6/30/2552

ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์

พระราชบัญญัติ
ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๓ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
หน้า ๒
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕
(๒) พระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้
“ธุรกิจนำเที่ยว” หมายความว่า ธุรกิจเกี่ยวกับการนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวหรือเดินทางไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่น โดยจัดให้มีบริการหรือการอำนวยความสะดวกอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง อันได้แก่ สถานที่พัก อาหาร มัคคุเทศก์ หรือบริการอื่นใดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง“นักท่องเที่ยว” หมายความว่า ผู้เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเพื่อประโยชน์ในการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษาหาความรู้ การบันเทิง หรือการอื่นใด“มัคคุเทศก์” หมายความว่า ผู้ให้บริการเป็นปกติธุระในการนำนักท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่าง ๆโดยให้บริการเกี่ยวกับคำแนะนำและความรู้ด้านต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยว“ผู้นำเที่ยว” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการดูแลและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวในการเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศ“ค่าบริการ” หมายความว่า ค่าจ้างและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวจ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว สำหรับการจัด การให้บริการ หรือการอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการเดินทางสถานที่พัก อาหาร หรือการอื่นใด“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์“กองทุน” หมายความว่า กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว“ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว“นายทะเบียน” หมายความว่า นายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลางหรือนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขา แล้วแต่กรณี“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
หน้า ๓
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬารักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัตินี้ ยกเว้นค่าธรรมเนียมและกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
มาตรา ๖ พระราชบัญญัตินี้ไม่ให้ใช้บังคับกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกิจการซึ่งต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมกิจการฮัจย์
หมวด ๑
คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
มาตรา ๗ ให้มีคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์คณะหนึ่ง ประกอบด้วยปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นรองประธานกรรมการ ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงแรงงานผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ และผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวนเจ็ดคน เป็นกรรมการ ให้นายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง เป็นกรรมการและเลขานุการ
กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยห้าคน และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือเคยเป็นอาจารย์สอนในสถาบันอุดมศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีในวิชาการท่องเที่ยวหนึ่งคนและวิชามัคคุเทศก์หนึ่งคนกรรมการผู้แทนสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยห้าคนตามวรรคสอง จะเป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือไม่ก็ได้ โดยอย่างน้อยให้แต่งตั้งจากผู้แทนผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวสองคนและผู้แทนมัคคุเทศก์สองคน
มาตรา ๘ กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสองปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน
หน้า ๔
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ในกรณีที่กรรมการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ แต่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการใหม่ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนจนกว่าจะได้แต่งตั้งกรรมการใหม่
มาตรา ๙ การพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระของกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองนอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวรรคหนึ่ง รัฐมนตรีจะสั่งให้กรรมการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งเมื่อบกพร่องต่อหน้าที่ มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือหย่อนความสามารถก็ได้
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำ แหน่งก่อนครบวาระให้กรรมการซึ่งเหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ และให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการประเภทเดียวกันแทนภายในหกสิบวันนับแต่วันที่กรรมการนั้นว่างลง เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวันจะไม่ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการขึ้นแทนก็ได้ ทั้งนี้ ให้กรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา ๑๑ การประชุม การดำเนินการประชุม หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๒ ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดแผนงานและมาตรการต่าง ๆ เกี่ยวกับการส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
(๒) เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) ออกระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมาตรฐาน
การปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวที่จะพึงปฏิบัติต่อนักท่องเที่ยว และความรับผิดชอบที่มีต่อนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตลอดจนค่าตอบแทนหรือความคุ้มครองที่มัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวจะพึงได้รับจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๔) ประกาศกำหนดเขตพื้นที่ในท้องถิ่นหรือชุมชนใดเพื่อให้มัคคุเทศก์ซึ่งได้รับการยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๕๑ ทำหน้าที่มัคคุเทศก์ รวมทั้งกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนนั้น ทั้งนี้ โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
(๕) ออกระเบียบเกี่ยวกับการเปิดบัญชีเงินฝากและการเบิกจ่ายจากบัญชีเงินฝากสำหรับหลักประกันที่เป็นเงินสดตามมาตรา ๑๘ รวมทั้งการคืนหลักประกันตามมาตรา ๓๙

หน้า ๕
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(๖) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบหาข้อเท็จจริงและการวินิจฉัยของนายทะเบียนตามมาตรา ๔๐
(๗) ออกระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินชดเชยให้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๑
(๘) พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
(๙) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษาและการบริหารเงินและทรัพย์สินของกองทุนตามมาตรา ๗๑
(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี
มาตรา ๑๓ ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ คณะกรรมการจะตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการตามที่มอบหมายก็ได้การประชุมและการลงมติของคณะอนุกรรมการ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๑๔ ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
หมวด ๒
ธุรกิจนำเที่ยว

