6/30/2552

สตรอเบอรี่

การปลูกสตรอเบอรี่

ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ผลขนาดเล็กให้ผลผลิตในหนึ่งฤดู ผลสุกมีรสเปรี้ยวหวาน กลิ่นหอม สีแดง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Rosaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Fragaria ananassa
เป็นไม้พุ่มที่สูงจากผิวดิน 6-8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8-12 นิ้ว ระบบรากดีมาก แผ่กระจายประมาณ 12 นิ้ว ใบแยกเป็นใบย่อย 3 ใบ มีก้านใบยาว ขอบใบหยัก ลำต้นสั้นและหนา ดอกเป็นกลุ่ม มีกลีบรองดอกสีเขียว 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียกระจายอยู่เหนือฐานรองดอก ผลเจริญเติบจากฐานรองดอก มีผลขนาดเล็ดคล้ายเมล็ดจำนวนมากติดอยู่รอบเรียกว่า “เอคีน (Achene)”

พันธุ์สตรอเบอรี่
การปลูกสตรอเบอรี่ในประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือมีมานานพอสมควร แต่ สตรอเบอรี่ที่ปลูกพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่ำ ผลเล็ก สีซีด และช้ำง่าย
ในปัจจุบันมีพันธุ์ที่เหมาะสมและปลูกได้ผลดี ผลผลิตสูงผลใหญ่ เรียว เนื้อแน่น สีแดงจัด รสชาติดี ใบย่อย ใบกลางเรียวหยักปลายใบใหญ่ ต้นใหญ่ ให้ผลผลิตยาวนาน พันธุ์ดังกล่าวเรียกกันว่าพันธุ์ “ไทโอก้า”

ความต้องการสภาพดินฟ้าอากาศ
ดินที่ปลูกสตรอเบอรี่ควรเป็นดินร่วนปนทราย ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ในระหว่าง 5-7 ซึ่งเป็นดินที่สภาพเป็นกรดเล็กน้อย
สตรอเบอรี่ต้องการช่วงแสงต่ำกว่า 11 ชั่วโมง และอุณหภูมิหนาว-เย็น ในการติดดอกออกผล ถ้าอุณหภูมิยิ่งต่ำยิ่งทำการติดดอกออกผลดีขึ้น

การปลูกเพื่อต้องการผล
ควรปลูกในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม โดยต้นอ่อนหรือไหลที่จะปลูกควรมีแขนไหลที่มีข้อ
ติดด้วยการเตรียมแปลงปลูกทำนองเดียวกับแปลงปลูกผักคือ การปลูกต้องใช้ส่วนโคนของลำต้น

* นักวิชาการเกษตร 4 ฝ่ายสำรวจและวางแผน กองอนุรักษ์ต้นน้ำ
กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
อยู่ในระดับดิน ถ้าปลูกลึกยอดจะเน่า ถ้าตื้นรากจะแห้งทำให้เจริญเติบโตช้า ใช้ส่วนแขนไหลจิ้มลงในดินเพื่อช่วยดูดน้ำในระยะแรกปลูกในขณะที่ไหลกำลังตั้งตัว
ระยะปลูก 25 x 30 ซม. แปลงกว้าง 100 ซม. สูง 20 ซม. ยาวตามที่ต้องการ ทางกว้างประมาณ 40 ซม. ปลูก 3 แถว ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ไหลปลูกประมาณ 10,000-12,000 ต้น
การเตรียมแปลงปลูกอาจเตรียมแปลงปลูกแบบทำนาดำซึ่งสะดวกและประหยัดแรงงานและเวลาในการให้น้ำ โดยให้น้ำแบบท่วมแปลง แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำเพียงพอ

การให้น้ำ
เนื่องจากสตรอเบอรี่เป็นพืชที่ไม่ทนต่อความแห้งแล้งเพราะฉะนั้นต้องระวังการให้น้ำเป็นพิเศษ การขาดแคลนน้ำนาน ๆ มีผลกระทบต่อผลผลิตของสตรอรี่บ่อยครั้งที่กสิกรไม่ให้ความสำคัญในข้อนี้ทำให้ผลผลิตที่ปรากฏภายหลังตกต่ำจนไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต
ก่อนที่จะให้น้ำแก่สตรอเบอรี่จะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าน้ำที่จะให้มีคุณสมบัติเป็นกรดหรือด่างถ้าเป็นด่างไม่ควรใช้เพราะต้นสตรอเบอรี่จะไม่เจริญเติบโตในสภาพที่ดินเป็นด่าง
วิธีการให้น้ำ อาจใช้บัวรด ซึ่งรดทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง ซึ่งวิธีนี้ประหยัดน้ำ แต่สิ้นเปลืองแรงงานจะใช้วิธีนี้เมื่อมีน้ำขังอยู่จำกัดแต่มีแรงงานเหลือเฟือหรือค่าแรงงานต่ำ
หรือจะให้น้ำแบบท่วมโดยปล่อยน้ำเข้าท่วมแปลง โดยให้น้ำเข้าท่วมแปลงจนกระทั่งดินอิ่มตัวด้วยน้ำซึ่งประมาณ 5-10 ซม. แล้วแต่คุณสมบัติของดินและความชื้นอากาศ โดยใช้ระยะเวลา 7-10 วัน จึงทำการปล่อยน้ำ 1 ครั้ง วิธีนี้ประหยัดแรงงาน แต่ใช้ได้เฉพาะพื้นที่มีน้ำเพียงพอ

การให้ปุ๋ย
ในที่นี้จะกล่าวถึงการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลสตรอเบอรี่เท่านั้น ส่วนการให้ปุ๋ยเพื่อผลิตไหลจะกล่าวในหัวข้อต่อไป
ในการให้ปุ๋ยเพื่อต้องการผลนั้น ก่อนปลูกให้ขุดหลุมลึกประมาณ 5-6 นิ้ว แล้วใส่ปุ๋ยคอก 30 กรัม และปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟส 1 ช้อนชารองก้นหลุมก่อนปลูก หลังจากนั้น 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร6-24-24 (ใช้ในกรณีที่ปลูกเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม) หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 (ในกรณีที่ปลูก เดือนกันยายน- ตุลาคม) หรือปุ๋ยสูตร 16-16-16 (ในกรณีที่ปลูกเดือนพฤศจิกายน- มกราคม) โดยใส่ 2 กรัมต่อต้น โดยแบ่งให้ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 7-10 วัน

การใช้วัสดุคลุมดิน
การใช้วัสดุคลุมดินเพื่อ.-
1. ป้องกันการระเหยของน้ำจากพื้นดินเนื่องจากความร้อนจากแสงแดด ในช่วงที่ปลูก สตรอเบอรี่เพื่อต้องการผลจะอยู่ในระหว่างเดือนกันยายน - เมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่มีความร้อนแสงแดดรุนแรง ความชื้นในอากาศต่ำ
2. ป้องกันแร่ธาตุอาหารในดินถูกทำลายเนื่องจากความร้อน
3. ป้องกันผลสตรอเบอรี่ซึ่งจะเสียหายเนื่องจากผลถูกกับพื้นดิน

