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้กับผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่งมอบให้แก่สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อหักไว้เป็นหลักประกันตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๘ในกรณีที่เหลือหลักประกันเป็นจำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว มีกรณีรอการพิจารณาตามมาตรา ๑๐๐ ให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวคืนให้แก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
นำเที่ยวแต่ละรายพร้อมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวผู้ใดมีกรณีรอการพิจารณาตามมาตรา ๑๐๐ให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวคืนหลักประกันให้เมื่อได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้วเสร็จโดยให้คืนหลักประกันพร้อมทั้งดอกผลให้เท่าที่เหลืออยู่ภายหลังจากหักความรับผิดที่เกิดขึ้นแล้ว

หน้า ๒๖
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๑๐๒ บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือระเบียบใดที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรีอัตราค่าธรรมเนียม
(๑) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท
(๒) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท
(๓) ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๔) ใบแทนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๕) ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายสองปี ครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท
(๖) การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท

หน้า ๒๗
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ซึ่งรับผิดชอบภารกิจสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและพัฒนามาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้มีมาตรฐานสากลโดยมีสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ดำเนินการแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ดำเนินการอยู่เดิม ประกอบกับมาตรฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวและมาตรการในการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์แห่งธุรกิจนำเที่ยวยังไม่เหมาะสม รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติในรูปแบบของการบริหารราชการของส่วนราชการ สมควรที่จะต้องปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้