มาตรา ๑๕ ผู้ใดประสงค์จะประกอบธุรกิจนำเที่ยวให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวจากนายทะเบียนการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
หน้า ๖
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
มาตรา ๑๖ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาต้อง
(๑) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ข) มีสัญชาติไทย
(ค) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย
(๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นบุคคลล้มละลาย หรืออยู่ในระหว่างถูกพิทักษ์ทรัพย์
(ข) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(ค) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(ง) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๑) (๒) (๓)
หรือ (๔) หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) และยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(จ) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๕)หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๕)
(ฉ) เคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวมาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๑๗ ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งเป็นนิติบุคคลต้อง
(๑) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวถ้าเป็นห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยถ้าเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ทุนของบริษัทไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดต้องเป็นของบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย และกรรมการของบริษัทเกินกึ่งหนึ่งต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
(ข) กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖
หน้า ๗
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นนิติบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ค) (ง) หรือ (จ)
(ข) มีผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ค) (ง) หรือ (จ)หรือซึ่งพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม (๒) (ก) มาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(ค) มีผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินร้อยละห้ามีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ค) (ง)หรือ (จ) หรือซึ่งพ้นจากการเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามตาม
(๒) (ก) มาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวความใน (๒) (ข) และ (ค) ไม่นำมาใช้บังคับกับผู้ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วน กรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคล ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมหรือรู้เห็นกับการกระทำของนิติบุคคล
ที่เป็นเหตุให้มีลักษณะต้องห้ามตาม (๒) (ก)
มาตรา ๑๘ ผู้ขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๑๖ และมาตรา ๑๗ ต้องวางหลักประกันซึ่งได้แก่ เงินสด หนังสือค้ำประกันของธนาคาร พันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลไทยค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันต่อนายทะเบียนเพื่อเป็หลักประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตามจำนวนเงินที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๑๙ เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ให้เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐานและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๑๕ วรรคสองในกรณีที่พบว่าเอกสารหรือหลักฐานใดไม่ครบถ้วนหรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบทันที
มาตรา ๒๐ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ แล้วแต่กรณี และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแล้ว ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต ในหนังสือแจ้งนั้นให้แจ้งค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและหลักประกันที่ต้องวางไว้ด้วย

หน้า ๘
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

เมื่อผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงและวางหลักประกันตามมาตรา ๑๘ ครบถ้วนแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวให้ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับชำระค่าธรรมเนียมและหลักประกันนั้นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามวรรคสอง จะกำหนดอัตราที่แตกต่างกันตามประเภทหรือลักษณะของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวก็ได้
มาตรา ๒๑ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตาม
มาตรา ๑๖ หรือมาตรา ๑๗ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งเหตุแห่งการไม่ออกใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต
มาตรา ๒๒ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ตามมาตรา ๒๑ ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๒๓ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแสดงใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ระบุไว้ในใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๒๔ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องไม่กระทำการใดอันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่อุตสาหกรรมท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว หรือนักท่องเที่ยว
มาตรา ๒๕ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๒ (๓)
มาตรา ๒๖ ในการโฆษณาหรือชี้ชวนเกี่ยวกับรายการนำเที่ยว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดทำเป็นเอกสารซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
(๑) ชื่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และสถานที่และเลขที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๒) ระยะเวลาที่ใช้ในการนำเที่ยว
หน้า ๙
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๓) ค่าบริการและวิธีการชำระค่าบริการ
(๔) ลักษณะและประเภทของยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง
(๕) จุดหมายปลายทางและที่แวะพัก รวมทั้งสถานที่สำคัญในการนำเที่ยว
(๖) ลักษณะและประเภทของที่พัก และจำนวนครั้งของอาหารที่จัดให้
(๗) จำนวนมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวในกรณีที่จัดให้มีมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยว
(๘) จำนวนขั้นต่ำของนักท่องเที่ยวสำหรับการนำเที่ยว ในกรณีมีเงื่อนไขว่าต้องมีนักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าจำนวนที่กำหนด
มาตรา ๒๗ การเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวให้ผิดไปจากที่ได้โฆษณาหรือชี้ชวนไว้
ตามมาตรา ๒๖ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบก่อนรับชำระเงินค่าบริการการเปลี่ยนแปลงรายการนำ เที่ยวภายหลังที่นักท่องเที่ยวชำ ระเงินค่าบริการแล้วหากนักท่องเที่ยวไม่ประสงค์จะเดินทาง ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องคืนเงินที่รับชำระแล้วให้แก่นักท่องเที่ยวโดยไม่ชักช้า และจะหักค่าใช้จ่ายใด ๆ ไม่ได้
มาตรา ๒๘ ในกรณีที่นักท่องเที่ยวชำระเงินค่าบริการแล้วไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนถ้ามีเหตุที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางได้เฉพาะตัว หรือมีเหตุให้ต้องยกเลิกการนำเที่ยวตามที่ได้โฆษณาไว้ ทั้งนี้ โดยมิใช่ความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจ่ายเงินคืน
ให้แก่นักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าอัตราตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนดในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าการยกเลิกการนำเที่ยวเกิดจากกรณีมีนักท่องเที่ยวไม่ครบจำนวน
ตามที่กำหนดในมาตรา ๒๖ (๘) หรือเกิดจากเหตุใด ๆ อันเป็นความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องคืนเงินทั้งหมดให้แก่นักท่องเที่ยว
มาตรา ๒๙ ในระหว่างการนำเที่ยว ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากนักท่องเที่ยวหรือเป็นเหตุสุดวิสัยการเปลี่ยนแปลงรายการนำเที่ยวตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจ่ายเงินค่าบริการคืนให้แก่นักท่องเที่ยวตามสัดส่วน เว้นแต่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะพิสูจน์ได้ว่าการเปลี่ยนแปลงรายการนั้นทำให้ตนมีค่าใช้จ่ายเท่าหรือสูงกว่าเดิม
มาตรา ๓๐ ผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวจะเรียกเก็บค่าบริการอื่นใดนอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๖ (๓) หรือที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าไม่ได้