วัสดุที่ใช้คลุมดินสำหรับสตรอเบอรี่ ได้แก่ฟางข้าว หรือใบตองตึง การคลุมอาจจะคลุมก่อนปลูก หรือหลังปลูก หรือในระยะเริ่มติดดอกทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคงทนของวัสดุ แรงงาน ราคาวัสดุ และการทำลายของแมลงในดิน เช่น ปลวก เป็นต้น

การติดดอกออกผล
เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลง และช่วงแสงสั้นเข้าซึ่งประมาณเดือนพฤศจิกายน สตรอเบอรี่จะเริ่มติดดอกและผลจะสุกหลังจากติดดอก 21-25 วัน ผลสตรอเบอรี่ระยะแรกจะมีสีเขียว และค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม มีรสเปรี้ยวปนหวาน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-3.5 ซม.
ผลจะสุกมากที่สุดเดือนมีนาคม และจะหมดประมาณเดือนเมษายน - พฤษภาคม

การเก็บเกี่ยว
เนื่องจากผลสตรอเบอรี่ช้ำง่าย การเก็บเกี่ยวต้องคำนึงถึงระยะทางในการขนส่งสู่ตลาดถ้าระยะทางไกลต้องเก็บผลสุกหรือเห็นสีแดง 50% ซึ่งจะได้ผลแข็งสะดวกแก่การขนส่ง ถ้าระยะทางใกล้ควรเก็บผลสุกหรือสีแดง 75%
เวลาที่เก็บ ควรเก็บตอนเช้า เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด ซึ่งจะทำให้ผลเน่าเร็วควรเก็บทุก 1-2 วัน

การปฏิบัติหลังจากสตรอเบอรี่ให้ผลแล้ว
เมื่อถึงเดือนเมษายนต้นสตรอเบอรี่เริ่มหยุดให้ผล เนื่องจากอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นช่วงแสงเริ่มยาวขึ้น ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มเจริญเติบโตด้านลำต้น กสิกรในพื้นราบมักจะขุดต้นสตรอเบอรี่ทิ้งด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้.-
1. การดูแลรักษาต้นสตรอเบอรี่ข้ามปี ในสภาพที่อุณหภูมิสูงทำได้ยาก และเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลสูง เนื่องจากต้นสตรอเบอรี่ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่ร้อน และสภาพอากาศที่อุณหภูมิสูงโรคของสตรอเบอรี่ระบาดง่าย
2. เพื่อใช้ประโยชน์ที่ดินหลังจากปลูกสตรอเบอรี่หยุดให้ผล เช่น ปลูกผักหรือพืชไร่ซึ่งได้ผลตอบแทนสูงกว่า
3. การที่ทำลายต้นสตรอเบอรี่ เป็นการทำลายแหล่งเพาะเชื้อโรคของสตรอเบอรี่ได้ผลดี
การเตรียมพื้นที่และเตรียมต้นปลูก
การเตรียมพื้นที่เหมือนกับการปลูก เพื่อต้องการขายผลสำหรับต้นที่ให้ผลหมดแล้วก็จะเป็นต้นที่แตกกอออกมาประมาณ 5-7 ต้น ติดอยู่กับต้นเก่า ควรขุดต้นออกทั้งกอ แล้วใช้มีดหรือกรรไกรแต่งรากและปลิดใบที่แก่ออก (การปลิดออกใช้มือโยกก้านใบขนาดกับพื้นดิน) จากนั้นใช้มีดคมตัดแยกต้นออกแล้วนำไปปลูก ใช้ระยะปลูก ใช้ระยะปลูก 30 x 50 ซม.
การให้ปุ๋ย
เนื่องจากการปลูกเพื่อผลิตไหลเป็นความพยายามเพาะเลี้ยงให้ต้นสตรอเบอรี่เจริญเติบโตทางด้านลำต้น ฉะนั้นจะต้องคำนึงถึงปุ๋ยไนโตรเจนเป็นสำคัญ ที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 (บ่อแก้ว) ทดลองใช้ขี้ค้างคาวรองพื้นหลุมก่อนปลูกและใส่ปุ๋ยคอกระหว่างต้น จากนั้นรดปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟต 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 ปี๊บ รดทุก 7-10 วัน พบว่าสตรอเบอรี่ 1 ต้นจะให้ไหล 50-70 ไหล

โรคสตรอเบอรี่
1. โรคใบจุด (Leaf Spot) เกิดจากเชื้อรา Ramuoaria sp. (Impetfect stage) หรือ Mycosphacrella sp. (Perfect stage) อาการทั่วไปจะเห็น เป็นจุดโปร่งแสงสีน้ำตาล ขอบแผลสีม่วง ถ้ารุนแรงใบจะแห้งและตายในที่สุด โรคนี้พบมากในช่วงฤดูฝน เมื่อพบโรคนี้ควรเด็ดใบทิ้ง โดยใช้มือโยกก้านใบไปมาด้านข้างแล้วดึงออก การทำลายโดยการเผาทิ้ง ถ้ารุนแรงใช้ยาแคบแทน หรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

2. โรค Leaf scorch เกิดจากเชื้อรา Massonia frabvariae อาการในระยะแรกพบจุดสีม่วงหรือสีน้ำตาลแดงบนใบและจุดจะกระจายเป็นแผลมีลักษณะไม่แน่นอน เนื้อเยื่อของใบถูกทำลายไม่แห้งเหมือนโรคอื่น เมื่อแผลกระจายติดกับใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วงในที่สุด การป้องกันรักษาใช้ยาแคบแทนหรือเบนเลท พ่นทุก 7 วัน

3. โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium sp. ซึ่งเข้าทำลายทางรากและแขน (Stolon) ของไหล เชื้อโรคชนิดนี้อาศัยอยู่ในดิน ต้นเหี่ยวใบลู่ลง โรคจะระบาดในขณะที่อากาศอบอ้าว ถ้าอากาศชื้นจะทำให้โรคหยุดระบาด แต่ถ้าเป็นมากต้นจะตาย เพราะระบบรากถูกทำลาย Crown มีวงสีน้ำตาลล้อมรอบ อุดท่อน้ำซึ่งส่งไปเลี้ยงใบและลำต้น การป้องกันรักษาต้องทำลายแหล่งเชื้อโรคในดินสำหรับไหลที่นำมาปลูกควรตัดข้อของแขนใบติดไปด้วย เพราะส่วนที่เป็นข้อสามารถป้องกันการเข้าทำลายของโรคได้ดี
จากการสังเกตที่โครงการหลวงพัฒนาต้นน้ำหน่วยที่ 8 พบโรคสตรอเบอรี่บ้าง แต่โรคไม่ระบาดและไม่ทำให้ต้นสตรอเบอรี่ตาย จึงทำให้ไม่ต้องกังวลต่อการฉีดยาป้องกันโรคสตรอเบอรี่ซึ่งทำเกิดผลต้องค้างของสารเคมีภายหลัง
จากการศึกษาพบว่าโรคของสตรอเบอรี่จะไม่ระบาดในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 20 ซํ. – 25 ซํ.