หน้า ๑๐
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ชี้ชวนให้นักท่องเที่ยวไปในสถานที่หรือทำกิจกรรมใดนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในเอกสารโฆษณาหรือชี้ชวน ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือมัคคุเทศก์ต้องแจ้งค่าบริการของตนและค่าบริการที่ต้องจ่ายเนื่องจากการเข้าไปในสถานที่หรือทำกิจกรรมนั้นให้นักท่องเที่ยวทราบล่วงหน้า และจะเรียกเก็บค่าบริการเกินที่แจ้งไว้มิได้
มาตรา ๓๑ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดบริการนำเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศโดยไม่ได้รับค่าบริการหรือรับค่าบริการในอัตราที่เห็นได้ว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๒ ห้ามไม่ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมอบหมายให้มัคคุเทศก์ ผู้นำเที่ยวหรือบุคคลอื่นใด นำนักท่องเที่ยวในความรับผิดชอบของตนไปท่องเที่ยว โดยเรียกเก็บเงินจากมัคคุเทศก์ผู้นำเที่ยว หรือบุคคลอื่นนั้น หรือโดยให้บุคคลดังกล่าวรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าเดินทางค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือค่าอำนวยความสะดวกอื่นใดของนักท่องเที่ยว ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
มาตรา ๓๓ ในการจัดให้มีมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวเดินทางไปกับนักท่องเที่ยวผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องใช้มัคคุเทศก์ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวซึ่งได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ แล้วแต่กรณีในการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยวตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๓๔ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวต้องจัดให้มีการประกันอุบัติเหตุให้แก่นักท่องเที่ยวมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
มาตรา ๓๕ ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวทุกสองปีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือน และถ้าพ้นสามเดือนแล้วยังมิได้ชำระ ให้นายทะเบียนสั่งพักใช้ใบอนุญาตดังกล่าวจนกว่าจะชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่ม ซึ่งต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันสั่งพักใช้ใบอนุญาตเมื่อพ้นกำหนดหกเดือนแล้ว ถ้าผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวยังมิได้ชำระค่าธรรมเนียมและเงินเพิ่มตามวรรคสอง ให้นายทะเบียนสั่งเพิกถอนใบอนุญาต

หน้า ๑๑
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๓๖ ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสิ้นสุดลง เมื่อผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๑) ตายหรือสิ้นสุดความเป็นนิติบุคคล
(๒) เลิกประกอบกิจการตามมาตรา ๓๘ หรือ
(๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๖
มาตรา ๓๗ ในกรณีที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสิ้นสุดลงตามมาตรา ๓๖ (๒)หรือ (๓) ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมีหน้าที่ดำเนินการตามข้อผูกพันที่มีอยู่กับนักท่องเที่ยวต่อไปเท่าที่จำเป็น ซึ่งต้องไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวสิ้นสุดลง
มาตรา ๓๘ ผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวซึ่งประสงค์จะเลิกประกอบกิจการ ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบ พร้อมทั้งส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวแก่นายทะเบียนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เลิกประกอบกิจการการเลิกประกอบกิจการไม่เป็นเหตุให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวพ้นจากความรับผิดที่มีต่อนักท่องเที่ยวตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๙ หลักประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้ตามมาตรา ๑๘ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตราบเท่าที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวยังมิได้เลิกประกอบกิจการ แต่ยังไม่พ้นจากความรับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในกรณีเลิกประกอบกิจการ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจะขอรับคืนหลักประกันที่วางไว้พร้อมทั้งดอกผลได้ก็ต่อเมื่อได้ส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตาม
มาตรา ๓๘ และชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ถ้าหนี้ที่เหลือมีจำนวนน้อยกว่าหลักประกันที่วางไว้ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ลดหลักประกันลงให้เหลือเท่ากับหนี้ที่จะพึงรับผิดชอบได้ในกรณีที่นายทะเบียนได้แจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวมาขอรับหลักประกันคืนแล้วแต่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่มารับหลักประกันคืนภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ให้หลักประกันดังกล่าวตกเป็นของกองทุน
มาตรา ๔๐ เมื่อมีผู้ร้องเรียนหรือปรากฏต่อนายทะเบียนว่านักท่องเที่ยวผู้ใดได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยวหรือตามที่ได้โฆษณาหรือชี้ชวนไว้ หรือตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยโดยเร็วและเป็นธรรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