แมลง
หนอนกัดกินราก เป็นหนอนของด้วงปีกแข็งตัวสีขาวปากกัดสีน้ำตาลอ่อนเจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่ใต้ดิน และในปลายฤดูฝนก็จะเริ่มกัดกินราก ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้เมื่อใบคายน้ำ จึงทำให้ใบเหี่ยว เซลล์คุมรูใบจะสูญเสียความเต่งตึง รูใบจะปิด CO2 ไม้สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบได้อย่างรวดเร็ว เมื่อพบอาการดังกล่าวควรขุดเอาหนอนมาทำลาย หรือก่อนปลูกควรโรยพื้นหลุมด้วยยาประเภทดูดซึม

จากการทดลองตัดไหลนำไปชำที่เรือนเพาะชำ โดยปล่อยให้พื้นดินว่างเปล่า จนกระทั่งสิ้นฤดูฝน หนอนก็จะเริ่มเข้าดักแด้ควรปลูกพืชที่อายุสั้นแซม เช่นพืชผัก ซึ่งกสิกรจะได้รายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย

ลักษณะทั่วไป
สตรอเบอรี่จัดเป็นพืชหลายปี แต่โดยทั่วไปจะปลูกปีเดียวแล้วจะมีการปลูกใหม่ในปีถัดไป ลักษณะการเจริญเติบโตจะแตกกอเป็นพุ่มเตี้ย สูงจากพื้นดิน 6 - 8 นิ้ว ทรงพุ่มกว้าง 8 -12 นิ้ว ระบบรากส่วนใหญ่อยู่ระดับลึกประมาณ 12 นิ้วจากผิวดิน ลำต้นปกติยาว 1 นิ้ว ความยาวของก้านใบขึ้นกับพันธุ์ ขอบใบหยัก ใบส่วนใหญ่ประกอบด้วย 3 ใบย่อย ตาที่โคนของก้านใบจะพัฒนาเป็นตาดอก ลำต้นสาขา ไหล หรือพักตัว โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดอกจะออกเป็นช่อ มีกลีบรองดอกสีเขียว กลีบดอกสีขาวหรือชมพู เกสรตัวผู้สีเหลืองและเกสรตัวเมียเรียงอยู่บนฐานรองดอก ซึ่งฐานรองดอกนี้จะพัฒนาเป็นเนื้อของผล ส่วนเมล็ดอยู่ติดกับผิวนอกของผล ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาว ทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขี้นอยู่กับพันธุ์ ผลจะมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาว เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน กลิ่นหอมน่ารับประทาน

พันธุ์
พันธุ์สตรอเบอรี่ มีความแตกต่างกันมากในการตอบสนองต่ออุณหภูมิ และช่วงแสงของวันในการสร้างตาดอก ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. ประเภทที่ต้องการอุณหภูมิต่ำ ความยาวของวันสั้นกว่า 11 ชั่วโมง (ชั่วโมงกลางวัน) ซึ่งในประเทศไทยปลูกบนที่สูง ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 พัยธุ์พระราชทานเบอร์70 เบอร์35 และเนียวโฮ เป็นต้น เรียกว่า Junebearing cultiver
2. ประเภทที่ต้องการช่วงแสงของวันยาวเกิน 12 ชั่วโมงขึ้นไป ส่วนใหญ่ปลูกนอกฤดู ได้แก่ พันธุ์เจนีวา โอซาค บิวตี้ เรียกว่า Everbearing cultivar
3. ประเภทที่ออกดอกได้ทั้งสภาพวันสั้นและสภาพวันยาว แต่มีปัญหา เรื่องการผลิตไหลได้น้อย ได้แก่ พันธุ์เซลวา ทริบิวเต้ และทริสตาร์ เป็นต้น เรียกว่า Dayneutral cultiver
พันธุ์ที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์พระราชทาน เบอร์ 16, 20, 50, 70 เนียวโฮ แลัเซลวา เป็นต้น ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะที่แตกต่างกัน สำหรับการผลิตเป็นการค้านั้น จะผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ ในลักษณะของผลรับประทานสดและผลผลิตเพื่อส่งโรงงานแปรรูป
พันธุ์เพื่อการบริโภคสด ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 70 เบอร์50 และเบอร์20 เป็นต้น
พันธุ์เพื่อการแปรรูป ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์16 และเซลวา
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ทำได้หลายวิธีโดยขึ้นกับวัตถุประสงค์และลักษณะประจำพันธุ์ ได้แก่
1.การใช้ไหล ขยายต้นไหลจากพันธุ์ที่สามารถให้ไหลได้ดี
2.การแยกต้น แยกต้นจากพันธุ์ที่ออกไหลไม่ดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกพันธุ์ป่า
3.การใช้เมล็ด ใช้ในกรณีที่มีการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่เกิดขึ้น
4.การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นขบวนการผลิตต้นไหลที่ปลอดโรค และสามารถขยายพันธุ์ให้มีปริมาณต้นไหลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
การขยายพันธุ์ที่นิยมปฎิบัติจะใช้ตาที่เจริญเติบโตมาจากต้นแม่ตรง ซอกของก้านใบ ซึ่งเรียกว่า ไหล โดยใช้ไหลจากต้นแม่ที่ปลอด โรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูกเป็นต้นใหม่ ต้นไหลที่จะนำมาปลูกควรมีขนาดพอเหมาะ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป การใช้ต้นไหลที่ผ่านการเกิดตาดอกบนพื้นที่สูงมาแล้ว จะทำให้ผลผลิตเร็วและมีช่วงการเก็บเกี่ยวยาวนานขึ้น
การปลูกและการดูแลรักษา
การปลูกสตรอเบอรี่ มี 2 ช่วงที่สำคัญ คือ การปลูกเพื่อการเก็บเกี่ยวผลผลิต และการปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
การปลูกเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต
ควรปลูกในเดือนกันยายน - กลางเดือนตุลาคม โดยใช้ส่วนที่เรียกว่า ต้นไหลมาปลูก
การเตรียมแปลงปลูก
ในการเตรียมดิน ควรใส่ปูนขาวในอัตรา 60 - 80 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อปรับสภาพดินพร้อมการไถดะ ไถแปร และผึ่งดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกให้ทั่วแปลงในอัตรา 2 - 2.5 ตัน/ไร่ พร้อมการไถพรวน เตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องให้ฐานแปลงกว้าง 75 เซนติเมตร สูงประมาณ 20 - 30 เซนติเมตร และมีสันแปลงเหลือกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลงไว้ประมาณ 30 เซนติเมตร
การกำจัดวัชพืช
การปล่อยให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงสตรอเบอรี่ จะมีผลทำให้ผลผลิตลดลงได้ เนื่องจากวัชพืชเป็นตัวแย่งน้ำแย่งอาหาร ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงที่จะระบาดทำความเสียหายให้แก่สตรอเบอรี่ด้วย เกษตรกรต้องหมั่นกำจัดวัขพืชอย่าสม่ำเสมอ พร้อมทั้วตัดแต่ง ใบและลำต้นแขนงที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง ซึ่งแต่ละกอควรเก็บหน่อไว้ประมาณ 6 - 8 หน่อ และอย่าทิ้งเศษพืชไว้ในแปลงปลูก เพราะจะทำให้เป็นที่สะสมโรค ควรเก็บเศษพืชอัดใส่ถุงปุ๋ยให้แน่นผูกปากถุงทิ้งไว้ เมื่อสลายตัวแล้วจะได้นำไปใช้เป็นปุ๋ยต่อไป
การปลูกเพื่อผลิตต้นไหล
เกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่อาจทำการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เพื่อใช้ปลูกเอง หรือจะใช้ซื้อต้นไหลมาปลูกก็ได้ หากเกษตรกรจะทำการผลิตต้นไหล ไว้ใช้ปลูกเองหรือเพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกรายอื่นมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1.ต้นแม่พันธุ์ ต้นแม่พันธุ์จะต้องมีลักษณะดี คือ มีการสร้างไหลที่แข็งแรงและ ปริมาณมากตรงตามสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ปลอดจากโรค โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส
2.พื้นที่ที่ผลิตต้นไหล พื้นที่ที่เหมาะสมกับการผลิตต้นไหลจะต้องสะอาดปลอดจากเชื้อสาเหตุของโรค โดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแอนแทรดโนส ใกล้แหล่งน้ำ สามารถนำน้ำมาใช้ได้ในช่วงฝนทิ้งช่วง การคมนาคมสะดวก สามารถขนย้ายวัสดุเพาะชำไปยังแปลงแม่พันธุ์ และขนส่งต้นไหลไปยังแหล่งปลูกได้โดยไม่บอบช้ำเสียหาย และที่สำคัญที่สุดก็คือ ความสูงของพื้นที่ จากสาเหตุที่เมื่อช่วงแสงของวัน สั้นลงและอุณหภูมิของอากาศเย็นลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่เปลี่ยนสภาพการเจริญเติบโตทางด้านสร้างไหลต้นไหล เป็นสภาพการเจริญเติบโตทางสร้างตาดอก ซึ่งส่งผลให้ต้นสตรอเบอรี่ที่เจริญเติบโตบนภูเขาสร้างตาดอกได้เร็วกว่าต้นสตรอเบอรี่บนพื้นที่ราบ เป็นผลให้ผลผลิตสตรอเบอรี่ที่เกิดจากต้นสตรอเบอรี่ที่ผลิตบนภูเขาที่มีอากาศ หนาวเย็นออกสู่ตลาดได้เร็วกว่าผลผลิตสตรอเบอรี่พันธุ์เดียวกันที่เกิดจากต้นที่ผลิตจากพื้นที่ราบ ประกอบกับสภาพดินบนที่สูงหรือภูเขามีการระบายน้ำได้ดีกว่าพื้นที่ราบ ปัญหาโรคมีน้อยกว่า ทำให้ต้นไหลแข็งแรงมีคุณภาพดี ด้วยเหตุนี้จึงต้องผลิต ต้นไหลสตรอเบอรี่บนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร มีอากาศหนาวเย็น แล้วขนต้นไหลลงมาปลูกยังพื้นที่ราบ แต่ทั้งนี้ แหล่งผลิตต้นไหลจะต้องไม่เป็นพื้นที่ภายในลุ่มน้ำที่ควรจะต้องสงวนรักษา ไว้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารโดยเฉพาะ
3.แรงงาน เนื่องจากกระบวนการผลิตต้นไหลสตรอเบอรี่เป็นงานที่ต้องใช้แรงงานมาก เริ่มตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูกต้นแม่พันธุ์ การปลูกดูแลรักษาต้นแม่พันธุ์ บรรจุวัสดุเพาะชำลงถุง การรองไหล การตัดไหล และการขนย้ายเพื่อนำไปปลูก ดังนั้น ในการผลิตไหลจึงควรพิจารณาถึง แรงงานที่จะต้องใช้ด้วย
การเตรียมแปลงปลูก