หน้า ๑๒
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ในการดำเนินการสอบหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนรับฟังคำชี้แจงของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งถูกกล่าวหาประกอบด้วย
มาตรา ๔๑ เมื่อปรากฏผลจากการสอบหาข้อเท็จจริงตาม
มาตรา ๔๐ ว่านักท่องเที่ยวผู้ใดได้รับความเสียหายจากผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายใดและเป็นจำนวนเงินเท่าใด ให้นายทะเบียนสั่งจ่ายเงินจากกองทุนเพื่อชดเชยความเสียหายนั้นไปพลางก่อน และแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้นส่งคืนเงินชดใช้กองทุนภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และอัตราการจ่ายเงินชดเชยตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ส่งเงินชดใช้กองทุนภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้นายทะเบียนหักเงินจำนวนดังกล่าวจากหลักประกันที่วางไว้ตาม
มาตรา ๑๘ ส่งคืนกองทุน
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่หลักประกันที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้ตาม
มาตรา ๑๘ ลดลงเพราะถูกใช้จ่ายไปตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยววางหลักประกันเพิ่มจนครบจำนวนเงินที่กำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่วางหลักประกันเพิ่มภายในกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่งต้องชำระเงินเพิ่มอีกร้อยละสองต่อเดือนจนกว่าจะวางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วน
มาตรา ๔๓ นักท่องเที่ยวหรือผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวซึ่งไม่เห็นด้วยกับคำ สั่งของ
นายทะเบียนตามมาตรา ๔๑ มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุดการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้ชะลอการส่งเงินชดใช้กองทุน
และการหักเงินจากหลักประกันส่งคืนกองทุนตาม
มาตรา ๔๑ และการวางหลักประกันเพิ่มตาม
มาตรา ๔๒ เว้นแต่คณะกรรมการจะผ่อนผันให้เป็นการเฉพาะราย
ในกรณีที่นักท่องเที่ยวตาย ให้ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิอุทธรณ์ได้เช่นเดียวกับนักท่องเที่ยว

หน้า ๑๓
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๔๔ ในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้คณะกรรมการมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) กรณีที่จำนวนเงินที่สั่งจ่ายจากกองทุนต่ำกว่าความเสียหายที่นักท่องเที่ยวได้รับให้คณะกรรมการสั่งให้นายทะเบียนจ่ายเงินจากกองทุนเพิ่มเติมให้แก่นักท่องเที่ยวตามที่คณะกรรมการกำหนด และแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวส่งเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้กองทุนภายในสิบห้าวัน
นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และให้นำความในมาตรา ๔๑ วรรคสาม และมาตรา ๔๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลมเว้นแต่คณะกรรมการจะเห็นว่าความเสียหายที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมนั้น มิใช่เป็นความผิดของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว จะไม่สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวส่งเงินจำนวนดังกล่าวชดใช้กองทุนก็ได้
(๒) กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ต้องรับผิดในความเสียหายนั้นหรือรับผิดเพียงบางส่วนและเป็นกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจนำ เที่ยวได้จ่ายเงินชดใช้กองทุนตามคำ สั่งของนายทะเบียน
ตามมาตรา ๔๑ แล้ว หรือเป็นกรณีที่นายทะเบียนได้หักเงินจากหลักประกันที่วางไว้ตามมาตรา ๑๘ส่งคืนกองทุนและผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้วางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วนแล้ว ให้คณะกรรมการสั่งให้นายทะเบียนจ่ายเงินกองทุนคืนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทั้งหมดหรือตามส่วนที่ไม่ต้องรับผิดแล้วแต่กรณีให้สำนักงานแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย
มาตรา ๔๕ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้ไม่เกินครั้งละหกเดือน เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๒ (๓)
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ มาตรา ๓๑ มาตรา ๓๒ หรือมาตรา ๓๓
(๓) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวและเงินเพิ่มจนพ้นกำหนดสามเดือนนับแต่วันที่กำหนดให้ชำระค่าธรรมเนียมตามมาตรา ๓๕ วรรคสอง
(๔) ไม่วางหลักประกันเพิ่มจนครบถ้วนเกินหกเดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาตามมาตรา ๔๒
หรือมาตรา ๔๔ (๑) หรือ
(๕) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๗๖