ดังได้กล่าวแล้วว่าความสูงของพื้นที่ที่ใช้ในการผลิตต้นไหลมีผลต่อคุณภาพของต้นไหลที่ผลิตได้ โดยเฉพาะในเรื่องของการให้ผลผลิตเมื่อนำต้นสตรอเบอรี่ไปปลูก ดังนั้น เมื่อเราจำเป็นต้องทำการผลิตต้นไหลบนพื้นที่สูง ความลาดเทของพื้นที่ไม่ควรเกิน 15 % การเตรียมปลงปลูกต้องยกแปลงขวางแนวลาดเท (แบบขั้นบันได) เพื่อขจัดปัญหาการชะล้างและพังทะลายของดิน สำหรับการเตรียมดินก็ปฎิบัติเช่นเดียวกันกับการปลูกเพื่อต้องการผล
โรคสตรอเบอรี่ที่สำคัญ
1.โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหงิก ย่น หรือมีอาการใบด่าง ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น ต้นเตี้ย แคระแกรน ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่นขนาดใบเล็กกว่าปกติ ต้นพืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดลง พบว่าแมลงพวกปากดูด ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือนฝอยบางชนิดเป็นพาหะของโรค โรคนี้เมื่อเกิดแล้วไม่สามารถรักษาให้หายได้ นอกจากการป้องกันโดยคัดเลือกกล้าที่ไม่เป็นโรค ซึ่งเกิดจากต้น แม่พันธุ์ที่ได้จากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูก ทำการอบดินเพื่อทำลายไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะของโรคไวรัส กำจัดแมลงพวกเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เมื่อพบว่ามีต้นที่แสดงอาการผิด ปกติดังกล่าวให้ขุดออกไปเผาทำลายทันที และการบำรุงพืชให้แข็งแรงอยู่เสมอจะช่วยต้านทานเชื้อโรคได้
การป้องกันกำจัดแมลงพาหะของเชื้อไวรัส
ใช้สารสกัดสะเดา ฉีดพ่นเพื่อขับไล่และยับยั้งการกินอาหาร การเจริญเติบโตของแมลง ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ
ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง วิธีการนี้สามารถดักจับตัวเต็มวัยของแมลงศัตรูพืช เช่น เพลี้ยไฟ ผีเสื้อต่างๆที่เป็นตัวแก่ของศัตรูพืช ทำให้ลดปริมาณศัตรูพืชลงได้
สูตรผสมของกาวเหนียว
1. น้ำมันละหุ่ง 150 ซีซี.
2. ยางสน 100 กรัม
3. ขี้ผึ้งคาร์นาว่า 10 - 12 กรัม
วิธีทำ นำน้ำมันละหุ่งมาใส่ภาชนะตั้งไฟให้ร้อน มีไอขึ้นที่ผิวหน้า แล้วจึงทยอยใส่ผงยางสนและขี้ผึ่งคาร์นาว่าลงไป ใช้ไม้พายคนให้เข้ากันจนละลายหมด ใช้เวลาประมาณ 5 นาที อย่าใช้ไฟแรงนักเพราะจะทำให้ยางสนไหม้ หลังจากนั้นยกภาขนะลงวางในถังหรือกาละมังที่ใส่น้ำแข็งทุบเป็นก้อนเล็กๆ เพื่อให้ได้รับความเย็นอย่างรวดเร็ว จากนั้นบรรจุใส่ภาขนะปิดฝาให้แน่นเก็บไว้ใช้งาน
วิธีใช้ ใช้ภาชนะที่ใช้แล้ว เช่น กระป๋องน้ำมันเครื่องหรือแผ่นพลาสติกสีเหลือง (สีเหลืองจะช่วยดึงดูดแมลงตัวเต็มวัยให้บินเข้ามาติดกับดักและตาย) หุ้มด้วยพลาสติกใส เพื่อสะดวกในการเปลี่ยนกาวเมื่อกาวแห้งหรือปริมาณของแมลงหนาแน่น ทากาวเหนียวด้วยแปรงทาสีให้รอบ แล้วใช้แผ่นเหล็กหนาครึ่งหุนขนาด 1*3 นิ้ว ปาดกาวให้กาวติดบางที่สุด ไม่ให้ไหลเยิ้มเพื่อเป็นการประหยัดกาวที่ใช้
กาววางกับดักกาวเหนียวสีเหลือง ควรวางให้อยู่ระดับสูงเหนือยอดต้นสตรอเบอรี่ประมาณ 1 ฟุต ในฤดูหนาวซึ่งมีการระบาดของแมลงน้อย อาจวางกับดัก 15 - 20 กับดัก/ไร่ แต่ในฤดูร้อนและฤดูฝน ซึ่งจะมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชควรวางกับดัก 60 -80 กับดัก/ไร่
2. โรคแอนแทรคโนส (โรคกอเน่า) เกิดจากเชื้อราคอลเล็คโตตริคัม จะแสดงอาการเริ่มจากแผลเล็กๆสีม่วงแดงบนไหล แล้วลุกลามไปตลอดความยาวของสายไหล แผลที่ขยายยาวมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล รอบนอกของแผลเป็นสีเหลืองอมชมพูซีด แผลที่แห้งเป็นสีน้ำตาลทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล ต้นไหลอาจจะยังไม่ตาย แต่เมื่อย้ายต้นไหลที่มีการติดเชื้อลงมาปลูกบริเวณพื้นราบ หากสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเขื้อ(อากาศร้อนชื้น) สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉาและต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว พบว่าเนื้อเยื่อส่วนกอด้านในมีลักษณะเน่าแห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตายในที่สุด โรคนี้สามารถเกิดที่ผลสตรอเบอรี่ได้ด้วย พบอาการเป็นแผลลักษณะวงรี สีน้ำตาลเข้ม แผลบุ๋มลึกลงไปในผิวผล เมื่ออากาศชื้นสามารถมองเห็นหยดสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์ขยายพันธุ์ของเชื่อราอยู่ในบริเวณแผล
การป้องกันกำจัด ในฤดูกาลผลิตผลสตรอเบอรี่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนเมษายน ควรวางแผนจัดการในการผลิตต้นไหลให้ปราศจากเชื้อโรค ทั้งที่เป็นอาการแบบต่างๆของโรคแอนแทรคโนสที่ปรากฎให้เห็น ได้แก่ อาการโรคใบจุดดำ ขอบใบไหม้ แผลบนก้านใบ และแผลบนสายไหลตลอดจนต้นไหลที่มีการติดเชื้อแบบแฝง โดยที่ต้นไหลยังแสดงอาการปกติ แต่จะตายเมื่อมี การย้ายลงมาปลูกบริเวณพื้นที่ราบ ในสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญของเชื้อ
นอกจากนี้ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป ในช่วงที่ต้นสตรอเบอรี่กำลังตั้งตัว และควรพ่นสารป้องกันกำจัด เชื้อราคอลเล็คโตรตริคัมเป็นระยะๆจนสภาพอากาศหนาวเย็นลง ซึ่งเป็นสภาพที่ไม่เหมาะสมต่อการเกิดเชื้อ
3.โรคใบจุด เกิดจากเชื้อรารามูลาเรีย โรคนี้จะปรากฎกับต้นแม่และต้นกล้า พบอาการระบาดรุนแรงในแปลงที่ปลูกกันมานาน การควบคุมโรคไม่ดีพอ แปลงที่มีวัชพืชมาก อาการเริ่มแรกจะเห็นแผลขนาดเล็กสีม่วงแก่บนใบ ต่อมาแผลขยายขนาด รอบแผลสีม่วงแดง กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงขาวหรือเทา แผลค่อนข้างกลมคล้ายตานก สีอาจเปลี่ยนไปบ้าง แล้วแต่ความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของพืช อาการอาจปรากฎบนก้านใบ หรือบางครั้งพบอาการที่ผลด้วย
การป้องกันกำจัด ถ้าพบอาการของโรคที่ใบให้เด็ดใบที่เป็นโรคออกแล้วนำไปเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้บริเวณแปลงปลูกเพราะจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของโรคต่อไป บำรุงพืชให้แข็งแรงในระยะปลูกเพื่อผลิตไหล อย่าปล่อยให้วัชพืชขึ้นรก เพราะวัชพืชเป็นแหล่งอาศัยของโรค ควรดูแลความสะอาดของแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน
4. โรคเหี่ยว เป็นผลมาจากอาการรากเน่าโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า จะพบการตายของราก โดยเริ่มจากปลายรากแล้วลุกลามต่อ ไปรากแขนงจะเน่าบริเวณท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีแดง อาการเน่าสามารถลามขึ้นไปจนถึงโคนต้น ถ้าหากอาการ ไม่รุนแรงพืชจะแสดงอาการเพียงแคระแกรน แต่ถ้าอาการรุนแรงจะเหี่ยวทั้งต้น ใบเป็นสีเหลืองจนถึง สีแดง และทำให้พืชตายได้ภายใน 2 - 3วัน เมื่อถอนต้นดูพบว่าก้านใบจะหลุดออกจากกอได้ง่าย ท่อลำเลียงภายในรากถูกทำลายจนเน่าทั้งหมด