หน้า ๑๔
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับนักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๔๖ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวได้เมื่อปรากฏว่าผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
(๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ (๑) หรือมาตรา ๑๗ (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๖ (๒) (ก) (ข) (ง) (จ) หรือ (ฉ) หรือมาตรา ๑๗ (๒)
(๒) ไม่ชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวและเงินเพิ่มจนพ้นกำหนดหกเดือนนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๓๕ วรรคสาม
(๓) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๕ มาแล้ว และภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวนั้น มีกรณีที่อาจถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวอีก ไม่ว่าจะเป็นเหตุเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
(๔) ประพฤติหรือปฏิบัติการใดอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวอย่างร้ายแรง และนายทะเบียนได้ตักเตือนและสั่งระงับหรือให้แก้ไขแล้ว แต่ไม่ดำเนินการ หรือ
(๕) ต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดเกี่ยวกับการค้า หรือความผิดฐานชิงทรัพย์ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง โกงเจ้าหนี้ หรือยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
มาตรา ๔๗ ให้นายทะเบียนส่งหนังสือแจ้งคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
นำเที่ยวตามมาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๔๖ แล้วแต่กรณี ให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบภายในห้าวันนับแต่วันที่มีคำสั่งดังกล่าวการแจ้งตามวรรคหนึ่ง นายทะเบียนจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ทางโทรสารทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีอื่นใดตามที่คณะกรรมการกำหนดก็ได้
มาตรา ๔๘ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวซึ่งถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๕ หรือมาตรา ๔๖ แล้วแต่กรณี มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียน

หน้า ๑๕
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

หมวด ๓
มัคคุเทศก์

มาตรา ๔๙ ผู้ใดประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากนายทะเบียนการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นครั้งคราวทำนองเดียวกับมัคคุเทศก์หรือนักเรียนนักศึกษาซึ่งมีหนังสือรับรองจากสถานศึกษา
มาตรา ๕๐ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ต้อง
(๑) มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ในวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(ข) มีสัญชาติไทย
(ค) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ หรือสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาในสาขามัคคุเทศก์หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการกำหนด หรือได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่คณะกรรมการกำหนด
(๒) ไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังหรือติดยาเสพติดให้โทษ หรือเป็นโรคติดต่อที่คณะกรรมการกำหนด
(ข) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์หรือใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว

หน้า ๑๖
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(ค) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๑) (๒) (๓)หรือ (๔) หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๑) (๒) (๓) หรือ (๔) และยังไม่พ้นกำหนดห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
(ง) เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวตามมาตรา ๔๖ (๕)หรือใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓ (๕)
(จ) เคยถูกเพิกถอนทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวมาแล้วยังไม่ถึงห้าปีนับถึงวันยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
มาตรา ๕๑ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นหรือชุมชนเป็นการเฉพาะเมื่อคณะกรรมการได้ประกาศเขตพื้นที่ในท้องถิ่นหรืชุมชนใดตามมาตรา ๑๒ (๔) แล้ว รัฐมนตรีจะประกาศยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๕๐ (๑) (ก) หรือ (ค) สำหรับผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาต
เป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตพื้นที่นั้น รวมตลอดทั้งยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้ด้วยก็ได้ในกรณีที่มีมัคคุเทศก์ตามวรรคหนึ่งทำหน้าที่มัคคุเทศก์ในเขตพื้นที่ตามมาตรา ๑๒ (๔)ห้ามมิให้มัคคุเทศก์อื่นเข้าไปทำหน้าที่มัคคุเทศก์ในเขตพื้นที่นั้น
มาตรา ๕๒ เมื่อมีผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ให้เป็นหน้าที่ของนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารหลักฐาน และการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๔๙ วรรคสอง ในกรณีที่พบว่าเอกสารหรือหลักฐานใดไม่ครบถ้วนหรือยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ให้แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทราบทันที
มาตรา ๕๓ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำ ขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์
ตามมาตรา ๔๙ ผู้ใดมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๐ หรือผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตท้องถิ่นหรือชุมชนผู้ใดได้รับยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๕๑และได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผู้นั้นภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต

หน้า ๑๗
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๕๔ เมื่อนายทะเบียนพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตาม
มาตรา ๔๙ ผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๐ หรือผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ซึ่งจะให้บริการเฉพาะในเขตท้องถิ่นหรือชุมชนผู้ใดไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา ๕๑หรือไม่ชำระค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งเหตุแห่งการไม่ออกใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตผู้นั้นทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอรับใบอนุญาต
มาตรา ๕๕ ในกรณีที่นายทะเบียนมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๕๔ให้ผู้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวเป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งจากนายทะเบียนให้คณะกรรมการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด
มาตรา ๕๖ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และอาจต่ออายุได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
ให้นำความในมาตรา ๕๒ มาตรา ๕๓ มาตรา ๕๔ และมาตรา ๕๕ มาใช้บังคับกับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ด้วยโดยอนุโลม
มาตรา ๕๗ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ การแต่งกาย การรักษามารยาท ความประพฤติและการตรวจสุขภาพของมัคคุเทศก์ ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดมัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามวรรคหนึ่ง และต้องติดบัตรประจำตัวตลอดเวลาที่ทำหน้าที่มัคคุเทศก์แบบบัตร การขอมีบัตร การออกบัตร และลักษณะการติดบัตรประจำตัวมัคคุเทศก์ตามวรรคสองให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา ๕๘ ในการรับทำงานเป็นมัคคุเทศก์ ห้ามไม่ให้มัคคุเทศก์จ่ายเงินหรือให้ประโยชน์อื่นใดแก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวหรือบุคคลอื่นใด หรือยอมตนเข้ารับผิดชอบในค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้ได้มาซึ่งการนำนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยว
มาตรา ๕๙ มัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามรายการนำเที่ยวที่ได้ตกลงไว้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และจะดำเนินการใดให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวมิได้