การป้องกันกำจัด การควบคุมโรคที่เกิดกับราก
ควรปฎิบัติดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการปลูกสตรอเบอรี่ซ้ำในที่ที่มีโรคระบาดติดต่อกันหลายปี ควรปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยตัดวงจรของโรค และสร้างความสมดุลย์แก่ธาตุอาหารในดิน
2.ในการเตรียมดิน ควรไถดินผึ่งทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ก่อนเตรียมแปลงปลูก ดินต้องโปร่ง มีการระบายน้ำดี มีการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น โดยใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก
3.เมื่อเริ่มพบอาการของโรครากเน่าเกิดขึ้น ให้ขุดต้นนั้นเผาทำลาย อย่าทิ้งไว้ในบริเวณแหล่งปลูก แล้วใช้สารเคมีฉีดพ่นหรือราดลงดินบริเวณหลุมที่ขุดออกและต้นที่อยู่ใกล้เคียง อนึ่ง การใช้สารเคมีฆ่าเชื้อในดินจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ จุลินทรีย์อื่นๆที่มีประโยชน์ที่อาศัยในดินอาจถูกทำลายไปด้วย จึงแนะนำให้ใช้เฉพาะจุดที่โรคระบาดเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
4.การใช้เชื้อจุลินทรีย์ต่อต้านเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค เช่น เชื้อราไทรโคเดอร์มาเป็นเชื้อราปฎิปักษ์ที่สามารถควบคุมเชื้อรา ไฟทอปทอร่าที่ทำให้เกิดโรคเน่าโคนเน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดนนำเชื้อราไทรโคเดอร์มาที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างผสมกับรำ และปุ๋ยหมักตามอัตราส่วนที่กำหนด มาคลุกกับดินในสภาวะชุ่มชี้นราว 1 - 2 สัปดาห์ก่อนปลูก
ข้อควรระวังในการใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มา
1.ไม่ใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชในบริเวณที่ดินแฉะ
2.ไม่ควรใช้สารกำจัดวัชพืชในแปลงที่มีการใช้เชื้อราไทรโคเดอร์มา
การใช้สารเคมีควบคุมโรคสตรอเบอรี่
สารฆ่าเชื้อราส่วนใหญ่ไม่มีอันตรายหรือมีน้อยมากต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แต่บางชนิดอาจมีอาการระคายเคืองต่อผิวหนัง (ผู้ฉีดพ่นสารเคมี) และบางชนิดอาจมีผลต่อการเกิดเซลมะเร็ง (ผู้บริโภค) ซึ่งยังไม่เป็นที่ทราบกันแต่ชัด ดังนั้น การใช้สารเคมีจึงต้องทำด้วยความระมัดระวังในช่วงใกล้เก็บเกี่ยว โดยเลือกชนิดที่ไม่ปรากฎคราบของสารบนผล และดูค่าความปลอดภัยจาก LD50 (คือ ค่าของระดับความเป็นพิษที่หนูตาย 50 เปอร์เซนต์ (มก./กก.ของน้ำหนักตัว) สารที่มีค่าLD50 ต่ำจะเป็นสารที่มีพิษร้ายแรงกว่าสารที่มีค่า LD50 สูง) ในการฉีดพ่นทุกครั้ง ดังนี้