หน้า ๑๘
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๖๐ มัคคุเทศก์ต้องไม่ให้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นซึ่งไม่มีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์แทนตน
มาตรา ๖๑ ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์สิ้นสุดลง เมื่อมัคคุเทศก์
(๑) ตาย
(๒) ไม่ได้รับการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๕๖ หรือ
(๓) ถูกเพิกถอนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๓
มาตรา ๖๒ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้ไม่เกินครั้งละหกเดือน เมื่อปรากฏว่ามัคคุเทศก์
(๑) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำ หนดตามมาตรา ๑๒ (๓)
หรือมาตรา ๕๗
(๒) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๑ หรือมาตรา ๕๘
(๓) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๗๖มัคคุเทศก์ซึ่งถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจะปฏิบัติหน้าที่มัคคุเทศก์ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ไม่ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่นายทะเบียนอนุญาตให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยว
มาตรา ๖๓ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ได้เมื่อปรากฏว่ามัคคุเทศก์
(๑) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๕๐ (๑) หรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๕๐ (๒) (ก) (ค)
(ง) และ (จ)
(๒) เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๖๒ มาแล้ว และภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์นั้น มีกรณีที่อาจถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์อีกไม่ว่าจะเป็นเหตุเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
(๓) ประพฤติหรือปฏิบัติการใดอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวอย่างร้ายแรง และนายทะเบียนได้ตักเตือนและสั่งระงับหรือให้แก้ไขแล้ว แต่ไม่ดำเนินการ
(๔) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือ

หน้า ๑๙
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๕) ต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกงโกงเจ้าหนี้ หรือยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา หรือความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนให้นำความในมาตรา ๔๗ และมาตรา ๔๘ มาใช้บังคับกับการแจ้งคำสั่งและการอุทธรณ์คำสั่งด้วยโดยอนุโลม

หมวด ๔
ผู้นำเที่ยว

มาตรา ๖๔ ผู้ใดประสงค์จะเป็นผู้นำเที่ยวต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวไว้กับสำนักงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
กฎกระทรวงตามวรรคหนึ่งให้กำหนดคุณสมบัติของผู้นำเที่ยวไว้ด้วยผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์และมีคุณสมบัติตามวรรคสอง ให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำเที่ยวได้โดยไม่ต้องขึ้นทะเบียนตามวรรคหนึ่ง แต่ให้แจ้งให้นายทะเบียนทราบเพื่อประโยชน์ด้านข้อมูลของสำนักงาน
มาตรา ๖๕ ในการจัดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปต่างประเทศ ถ้าผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจัดให้มีผู้นำเที่ยวเดินทางไปด้วย ผู้นำเที่ยวนั้นต้องเป็นผู้ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับสำนักงานตามมาตรา ๖๔นอกจากหน้าที่ในการนำเที่ยวและอำนวยความสะดวกแล้ว ผู้นำเที่ยวมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามรายการนำเที่ยวตามมาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๒๙ แล้วแต่กรณีด้วย
มาตรา ๖๖ มาตรฐานในการปฏิบัติหน้าที่ การแต่งกาย การรักษามารยาท และความประพฤติของผู้นำเที่ยว ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดผู้นำเที่ยวต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๖๗ ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้นำเที่ยวประพฤติหรือปฏิบัติการใดอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบที่ออกตามมาตรา ๖๖ หรือกระทำการใด ๆ อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักท่องเที่ยวหรือธุรกิจนำเที่ยวอย่างร้ายแรง ให้นายทะเบียนมีอำนาจตักเตือนและสั่งให้ระงับหรือแก้ไขการกระทำนั้นได้

หน้า ๒๐
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

ในกรณีที่ผู้นำเที่ยวฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่ง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งตามมาตรา ๗๖ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งห้ามบุคคลดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ผู้นำเที่ยวตามระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่เกินหกเดือน
หรือจะเพิกถอนการจดทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวก็ได้
มาตรา ๖๘ เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งห้ามปฏิบัติหน้าที่หรือสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนตาม
มาตรา ๖๗ ให้นายทะเบียนแจ้งให้สำนักงานทราบ และให้สำนักงานแจ้งเวียนชื่อบุคคลดังกล่าวให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวทราบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด

หมวด ๕
กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว

มาตรา ๖๙ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนคุ้มครองธุรกิจนำเที่ยว”มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเงินทดรองจ่ายให้แก่นักท่องเที่ยวซึ่งได้รับความเสียหายจากการที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว หรือตามที่ได้โฆษณาหรือรับรองไว้กับนักท่องเที่ยว หรือตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๗๐ กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สิน ดังต่อไปนี้
(๑) ทุนประเดิมที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดสรรให้จำนวนยี่สิบล้านบาท
(๒) เงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและค่าธรรมเนียมอื่นที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) หลักประกันที่ตกเป็นของกองทุนตามมาตรา ๓๙ วรรคสาม
(๔) เงินที่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวจ่ายชดใช้คืนกองทุนและเงินที่นายทะเบียนหักจากหลักประกันส่งคืนกองทุนตามมาตรา ๔๑ วรรคสาม และเงินเพิ่มตามมาตรา ๓๕ วรรคสองและมาตรา ๔๒ วรรคสอง
(๕) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้
(๖) ดอกผล รายได้ หรือเงินอื่นใดของกองทุน

หน้า ๒๑
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งให้เป็นของสำนักงานเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของกองทุน โดยไม่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดิน
มาตรา ๗๑ การเก็บรักษาและการบริหารเงินและทรัพย์สินของกองทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด
มาตรา ๗๒ ดอกผลอันเกิดจากกองทุนตามมาตรา ๗๐ (๖) คณะกรรมการจะกำหนดให้นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารและการดำเนินการอันเกี่ยวกับกองทุนก็ได้ แต่ต้องไม่เกินกึ่งหนึ่งของดอกผลที่ได้รับในแต่ละปี
มาตรา ๗๓ ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปี ให้สำนักงานจัดทำงบดุล งบการเงินและบัญชีแสดงการใช้จ่ายเงินกองทุนเสนอคณะกรรมการ
งบดุลนั้น สำนักงานต้องจัดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตดำเนินการสอบบัญชีและจัดทำรายงานการสอบบัญชีเสนอคณะกรรมการ

หมวด ๖
การควบคุม

มาตรา ๗๔ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งข้าราชการในสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวคนหนึ่งซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกองเป็นนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กลาง เพื่อทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนในการควบคุมธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ทั่วราชอาณาจักร และมีอำนาจหน้าที่
ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา ๗๕ เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนในพื้นที่ผู้อำนวยการจะแต่งตั้งนายทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาขึ้น เพื่อรับผิดชอบดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเขตจังหวัดหนึ่งหรือหลายจังหวัดเป็นประจำหรือชั่วคราวก็ได้
มาตรา ๗๖ ในการปฏิบัติหน้าที่ ให้นายทะเบียนมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) เข้าไปในสถานที่ทำการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระหว่างเวลาทำการหรือเข้าไปในยานพาหนะที่นักท่องเที่ยวใช้เดินทาง เพื่อตรวจสอบให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้
หน้า ๒๒
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

(๒) สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการที่กำหนดเป็นครั้งคราวหรือประจำ ตามแบบ รายละเอียด และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๓) เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ตัวแทนหรือลูกจ้าง มัคคุเทศก์ หรือผู้นำเที่ยวมาให้ถ้อยคำหรือชี้แจงเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนำเที่ยว หรือการปฏิบัติหน้าที่มัคคุเทศก์หรือผู้นำเที่ยว แล้วแต่กรณี หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเพื่อตรวจสอบอำนาจตาม (๑) และ (๓) นายทะเบียนจะมอบหมายเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติก็ได้การใช้อำนาจของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเกินสมควร
มาตรา ๗๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องบัตรประจำตัวนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๗๘ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๗๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต้องดำเนินการโดยมุ่งที่จะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เกี่ยวข้องและให้เกิดผลในทางส่งเสริมการท่องเที่ยว

หมวด ๗
บทกำหนดโทษ

มาตรา ๘๐ ผู้ใดประกอบธุรกิจนำเที่ยวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว
ตามมาตรา ๑๕ หรือประกอบธุรกิจนำเที่ยวในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืน
มาตรา ๔๕ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๑ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท

หน้า ๒๓
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๘๒ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๔ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๘๓ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๖ หรือมาตรา ๒๗ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงห้าหมื่นบาท
มาตรา ๘๔ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๑ หรือมาตรา ๓๒ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๕ ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๘๖ ผู้ใดทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๔๙หรือทำหน้าที่มัคคุเทศก์ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา ๖๒ วรรคสองต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘๗ มัคคุเทศก์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา ๘๘ มัคคุเทศก์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดหรือไม่ติดบัตรประจำตัวเป็นมัคคุเทศก์ตามมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๘๙ มัคคุเทศก์ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๘ และมาตรา ๖๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๐ ผู้ใดทำหน้าที่เป็นผู้นำเที่ยวโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเที่ยวตามมาตรา ๖๔วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๑ ผู้นำเที่ยวผู้ใดไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดที่ออกตามมาตรา ๖๖ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา ๙๒ ผู้นำเที่ยวผู้ใดฝ่าฝืนคำสั่งของนายทะเบียนซึ่งสั่งห้ามปฏิบัติหน้าที่ผู้นำเที่ยว
ตามมาตรา ๖๗ วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

หน้า ๒๔
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๙๓ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากนายทะเบียนซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา ๗๖ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙๔ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งมีโทษปรับสถานเดียว หรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนไม่ว่าจะมีโทษปรับเป็นจำนวนเท่าใด ให้นายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายมีอำนาจเปรียบเทียบได้ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดเมื่อผู้กระทำความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบแล้ว ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๙๕ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคลกรรมการหรือผู้มีอำนาจจัดการแทนนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นบทเฉพาะกาล
มาตรา ๙๖ ให้คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคณะกรรมการธุรกิจนำ เที่ยวและมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัตินี้ และปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไปจนกว่าจะได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ตามพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องดำเนินการแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๙๗ ให้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๙๘ ในกรณีที่ประเทศไทยมีความตกลงกับรัฐบาลต่างประเทศเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจนำ เที่ยวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รัฐมนตรีจะประกาศยกเว้นคุณสมบัติตามมาตรา ๑๖ (๑) (ข) และมาตรา ๑๗ (๑) (ก) และ (ข) ให้แก่ผู้มีสัญชาติของประเทศนั้นก็ได้

หน้า ๒๕
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๙๙ ให้ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. ๒๕๓๕ ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์นั้นเพื่อประโยชน์ในการต่ออายุใบอนุญาต ให้ถือว่าใบอนุญาตตามวรรคหนึ่งเป็นใบอนุญาต
ที่ออกให้ตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๐๐ บรรดาความเสียหายตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำ เที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่เกิดขึ้นแก่นักท่องเที่ยว มัคคุเทศก์ ผู้ประกอบอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หรือผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้หน่วยงานดังต่อไปนี้เป็นผู้ดำเนินการพิจารณา
เรื่องร้องเรียนต่อไป โดยให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์พ.ศ. ๒๕๓๕ มาใช้บังคับจนกว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จ
(๑) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำหรับเรื่องที่บุคคลตามวรรคหนึ่งได้ร้องเรียนไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
(๒) สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว สำหรับเรื่องที่บุคคลตามวรรคหนึ่งร้องเรียนภายหลังวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
มาตรา ๑๐๑ บรรดาหลักประกันที่ผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยววางไว้กับผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยส่งมอบให้แก่สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อหักไว้เป็นหลักประกันตามจำนวนที่กำหนดในกฎกระทรวงตามมาตรา ๑๘ในกรณีที่เหลือหลักประกันเป็นจำนวนเท่าใดและไม่ปรากฏว่าผู้รับใบอนุญาตดังกล่าว มีกรณีรอการพิจารณาตามมาตรา ๑๐๐ ให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวคืนให้แก่ผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ
นำเที่ยวแต่ละรายพร้อมทั้งดอกผลที่เกิดขึ้นผู้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำ เที่ยวผู้ใดมีกรณีรอการพิจารณาตามมาตรา ๑๐๐ให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวคืนหลักประกันให้เมื่อได้พิจารณาเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้วเสร็จโดยให้คืนหลักประกันพร้อมทั้งดอกผลให้เท่าที่เหลืออยู่ภายหลังจากหักความรับผิดที่เกิดขึ้นแล้ว

หน้า ๒๖
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

มาตรา ๑๐๒ บรรดากฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือระเบียบใดที่ออกตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะได้มีกฎกระทรวง ข้อบังคับ หรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ต้องไม่เกินสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรีอัตราค่าธรรมเนียม
(๑) ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉบับละ ๓,๐๐๐ บาท
(๒) ใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๑,๕๐๐ บาท
(๓) ใบแทนใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท
(๔) ใบแทนใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ฉบับละ ๕๐๐ บาท
(๕) ค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายสองปี ครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท
(๖) การต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ครั้งละ ๑,๕๐๐ บาท

หน้า ๒๗
เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๒๙ ก ราชกิจจานุเบกษา ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการปฏิรูประบบราชการและมีการจัดตั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาขึ้นตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ซึ่งรับผิดชอบภารกิจสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับการท่องเที่ยวและพัฒนามาตรฐานการบริการด้านการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนสนับสนุนการประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ให้มีมาตรฐานสากลโดยมีสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวซึ่งเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้ดำเนินการแทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่ดำเนินการอยู่เดิม ประกอบกับมาตรฐานเกี่ยวกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวและมาตรการในการกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์แห่งธุรกิจนำเที่ยวยังไม่เหมาะสม รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่เอื้อต่อการปฏิบัติในรูปแบบของการบริหารราชการของส่วนราชการ สมควรที่จะต้องปรับปรุงพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ให้เป็นไปตามหลักการดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น