หมายเหตุ การใช้สารเคมีให้ได้ผลดี นอกจากจะเลือกชนิดของสารให้ถูกต้องกับโรคแล้ว ควรผสมสารให้ถูกต้องตามฉลากระบุ คนให้กับน้ำ ใช้สารจับใบที่มีประสิทธิภาพสูงผสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าฝน การใช้สารเคมี 2 ชนิดที่แตกต่างกันฉีดพ่นสลับกัน จะช่วยลดการดื้อยาของเชื้อโรคได้
ศัตรูสตรอเบอรี่ที่สำคัญ
1. ไรสองจุด เป็นศัตรูที่สำคัญของการผลิตผลสตรอเบอรี่ ไรจะดูดน้ำเลี้ยงจากใบสตรอเบอรี่โดยเฉพาะบริเวณใต้ใบ ทำให้ผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายมีลักษณะกร้าน ใต้ใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ผิวใบด้านบนจะเห็นเป็นจุดด่างขาวเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อการทำลายรุนแรงขึ้น จุดด่างขาวเล็กๆเหล่านี้จะค่อยๆแผ่ขยายติดต่อกันไปเป็นบริเวณกว้าง จนทำให้ทั่วทั้งใบมีลักษณะเหลืองซีด ใบร่วง เป็นผลทำให้สตรอเบอรี่ชงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน ให้ผลผลิตน้อยลง พบระบาดมากในสภาพอากาศแห้งความชื้นต่ำ
ความสูญเสียระดับเเศรษฐกิจเนื่องจากการทำลายของไรสองจุดบนใบสตรอเบอรี่ในหน้าหนาว คือ 20 -25 ตัว/ใบ แต่ในหน้าร้อนจะอยู่ที่ 50 ตัว/ใบ การป้องกันให้ใช้สารฆ่า"รโปรปาไจท์ ฉีดพ่นในช่วงที่ไม่มีแสงแดดจัด และควรสลับชนิดของสารฆ่าไรเพื่อป้องกันการดื้อยา ไม่ควรใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบครอบจักรวาล ให้เลือกใช้สารที่จำเพาะเจาะจงและเป็นสารที่มีพิษย้อยต่อตัวห้ำตัวเบียน ศัตรูธรรมชาติที่สำคัญของไรสองจุด ที่พบในแปลงสตรอเบอรี่ ได้แก่ ไรตัวห้ำ ซึ่งมีรายงานค้นพบว่ามีประสิทธิภาพสามารถควบคุมไรสองจุดได้ดี นอกจากนั้น การให้น้ำแบบใช้สปริงเกอร์จะช่วยลดประชากรไรได้ เพราะจะเป็นการชะล้างไรให้หลุดจากใบพืช ชะล้างฝุ่นละอองที่ไรชอบหลบอาศัยอยู่ และเป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้ชุ่มชื้น เหมาะกับการอยู่อาศัยของศัตรูธรรมชาติของไร หมั่นทำความสะอาดแปลง ไม่ให้มีวัชพืชขึ้นในแปลงปลูก และไม่ควรปลูกพืชผักโดยเฉพาะ เช่น กระเทียม ขึ้นฉ่าย แซมในแถวปลูกสตรอเบอรี่ เพราะเป็นการเพิ่มพืชอาศัยให้ไรสองจุด
2. หนอนด้วงขาว เป็นหนอนของด้วงปีกแข็ง ตัวสีขาว ปากมีลักษณะปากกัด สีน้ำตาลอ่อน เจริญเติบโตจากไข่ที่อยู่ใต้ดิน จะเริ่มกัดกินรากสตรอเบอรี่ในช่วงปลายฤดูฝน ทำให้รากไม่สามารถดูดน้ำได้ เมื่อใบคายน้ำจึงทำให้ใบเหี่ยว รูใบปิด ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่สามารถฟุ้งกระจายเข้าสู่ใบ การสังเคราะห์แสงจะลดลง ทำให้ต้นสตรอเบอรี่อ่อนแอ ชงักการเจริญเติบโต เมื่อพบอาการดังกล่าวให้ขุดหาหนอนแล้วทำลาย ในการเตรียมแปลงให้ย่อยดินให้ละเอียด โดยเฉพาะพื้นที่เปิดใหม่ใกล้ป่าหรือใกล้กองปุ๋ยหมัก ใช้สารเคมีประเภทคลอร์ไพริฟอสราดบริเวณที่พบ สารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีกำจัดแมลงประเภทสัมผัสและกินตาย มีพิษตกค้าง 20 - 25 วันในดิน
3. เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูด จะดูดน้ำเลี้ยงของใบ ก้านใบ ด้านท้ายลำตัวเพลี้ยอ่อนมีท่อยื่นออกมา 2 ท่อ ใช้ปล่อยสารน้ำหวานเป็นอาหารของเชื้อรา ทำให้พืชสกปรกเกิดราดำ พืชสังเคราะแสงได้ลดลง ทำให้ชงักการเจริญเติบโต ใบหงิกย่น เพลี้ยอ่อนจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มตามส่วนยอดช่อดอกและขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
นอกจากศัตรูดังกล่าวแล้ว บางพื้นที่ยังพบว่าทากและหนูเป็นศัตรูสำคัญที่เข้าทำลายผลสตรอเบอรี่ได้
การติดดอกออกผล และการเก็บเกี่ยว
ต้นสตรอเบอรี่จะเริ่มแทงช่อดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงและช่วงแสงของวันสั้นเข้า คือ ประมาณหนึ่งเดือนหลังจากปลูก เมื่อดอกบานมรการผสมเกสรแล้วประมาณหนึ่งเดือน ผลจะเริ่มทยอยแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้ โดยผลสุกมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคมและจะวายประมาณปลายเดือนเมษายน
การเก็บผลผลิตควรเก็บช่วงที่มีอากาศเย็น คือ ตอนเช้ามืดในสภาพอากาศแห้ง เมื่อเก็บแล้วไม่ควรให้ผลถูกแสงแดด เนื่องจากผลสตรอเบอรี่มีอัตราการหายใจสูง เมื่อถูกแสงแดดจะทำให้ผลเน่าเร็ว ในต้นหนึ่งๆจะมีผลสุกแตกต่างกัน ควรเลือกเก็บผลที่มีความแก่ตามที่กำหนดไว้เท่านั้น เก็บทุก 1 - 2 วัน โดยใช้ส่วนเล็บหัวแม่มือและนิ้วชี้เด็ดออกจากขั้ว หรือใช้กรรไกรชนิดที่ตัดขั้วผลและหนีบส่วนขั้วผลได้ด้วย ทำให้ผลสามารถติดมากับกรรไกรได้ นับว่าเป็นวิธีที่ทำให้ผลและต้นสตรอเบอรี่ไม่ชอกช้ำ ภาชนะที่ใช้บรรจุสตรอเบอรี่ขณะเก็บผลในแปลง ควรใช้ภาชนะทรงตื้นมีขนาดที่พอเหมาะ สามารถคัดเลือกคุณภาพของผลได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนภาชนะ เพื่อให้มีการจับต้องผลให้น้อยครั้งที่สุด และไม่ควรบรรจุผลสตรอเบอรี่มากเกินไป เพราะจะเกิดการกดทับทำให้ผลช้ำได้ ถึงแม้ว่าสตรอเบอรี่จะเป็นผลไม้ชนิดบ่มไม่สุก แต่สตรอเบอรี่สามารถมีสีแดงเพิ่มขึ้นได้หลังจากเก็บเกี่ยว ดังนั้นสตรอเบอรี่ที่เก็บเกี่ยวในขณะที่ผลยังไม่แดงทั้งผลจึงสามารถแดงพอดีเมื่อถึงตลาดปลายทาง การเก็บเกี่ยวผลสตรอเบอร่ที่มีผิวสีแดง 100 เปอร์เซนต์ จะทำให้การเกิดช้ำและมีเชื้อราเข้าทำลายระหว่างการขนส่งได้ง่าย การเก็บเกี่ยวผลิตเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงความต้องการของตลาด ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของตลาดว่าจะเป็นตลาดเพื่อโรงงานแปรรูปหรือ

สตรอเบอรี่ จัดเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการปลูกกระจายกันมากที่สุดในโลก สามารถพบได้แทบทุกประเทศตั้งแต่ แถบขั้วโลกลงมาถึงพื้นที่ในเขตร้อน ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งสภาพภูมิอากาศและชนิดดินที่ใช้ปลูก บางพันธุ์จะพบว่าสามารถปลูก ในทางเหนือของโลก เช่น รัฐ Alaska ได้ดีเท่ากับปลูกในทางใต้ลงมาเช่นแถบ Equator
สตรอเบอรี่ เป็นผลไม้ที่มีรสชาติอร่อยและเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปมาหลายร้อยปีมาแล้ว ในช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้พบว่าผลผลิต ที่ใช้สำหรับบริโภคเป็นผลสด และใช้ในเชิงอุตสาหกรรมแปรรูปได้เพิ่มปริมาณมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เป็นสาเหตุมาจากการผสมพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตยาวนานขึ้น การนำระบบปลูกแบบดูแลอย่างใกล้ชิดมาใช้ ตลอดจนการเลือกพื้นที่ปลูก ที่มีความเหมาะสมมากกว่าแต่ก่อน ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการทดลองวิจัยที่จะหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะทำให้การปลูก สตรอเบอรี่นั้นง่ายขึ้น โดยเน้นการให้ผลผลิตสูงและสามารถทำรายได้ตอบแทนเป็นที่พอใจแก่เกษตรกรผู้ปลูก
ในประเทศไทยแม้ว่าจะมีพื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือ เช่น บางอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย และในพื้นที่ บางจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดเลยและจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น แต่ยังมีแนวโน้มที่สามารถปลูกได้ผลพอสมควร ในพื้นที่สูงของภาคกลาง เช่น แถบบนภูเขาของจังหวัดกาญจนบุรี เนื่องมาจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ขณะนี้ สตรอเบอรี่จึงถูกพิจารณาจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ ซึ่งสามารถช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกนับเป็นพันครอบครัว ให้ดีขึ้นทั้งพื้นที่ราบและบนที่สูง นอกจากนี้ยังพบว่ามีศักยภาพสูงมาก สำหรับการผลิตสตรอเบอรี่เพื่อจุดประสงค์ในการขยายช่วงของ การเก็บเกี่ยวหรือผลิตให้ผลออกนอกฤดูกาลบนพื้นที่สูงของประเทศไทยซึ่งมีสภาพอากาศหนาวเย็นพอเหมาะตลอดทั้งปีและมีอนาคต สำหรับการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสามารถผลิตได้ในช่วงดังกล่าวอีกด้วย
พันธุ์
ตั้งแต่ พ.ศ. 2512 จนถึง พ.ศ. 2541 ได้มีการนำสตรอเบอรี่พันธุ์ต่าง ๆ จากต่างประเทศเข้ามาทดลองปลูกมากมาย จากปี พ.ศ. 2515 ปรากฎว่าพันธุ์ Cambridge Favorite, Tioga และ Sequoia (โดยรู้จักกันในนามพันธุ์พระราชทานเบอร์ 13, 16 และ 20 ตามลำดับ) ได้ถูกพิจารณาว่าสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ ต่อมาพบว่า พันธุ์ Tioga สามารถปรับตัวได้ดีทั้งพื้นที่ปลูกบนภูเขาสูงระดับ 1,200 เมตรและพื้นที่ราบของทั้งสองจังหวัด เกษตรกรขณะนั้นเกือบ ทั้งหมดใช้พันธุ์นี้ปลูกเป็นการค้ากันทั่วไปโดยไม่มีพันธุ์อื่นมาแทนที่ พ.ศ. 2528 ได้มีการนำพันธุ์ Akio Pajaro และ Douglas จากอเมริกาทดลองปลูกในสถานีโครงการหลวงที่ดอยอินทนนท์ แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ต่อมาอีกหนึ่งปีได้มีการนำพันธุ์ Nyoho Toyonoka และ Aiberry จากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาทดลองปลูก ผลปรากฎว่าสองพันธุ์แรกสามารถปรับตัวได้ดีบนพื้นที่สูง หลังจากนั้น มาเริ่มมีผู้นำพันธุ์อื่น ๆ เข้ามาปลูกทดสอบมากมาย จนกระทั่งมีการตั้งพันธุ์ Toyonoka เป็นพันธุ์พระราชทาน 70 (ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ 70 พรรษา) และพันธุ์ B5 เป็นพันธุ์พระราชทาน 50 ปี (ปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นปีฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี) ปัจจุบันพันธุ์สตรอเบอรี่ที่นับว่าปลูกเป็นการค้าส่วนใหญ่ของประเทศได้แก่ พันธุ์พระราชทาน 16, 20, 50 และ 70 นอกจากนี้ยังมีพันธุ์ Nyoho, Dover และ Selva บ้าง ในบางพื้นที่
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 จนถึงขณะนี้ทางศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตที่สูง และสถานีวิจัยดอยปุยของสำนักงานโครงการ จัดตั้งสถาบันค้นคว้าและพัฒนาระบบเกษตรในเขตวิกฤต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ก็กำลังดำเนินการวิจัยศึกษาหาข้อมูลของ สตรอเบอรี่เพิ่มเติมมาโดยตลอด รวมทั้งเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลแบบสมัยใหม่เหมือนในต่างประเทศที่ผลิตเป็นอุตสาหกรรม การค้า โดยจะนำผลงานที่ได้เหล่านี้ทำการส่งเสริมเผยแพร่หรือจัดฝึกอบรมให้เกษตรกรผู้ปลูกในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป
พื้นที่การผลิต
พื้นที่การปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทยได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา เนื่องมาจากการขยายตัวของตลาด ทั้งภายในและภายนอกประเทศโดยเฉพาะในด้านการนำมาแปรรูปพื้นที่การผลิตส่วนใหญ่จะอยู่ในท้องที่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย เพราะมีอากาศเย็นที่สตรอเบอรี่สามารถให้ผลผลิตได้ในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมรวมพื้นที่การผลิตทั้งประเทศประมาณ 2,600-3,000 ไร่ต่อปี
1. เชียงใหม่ สามารถแบ่งพื้นที่ปลูกออกมาตามอำเภอต่าง ๆ ได้ดังนี้คือ ฝาง แม่ริม สะเมิง จอมทอง (บนดอยอินทนนท์) และพื้นที่รอบ ๆ ตัวเมือง ผลผลิตส่วนใหญ่ของพื้นที่ปลูกในอำเภอแม่ริม ดอยอินทนนท์และพื้นที่รอบ ๆ เมืองเชียงใหม่จะทำการจำหน่าย เป็นผลรับประทานสดแก่นักท่องเที่ยว และขนส่งเข้าตลาดที่กรุงเทพมหานครเป็นหลัก ส่วนผลผลิตที่อำเภอสะเมิงและฝางจะส่งจำหน่าย ให้แก่โรงงานใกล้เคียงเพื่อทำการแปรรูป ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2539-41 พื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ในอำเภอสะเมิงมีประมาณ 2,000-2,500 ไร่ ในขณะที่อำเภอฝางมีประมาณ 200 ไร่
2. เชียงราย พื้นที่หลักในการผลิตสตรอเบอรี่อยู่ที่อำเภอแม่สาย และอาจมีกระจายบ้างอยู่ทั่วไป ๆ บริเวณใกล้เคียง ผลผลิต ส่วนใหญ่ประมาณ 60% จะส่งเข้ากรุงเทพมหานครเพื่อจำหน่ายเป็นผลรับประทานสด นอกนั้นจะทำการส่งเข้าโรงงานเพื่อแปรรูป ประมาณ 20% และเกษตรกรจะจำหน่ายเองให้กับนักท่องเที่ยวอีก 20% เนื่องจากมีโรคระบาดและต้นตายมากหลังปลูกจึงทำให้ พื้นที่ปลูกในปี พ.ศ. 2535 ประมาณ 800 ไร่ ลดลงเหลือ 350 ไร่ ใน พ.ศ. 2537 และ 250 ไร่ใน พ.ศ. 2540 นอกจากนี้เกษตรกร บางรายได้ขายที่ดินหรือเปลี่ยนไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น จึงทำให้พื้นที่ปลูกลดลงด้วย ปัจจุบันเกษตรกรในอำเภอแม่สายสามารถผลิต สตรอเบอรี่ได้เพียง 60% ของความต้องการของตลาดเท่านั้น
3. สตรอเบอรี่ยังถูกปลุกกันโดยทั่วไปบนที่สูงในหลายจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ทางตะวันตก เช่น เทือกเขาในอำเภอทองผาภูมิและอำเภอสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ซึ่งคาดว่าอาจจะเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญต่อไปในอนาคตสำหรับการปลูกสตรอเบอรี่ของประเทศไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น